ทำเนียบรัฐบาล--31 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทย ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทย (ข้อมูลฐานลูกค้ารายใหญ่ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งไม่รวมธนาคารกสิกรไทย เนื่องจากมีการปรับฐานข้อมูล) ในช่วงก่อวิกฤตเศรษฐกิจ จนถึงสิ้นปี 2540 อยู่ในระดับประมาณ 50-70 พันล้านบาทต่องวดบัญชี สำหรับการให้กู้แก่ลูกค้ารายใหม่และประมาณ 180-270 พันล้านบาท สำหรับลูกค้ารายเก่า หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2541-2542 การให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยมีจำนวนเพียง 20-35 พันล้านบาท และ 140-220 พันล้านบาทต่องวดบัญชี สำหรับกรณีลูกค้ารายใหม่และรายเก่าตามลำดับ แต่การให้กู้แก่ลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 48.6 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับระดับในช่วงปี 2540 แต่ลูกค้ารายเก่ายังมีการขยายตัวน้อยเพียง 117.5 พันล้านบาท
2. สินเชื่อที่มีการปล่อยกู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้ารายใหม่ (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) เป็นสินเชื่อแก่ภาคการธนาคารและธุรกิจการเงิน ภาคอุตสาหกรรม คาดการค้าส่งและค้าปลีก และภาคบริการในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้ารายเก่าเป็นสินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าส่งและค้าปลีก ภาคบริการ และการส่งสินค้าออก
3. แม้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการให้กู้มากขึ้นทั้งแก่ลูกค้ารายเก่าและรายใหม่ แต่การชำระคืนมีมากกว่า และในครึ่งหลังของปี 2542 และครึ่งแรกของปี 2543 มีการตัดหนี้สูญและโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยัง AMC เป็นจำนวนมาก จึงทำให้สินเชื่อสุทธิลดลงมาก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยลดลงถึง 440.5 พันล้านบาท แต่เป็นผลจากการโอนไป AMC และตัดหนี้สูญ 189.7 พันล้านบาท และเป็นการชำระคืน 250.8 พันล้านบาท
4. เมื่อแยกการเปลี่ยนแปลงสุทธิของสินเชื่อเป็นรายใหญ่ (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) และรายย่อยแล้วปรากฏว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 นี้ ลูกหนี้รายย่อยได้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 35.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว แต่รายใหญ่ลดลง 283.5 พันล้านบาท
5. ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 ตัวเลขสัดส่วนการอนุมัติสินเชื่อต่อ....สินเชื่อ (เฉพาะรายตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป) เมื่อดูเป็นจำนวนรายคำขอ ยังสูงถึงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤต แสดงว่าธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยยังพยายามปล่อยสินเชื่ออยู่ แต่เมื่อดูเป็นปริมาณเงิน อัตราส่วนดังกล่าวลดต่ำลง และเป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จำนวนคำขอสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับปี 2541 และ 2542 แต่ยังมีจำนวนเพียงร้อยละ 40 ของระดับในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ
6. สาเหตุที่ความต้องการสินเชื่อยังต่ำอยู่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังคงอัตราการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) ในระดับต่ำ ความต้องการในการลงทุนจึงยังต่ออยู่ขณะที่ภาคการผลิตที่มีการขยายตัวสูง (ภาคการส่งออกและภาคที่ใช้เทคโนโลยีสูง) สามารถอาศัยเงินหมุนเวียบภายในบริษัทเองหรือใช้แหล่งทุนจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เช่น จากการออกตราสารหนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 125.8 และ 81.6 พันล้านบาท ในปี 2542 และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 ตามลำดับ รวมทั้งการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และการอาศัยเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานสินเชื่อของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทย ตามที่ธนาคารแห่งประเทศไทยเสนอ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. การให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทย (ข้อมูลฐานลูกค้ารายใหญ่ ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป ซึ่งไม่รวมธนาคารกสิกรไทย เนื่องจากมีการปรับฐานข้อมูล) ในช่วงก่อวิกฤตเศรษฐกิจ จนถึงสิ้นปี 2540 อยู่ในระดับประมาณ 50-70 พันล้านบาทต่องวดบัญชี สำหรับการให้กู้แก่ลูกค้ารายใหม่และประมาณ 180-270 พันล้านบาท สำหรับลูกค้ารายเก่า หลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจในช่วงปี 2541-2542 การให้กู้ของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยมีจำนวนเพียง 20-35 พันล้านบาท และ 140-220 พันล้านบาทต่องวดบัญชี สำหรับกรณีลูกค้ารายใหม่และรายเก่าตามลำดับ แต่การให้กู้แก่ลูกค้ารายใหม่ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ โดยในช่วงครึ่งปีแรกของปี 2543 ขยายตัวเพิ่มขึ้นเป็น 48.6 พันล้านบาท ใกล้เคียงกับระดับในช่วงปี 2540 แต่ลูกค้ารายเก่ายังมีการขยายตัวน้อยเพียง 117.5 พันล้านบาท
2. สินเชื่อที่มีการปล่อยกู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้ารายใหม่ (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) เป็นสินเชื่อแก่ภาคการธนาคารและธุรกิจการเงิน ภาคอุตสาหกรรม คาดการค้าส่งและค้าปลีก และภาคบริการในสัดส่วนที่สูงกว่าภาคเศรษฐกิจอื่นๆ ส่วนสินเชื่อที่ปล่อยกู้เพิ่มเติมแก่ลูกค้ารายเก่าเป็นสินเชื่อแก่ภาคอุตสาหกรรม ภาคการค้าส่งและค้าปลีก ภาคบริการ และการส่งสินค้าออก
3. แม้ธนาคารพาณิชย์ยังมีการให้กู้มากขึ้นทั้งแก่ลูกค้ารายเก่าและรายใหม่ แต่การชำระคืนมีมากกว่า และในครึ่งหลังของปี 2542 และครึ่งแรกของปี 2543 มีการตัดหนี้สูญและโอนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ไปยัง AMC เป็นจำนวนมาก จึงทำให้สินเชื่อสุทธิลดลงมาก ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 สินเชื่อสุทธิของธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยลดลงถึง 440.5 พันล้านบาท แต่เป็นผลจากการโอนไป AMC และตัดหนี้สูญ 189.7 พันล้านบาท และเป็นการชำระคืน 250.8 พันล้านบาท
4. เมื่อแยกการเปลี่ยนแปลงสุทธิของสินเชื่อเป็นรายใหญ่ (ตั้งแต่ 5 ล้านบาทขึ้นไป) และรายย่อยแล้วปรากฏว่าในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 นี้ ลูกหนี้รายย่อยได้สินเชื่อเพิ่มขึ้น 35.5 พันล้านบาท เมื่อเทียบกับสิ้นปีที่แล้ว แต่รายใหญ่ลดลง 283.5 พันล้านบาท
5. ในช่วง 7 เดือนแรกของปี 2543 ตัวเลขสัดส่วนการอนุมัติสินเชื่อต่อ....สินเชื่อ (เฉพาะรายตั้งแต่ 30 ล้านบาทขึ้นไป) เมื่อดูเป็นจำนวนรายคำขอ ยังสูงถึงกว่าร้อยละ 90 ซึ่งสูงกว่าช่วงก่อนวิกฤต แสดงว่าธนาคารพาณิชย์เอกชนไทยยังพยายามปล่อยสินเชื่ออยู่ แต่เมื่อดูเป็นปริมาณเงิน อัตราส่วนดังกล่าวลดต่ำลง และเป็นที่น่าสังเกตว่า แม้จำนวนคำขอสินเชื่อจะเพิ่มขึ้นแล้วเมื่อเทียบกับปี 2541 และ 2542 แต่ยังมีจำนวนเพียงร้อยละ 40 ของระดับในช่วงก่อนวิกฤตเศรษฐกิจ
6. สาเหตุที่ความต้องการสินเชื่อยังต่ำอยู่ ส่วนหนึ่งเนื่องจากระบบเศรษฐกิจยังคงอัตราการใช้กำลังการผลิต (capacity utilization) ในระดับต่ำ ความต้องการในการลงทุนจึงยังต่ออยู่ขณะที่ภาคการผลิตที่มีการขยายตัวสูง (ภาคการส่งออกและภาคที่ใช้เทคโนโลยีสูง) สามารถอาศัยเงินหมุนเวียบภายในบริษัทเองหรือใช้แหล่งทุนจากแหล่งอื่นที่ไม่ใช่สินเชื่อของธนาคารพาณิชย์ เช่น จากการออกตราสารหนี้ ซึ่งเพิ่มขึ้นมากถึง 125.8 และ 81.6 พันล้านบาท ในปี 2542 และช่วง 9 เดือนแรกของปี 2543 ตามลำดับ รวมทั้งการระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์และการอาศัยเงินลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 30 ต.ค. 2543--
-สส-