แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
คณะรัฐมนตรี
วิสัยทัศน์
ทำเนียบรัฐบาล--1 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
19. เรื่อง ร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปขั้นตอนได้ ดังนี้
1. กระบวนการที่ดำเนินการในขั้นกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับและทุกภาคส่วนของประเทศ
1.1 การระดมความคิดเห็นภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาประเทศที่นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1.2 การระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในเบื้องต้น เมื่อเดือนธันวาคม 2542
1.3 การระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ มีประชาชานในทุกระดับทุกจังหวัดหลากหลายอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น จำนวนมากกว่า 18,900 คน โดยแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ
2. สรุปสาระสำคัญของร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ดังนี้
2.1 วิสัยทัศน์ร่วม
- แนวคิดปรัชญาหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยและเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวมโดยมี "คน" เป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
- มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย และมีค่านิยมที่ยึดหลักทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก มีระบบที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยึดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าและจิตสำนึกให้มีคุณธรรมและซื่อสัตย์
- กำหนดสังคมไทยที่พึงประสงค์เป็น "สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ" ใน 3 ด้าน คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
2.2 ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะยาวนำไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมข้างต้น ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลัก คือ "การปรับโครงสร้างการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงปริมาณมาสู่การพัฒนาในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และความสามารถก้าวทันโลกที่จะอำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ"
- เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศใหม่ "โดยเปลี่ยนจากเดิมที่มุ่งสร้างความร่ำรวยด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง สามารถแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการพึ่งตนเอง พร้อมทั้งยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ"
- สำหรับภารกิจสำคัญของชาติที่จะเป็นจุดยึดโยงการทำงานร่วมกันในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ การผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในการปฏิรูปสังคมไทยให้เกิดระบบบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างการพัฒนาที่ได้ดุลยภาพ โดยสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง แก้ปัญหาความยากจน ควบคู่ไปกับการปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ และรู้เท่าทันโลก
2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้มุ่งใน 3 กลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกัน คือ การสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง การปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ให้รู้เท่าทันโลก และการปฏิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนของสังคม โดยดำเนินการใน 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
- ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การจัดระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนร่วม
- ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่ธรรมาภิบาล
2.4 การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวความคิด ค่านิยม เป้าหมาย และวิธีการทำงาน โดยต้องให้ความสำคัญลำดับสูงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ เกิดการระดมทุนทางสังคมในทุก ๆ ด้าน มาเป็นพลังผลักดันร่วมกัน โดยการพัฒนากลไกเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงให้สนับสนุนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผน วางกรอบแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ พัฒนาระบบติดตามประเมินผล และพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. ขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะได้นำไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินการจัดทำรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ฉบับสมบูรณ์ต่อไป โดยกำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2543 และจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในเดือนธันวาคม 2543 เพื่อจักได้ทันให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณปี 2545 ให้สอดคล้องกับแผนดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-
19. เรื่อง ร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปขั้นตอนได้ ดังนี้
1. กระบวนการที่ดำเนินการในขั้นกำหนดวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้ใช้หลักการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับและทุกภาคส่วนของประเทศ
1.1 การระดมความคิดเห็นภายในสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเพื่อประเมินผลแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 ตลอดจนแนวคิดการพัฒนาประเทศที่นำไปสู่การกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
1.2 การระดมความคิดเห็นของคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ และผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อกำหนดวิสัยทัศน์และกรอบหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในเบื้องต้น เมื่อเดือนธันวาคม 2542
1.3 การระดมการมีส่วนร่วมของประชาชนในทุกระดับ มีประชาชานในทุกระดับทุกจังหวัดหลากหลายอาชีพเข้ามามีส่วนร่วมในการระดมความคิดเห็น จำนวนมากกว่า 18,900 คน โดยแบ่งตามพื้นที่เป็น 3 ระดับ คือ ระดับจังหวัด ระดับอนุภาค และระดับชาติ
2. สรุปสาระสำคัญของร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) ดังนี้
2.1 วิสัยทัศน์ร่วม
- แนวคิดปรัชญาหลักของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ยึดหลัก "ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง" เป็นแนวทางในการดำเนินวิถีชีวิตของคนไทยและเป็นพื้นฐานการพัฒนาในทุกมิติอย่างเป็นองค์รวมโดยมี "คน" เป็นศูนย์กลางการพัฒนาต่อเนื่องจากแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8
- มีจุดมุ่งหมายเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนและความอยู่ดีมีสุขของคนไทย และมีค่านิยมที่ยึดหลักทางสายกลางอยู่บนพื้นฐานความสมดุลพอดี รู้จักพอประมาณอย่างมีเหตุผล มีความรอบรู้เท่าทันโลก มีระบบที่เป็นภูมิคุ้มกันที่ดี และมีความยึดหยุ่นพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงควบคู่ไปกับการสร้างคุณค่าและจิตสำนึกให้มีคุณธรรมและซื่อสัตย์
- กำหนดสังคมไทยที่พึงประสงค์เป็น "สังคมที่เข้มแข็งและมีดุลยภาพ" ใน 3 ด้าน คือ สังคมคุณภาพ สังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ และสังคมสมานฉันท์และเอื้ออาทรต่อกัน
2.2 ทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
- วัตถุประสงค์และเป้าหมายหลัก เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะยาวนำไปสู่วิสัยทัศน์ร่วมข้างต้น ได้กำหนดวัตถุประสงค์หลัก คือ "การปรับโครงสร้างการพัฒนาประเทศให้เข้าสู่ดุลยภาพ โดยเปลี่ยนกระบวนการพัฒนาประเทศที่มุ่งเน้นการพัฒนาในเชิงปริมาณมาสู่การพัฒนาในเชิงคุณภาพควบคู่ไปกับการสร้างความเป็นธรรมในสังคม และความสามารถก้าวทันโลกที่จะอำนวยประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่ของประเทศ"
- เพื่อให้การพัฒนาเป็นไปตามวัตถุประสงค์ดังกล่าว จึงกำหนดเป้าหมายการพัฒนาประเทศใหม่ "โดยเปลี่ยนจากเดิมที่มุ่งสร้างความร่ำรวยด้วยการเติบโตทางเศรษฐกิจเป็นหลัก ไปสู่การพัฒนาประเทศที่มีรากฐานที่เข้มแข็ง มีการกระจายผลประโยชน์ได้อย่างทั่วถึง สามารถแก้ปัญหาความยากจนและกระจายรายได้ รวมทั้งเพิ่มขีดความสามารถและโอกาสในการพึ่งตนเอง พร้อมทั้งยกระดับรายได้และคุณภาพชีวิตของคนส่วนใหญ่ของประเทศ"
- สำหรับภารกิจสำคัญของชาติที่จะเป็นจุดยึดโยงการทำงานร่วมกันในระยะแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 คือ การผนึกพลังความร่วมมือของทุกฝ่ายในการปฏิรูปสังคมไทยให้เกิดระบบบริหารจัดการการเปลี่ยนแปลงไปสู่โครงสร้างการพัฒนาที่ได้ดุลยภาพ โดยสร้างรากฐานของสังคมให้เข้มแข็ง แก้ปัญหาความยากจน ควบคู่ไปกับการปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ และรู้เท่าทันโลก
2.3 ยุทธศาสตร์การพัฒนา ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ได้มุ่งใน 3 กลุ่มที่มีความเชื่อมโยงกัน คือ การสร้างฐานรากของสังคมให้เข้มแข็ง การปรับตัวสู่เศรษฐกิจยุคใหม่ให้รู้เท่าทันโลก และการปฏิรูประบบบริหารจัดการให้เกิดธรรมาภิบาลในทุกภาคส่วนของสังคม โดยดำเนินการใน 7 ยุทธศาสตร์ ดังนี้
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาคุณภาพคนและการคุ้มครองทางสังคม
- ยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างการพัฒนาชนบทและเมืองอย่างยั่งยืน
- ยุทธศาสตร์การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
- ยุทธศาสตร์การจัดระบบบริหารเศรษฐกิจส่วนร่วม
- ยุทธศาสตร์เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ
- ยุทธศาสตร์การพัฒนาความเข้มแข็งทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
- ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการเพื่อนำไปสู่ธรรมาภิบาล
2.4 การบริหารการเปลี่ยนแปลงเพื่อการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติอย่างได้ผล จำเป็นต้องผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งแนวความคิด ค่านิยม เป้าหมาย และวิธีการทำงาน โดยต้องให้ความสำคัญลำดับสูงต่อการบริหารการเปลี่ยนแปลง เพื่อสร้างสภาวะผู้นำร่วมกันในทุกระดับ เกิดการระดมทุนทางสังคมในทุก ๆ ด้าน มาเป็นพลังผลักดันร่วมกัน โดยการพัฒนากลไกเพื่อบริหารการเปลี่ยนแปลงให้สนับสนุนการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ ปรับปรุงกลไกการดำเนินงานในทุกระดับที่เกี่ยวข้องกับการแปลงแผน วางกรอบแนวทางการแปลงแผนไปสู่การปฏิบัติ พัฒนาระบบติดตามประเมินผล และพัฒนาระบบข้อมูลข่าวสารด้านเศรษฐกิจและสังคม
3. ขั้นตอนในการดำเนินการต่อไป
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาตินำเสนอร่างกรอบวิสัยทัศน์และทิศทางแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เพื่อคณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ ซึ่งจะได้นำไปใช้เป็นกรอบในการดำเนินการจัดทำรายละเอียดของแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ฉบับสมบูรณ์ต่อไป โดยกำหนดให้แล้วเสร็จในเดือนพฤศจิกายน 2543 และจะได้นำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบก่อนการประกาศใช้เป็นแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ในเดือนธันวาคม 2543 เพื่อจักได้ทันให้หน่วยงานต่าง ๆ ใช้เป็นแนวทางในการจัดทำคำของบประมาณปี 2545 ให้สอดคล้องกับแผนดังกล่าวต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 1 ส.ค. 2543--
-สส-