คณะรัฐมนตรีพิจารณาการให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน (ASEAN GSP)ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียน ครั้งที่ 1/2544 เมื่อวันที่3 กันยายน 2544 แล้วมีมติเห็นชอบในหลักเกณฑ์และรายการสินค้าที่จะให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่ ลาว พม่าและเวียดนาม ในโอกาสแรก เพื่อให้กระทรวงการคลังแจ้งต่อที่ประชุมคณะมนตรีเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA Council)ครั้งที่ 15 ซึ่งประชุมในวันที่ 14 กันยายน 2544 ณ ประเทศเวียดนาม ต่อไป ดังนี้
1. เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ASEAN GSP ดังนี้
1.1 รายการสินค้า ให้สิทธิพิเศษในลักษณะทวิภาคี โดยมีบัญชีรายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษแยกสำหรับแต่ละประเทศ
1.2 อัตราอากร
1) รายการที่อยู่ในบัญชีลดภาษี (IL) ของประเทศ CLMV (รายการเหล่านี้ ประเทศ CLMV จะได้รับ CEPT rates อยู่แล้ว) ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 0
2) รายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) และบัญชีสินค้าสงวนชั่วคราว (TEL) ของประเทศ CLMV ซึ่งยังไม่มีสิทธิได้รับ CEPT rates ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 5 หรืออัตรา MFN แล้วแต่อัตราใดจะต่ำกว่า
1.3 ระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2552 โดยให้ครั้งละ 1 ปี (ให้ระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เช่น ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545) จนถึงวันที่ประเทศ CLMV จะลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ทั้งนี้ ระยะเวลาที่แต่ละประเทศจะได้รับ GSP จะแตกต่างกันตามกำหนดการลดภาษีของแต่ละประเทศ กล่าวคือ เวียดนาม : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ลาวและพม่า : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และกัมพูชา : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
1.4 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)
1) สำหรับสินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) กล่าวคือเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมดโดยไม่มีการนำเข้า หรือเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยสินค้าเกษตรให้ความหมายถึง สินค้าในพิกัดตอนที่ 01 - 24 และรวมถึงสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันในองค์การการค้าโลกในตอนพิกัดอื่น ๆ เช่น ฝ้ายในตอนที่ 52 ไหมในตอนที่ 50 เป็นต้น
2) สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country)หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ ประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งกำเนิดสินค้าด้วย
1.5 การยกเลิก ASEAN GSP ประเทศไทยคงสิทธิที่จะยกเลิก ASEAN GSP ดังนี้
1) หากมูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
2) หากมีผู้ผลิตภายในประเทศร้องเรียนต่อกระทรวงการคลังว่า การนำเข้าสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ โดยผู้ร้องเรียนจะต้องแสดงข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตนด้วย เช่นการลดลงของส่วนแบ่งตลาด ราคาขายของผู้ผลิตลดลง และสินค้าคงเหลือมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
1.6 การทบทวน ให้มีการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนทุกปี
1.7 สนับสนุนอาฟต้า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกนำรายการสินค้ามาลดภาษีในกรอบอาฟต้าเร็วขึ้น จึงพิจารณาให้ ASEAN GSP เฉพาะรายการที่ประเทศ CLMV มีแผนการลดภาษีเท่านั้น ดังนั้น รายการที่อยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษี (GEL) ของประเทศ CLMV จะไม่ได้รับ ASEAN GSP และรายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL)ของไทยซึ่งยังไม่ได้นำมาลดภาษีจะไม่ให้ ASEAN GSP
2. เห็นชอบรายการสินค้าที่ให้ ASEAN GSP แก่ ลาว พม่า และเวียดนาม สรุปได้ดังนี้
2.1 ลาว จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 66 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 24รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 11 รายการ
2.2 พม่า จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 80 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 30รายการ เช่น ปู กกและอ้อ ก๊าซธรรมชาติ ฝ้าย บล็อคปูพื้น และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 19 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 3 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 8 รายการ
2.3 เวียดนาม จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 65 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP19 รายการ เช่น อบเชย แอนทราไซต์ โพลิโครม สายอากาศ เครื่องแต่งกายทำจากหนัง อุปกรณ์ตรวจสอบความดัน และเศษเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น โดยมีอัตราการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 12 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 1 รายการ ลดเหลือร้อยละ 3 จำนวน 2 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 4 รายการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการจาก "ASEAN GSP" เป็น "ASEAN Integration System of Preferences หรือ AISP"
ทั้งนี้ เนื่องจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้มีการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน โดยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งภูมิภาค ซึ่งมาตรการหนึ่งคือ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences-GSP) จากประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่3 - 4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และขอให้ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนแจ้งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้แก่ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศพิจารณา
ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนได้ส่งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN GSP) จากไทยแล้ว 3 ประเทศ ได้แก่ ลาว จำนวน 66 รายการ พม่า จำนวน 42 รายการ (ปรับตามประเภทพิกัด 9 หลักได้ 80 รายการ) และเวียดนาม จำนวน 65 รายการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
1. เห็นชอบการกำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาให้ ASEAN GSP ดังนี้
1.1 รายการสินค้า ให้สิทธิพิเศษในลักษณะทวิภาคี โดยมีบัญชีรายการสินค้าที่จะให้สิทธิพิเศษแยกสำหรับแต่ละประเทศ
1.2 อัตราอากร
1) รายการที่อยู่ในบัญชีลดภาษี (IL) ของประเทศ CLMV (รายการเหล่านี้ ประเทศ CLMV จะได้รับ CEPT rates อยู่แล้ว) ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 0
2) รายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL) และบัญชีสินค้าสงวนชั่วคราว (TEL) ของประเทศ CLMV ซึ่งยังไม่มีสิทธิได้รับ CEPT rates ให้กำหนดอัตรา ASEAN GSP เป็นร้อยละ 5 หรืออัตรา MFN แล้วแต่อัตราใดจะต่ำกว่า
1.3 ระยะเวลา 8 ปี ตั้งแต่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2552 โดยให้ครั้งละ 1 ปี (ให้ระบุไว้ในประกาศกระทรวงการคลัง เช่น ให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2545 ถึง 31 ธันวาคม 2545) จนถึงวันที่ประเทศ CLMV จะลดภาษีสินค้าใน IL ลงเหลือร้อยละ 0 - 5 ทั้งนี้ ระยะเวลาที่แต่ละประเทศจะได้รับ GSP จะแตกต่างกันตามกำหนดการลดภาษีของแต่ละประเทศ กล่าวคือ เวียดนาม : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2548 ลาวและพม่า : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2550 และกัมพูชา : ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2552
1.4 กฎว่าด้วยแหล่งกำเนิดสินค้า (Rules of Origin)
1) สำหรับสินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country) กล่าวคือเป็นสินค้าที่ผลิตขึ้นโดยใช้วัตถุดิบในประเทศนั้นทั้งหมดโดยไม่มีการนำเข้า หรือเป็นสินค้าที่ผลิตในประเทศผู้ส่งออกทั้งหมด หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 60
โดยสินค้าเกษตรให้ความหมายถึง สินค้าในพิกัดตอนที่ 01 - 24 และรวมถึงสินค้าเกษตรตามข้อผูกพันในองค์การการค้าโลกในตอนพิกัดอื่น ๆ เช่น ฝ้ายในตอนที่ 52 ไหมในตอนที่ 50 เป็นต้น
2) สำหรับสินค้าที่ไม่ใช่สินค้าเกษตร ให้ใช้กฎ Wholly Produced or Obtained (Single Country)หรือสินค้านั้นต้องมีมูลค่าวัตถุดิบของประเทศผู้ส่งออกรวมกับมูลค่าวัตถุดิบจากประเทศไทยไม่น้อยกว่าร้อยละ 40 ทั้งนี้ ประเทศไทยขอสงวนสิทธิในการตรวจสอบความถูกต้องของแหล่งกำเนิดสินค้าด้วย
1.5 การยกเลิก ASEAN GSP ประเทศไทยคงสิทธิที่จะยกเลิก ASEAN GSP ดังนี้
1) หากมูลค่าการนำเข้าของสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP เพิ่มขึ้นร้อยละ 100
2) หากมีผู้ผลิตภายในประเทศร้องเรียนต่อกระทรวงการคลังว่า การนำเข้าสินค้าที่ได้รับ ASEAN GSP มีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมในประเทศ โดยผู้ร้องเรียนจะต้องแสดงข้อมูลเพื่อสนับสนุนข้อเรียกร้องของตนด้วย เช่นการลดลงของส่วนแบ่งตลาด ราคาขายของผู้ผลิตลดลง และสินค้าคงเหลือมีจำนวนเพิ่มขึ้น เป็นต้น
1.6 การทบทวน ให้มีการทบทวนการให้สิทธิพิเศษทางภาษีแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนทุกปี
1.7 สนับสนุนอาฟต้า เพื่อสนับสนุนให้ประเทศสมาชิกนำรายการสินค้ามาลดภาษีในกรอบอาฟต้าเร็วขึ้น จึงพิจารณาให้ ASEAN GSP เฉพาะรายการที่ประเทศ CLMV มีแผนการลดภาษีเท่านั้น ดังนั้น รายการที่อยู่ในบัญชียกเว้นลดภาษี (GEL) ของประเทศ CLMV จะไม่ได้รับ ASEAN GSP และรายการที่อยู่ในบัญชีสินค้าอ่อนไหว (SL)ของไทยซึ่งยังไม่ได้นำมาลดภาษีจะไม่ให้ ASEAN GSP
2. เห็นชอบรายการสินค้าที่ให้ ASEAN GSP แก่ ลาว พม่า และเวียดนาม สรุปได้ดังนี้
2.1 ลาว จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 66 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 24รายการ เช่น กระวาน ถั่วลิสง ไม้จำพวกสน ไม้อัดพลายวูด เมล็ดละหุ่ง หนังสัตว์ และปอกระเจา เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 13 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 11 รายการ
2.2 พม่า จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 80 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP 30รายการ เช่น ปู กกและอ้อ ก๊าซธรรมชาติ ฝ้าย บล็อคปูพื้น และส่วนประกอบของหม้อแปลงไฟฟ้า เป็นต้น โดยมีการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 19 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 3 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 8 รายการ
2.3 เวียดนาม จำนวนสินค้าที่ขอให้พิจารณา 65 รายการ ที่ประชุมพิจารณาเห็นชอบให้ ASEAN GSP19 รายการ เช่น อบเชย แอนทราไซต์ โพลิโครม สายอากาศ เครื่องแต่งกายทำจากหนัง อุปกรณ์ตรวจสอบความดัน และเศษเส้นใยประดิษฐ์ เป็นต้น โดยมีอัตราการลดอากรขาเข้าให้ ดังนี้ ลดเหลือร้อยละ 0 จำนวน 12 รายการ ลดเหลือร้อยละ 1 จำนวน 1 รายการ ลดเหลือร้อยละ 3 จำนวน 2 รายการ ลดเหลือร้อยละ 5 จำนวน 4 รายการ
ทั้งนี้ คณะกรรมการดำเนินการเขตการค้าเสรีอาเซียนได้ให้ความเห็นชอบการใช้ชื่ออย่างเป็นทางการจาก "ASEAN GSP" เป็น "ASEAN Integration System of Preferences หรือ AISP"
ทั้งนี้ เนื่องจากที่ประชุมสุดยอดอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการครั้งที่ 4 เมื่อวันที่ 24 - 25 พฤศจิกายน 2543 ณ ประเทศสิงคโปร์ ได้ตกลงให้มีการกระชับการรวมกลุ่มอาเซียน (Initiative for ASEAN Integration : IAI) เพื่อสร้างความแข็งแกร่งของอาเซียน โดยการลดช่องว่างของระดับการพัฒนาทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศสมาชิกเดิมกับประเทศสมาชิกใหม่ และเสริมสร้างความสามารถในการแข่งขันของทั้งภูมิภาค ซึ่งมาตรการหนึ่งคือ การให้สิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (Generalised System of Preferences-GSP) จากประเทศสมาชิกเดิมแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียน ได้แก่กัมพูชา ลาว พม่า และเวียดนาม (CLMV)
ในการประชุมรัฐมนตรีเศรษฐกิจอาเซียนอย่างไม่เป็นทางการ ครั้งที่ 7 (AEM Retreat) ในระหว่างวันที่3 - 4 พฤษภาคม 2544 ณ เมืองเสียมราฐ ประเทศกัมพูชา ที่ประชุมมีมติให้ประเทศสมาชิกเดิมให้สิทธิพิเศษทางศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนในลักษณะทวิภาคี (bilateral basis) ซึ่งเป็นการให้ฝ่ายเดียวจากประเทศผู้ให้โดยไม่มีการเจรจาต่อรอง และขอให้ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนแจ้งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษดังกล่าวให้แก่ประเทศสมาชิกเดิม 6 ประเทศพิจารณา
ประเทศสมาชิกใหม่อาเซียนได้ส่งรายการสินค้าที่ต้องการได้รับสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากร (ASEAN GSP) จากไทยแล้ว 3 ประเทศ ได้แก่ ลาว จำนวน 66 รายการ พม่า จำนวน 42 รายการ (ปรับตามประเภทพิกัด 9 หลักได้ 80 รายการ) และเวียดนาม จำนวน 65 รายการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-