รายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย งวดที่ 3/2544 (ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544) และผลการดำเนินงานการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544)
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย งวดที่ 3/2544 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 และผลการดำเนินงานการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544) สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย งวดที่ 3/2544 (ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 มีดังนี้.-
1.1 มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ มีผลการดำเนินงานโดยสรุปคือ
1) มีรายได้จากการโดยสาร การขนส่งสินค้า และการบริหารทรัพย์สินสูงกว่าเป้าหมาย
2) อยู่ระหว่างจ้างเอกชนดำเนินการจัดประโยชน์ที่ดิน (Station Trading) โดยอยู่ระหว่างการประกาศเชิญชวน 4 โครงการ การกำหนดเงื่อนไขประกวดราคา 1 โครงการ และการจัดทำสัญญาเช่า 1 โครงการ
3) สามารถนำรถจักร GEA HID KP รถดีเซลราง รถโดยสาร และรถสินค้ามาใช้งานได้สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนรถจักร ALS และ GE ใช้งานได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
1.2 มาตรการที่ 2 การลดค่าใช้จ่าย มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
1) สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้
2) ใช้วิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ
3) การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับของ รฟท.
4) ให้ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ และให้ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุ หลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
5) การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย โดยได้เร่งปิดบัญชีประจำปี 2542 และ 2543 ซึ่งนำส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
6) ยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ไม่มีความจำเป็นในการให้บริการเชิงสังคม จำนวน 32 ขบวน
7) แก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
8) กำหนดแบบและมาตรฐานของรถจักร และล้อเลื่อน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อการประหยัด และใช้ประโยชน์สูงสุด
1.3 มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาล มีผลการดำเนินงาน โดยสรุป คือ
1) ยกเลิกแผนงานในการให้เอกชนร่วมลงทุนบริหารสถานีขนถ่ายสินค้าที่ย่านสถานีทุกภาคทั่วประเทศ และแผนงานการให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถโดยสารออกไปก่อน และจะปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงานใหม่ต่อไป2) เลื่อนเป้าหมายให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถสินค้าในปี 2544 - 2551 รวม 70 ขบวนออกไปก่อน เนื่องจากยังติดปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องรอการก่อสร้างทางคู่แล้วเสร็จก่อน
3) ได้จ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักร และล้อเลื่อน รวมทั้งการซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณแล้ว เป็นจำนวนเงิน 155,438 ล้านบาท
1.4 มาตรการที่ 4 การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน มีผลการดำเนินงานโดยสรุป คือ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง รฟท. โดยแยกกิจการรถไฟออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างขนส่งซึ่งยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อน และส่วนทรัพย์สิน รวมทั้งเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. 3 บริษัท ซึ่งการจัดตั้งบริษัทให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในระยะแรก และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่านแล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 และได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์รถไฟไทย ปี 2001" เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2544 ผลการประชุมเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้าง รฟท. แต่การจัดตั้งบริษัทเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเห็นควรใช้พระราชบัญญัติการรถไฟฯ พ.ศ. 2549 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้น เสร็จแล้ว และได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ซึ่งผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย รฟท. จะนำผลการศึกษา ดังกล่าวเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เพื่อให้การปรับโครงสร้าง รฟท. เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
1.5 มาตรการที่ 5 การรายงานผลการปฏิบัติงาน รฟท. ได้กำหนดเวลาการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการที่ 1 - 4 และผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2540 - 2544 เป็นรายไตรมาสต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 15 พฤษภาคม 15 สิงหาคม และ 15 พฤศจิกายน ตามลำดับ สำหรับแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ ซึ่งได้กำหนดแผนย่อยที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 รวมทั้งสิ้น 74 แผนงาน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 89.7 ของเป้าหมายที่กำหนด
2. การปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544) สรุปได้ดังนี้
2.1 การดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งขณะนี้การปรับโครงสร้างของ รฟท. อยู่ในระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทและคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่านดังกล่าว และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง ยุทธศาสตร์รถไฟไทย ปี 2001 สรุปได้ดังนี้
1) แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างของ รฟท. ควรใช้รูปแบบการจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท อยู่ภายใต้ รฟท. แทนการแบ่งแยกกิจการออกเป็น 3 บริษัทอิสระ
2) เครื่องมือในการแปลงเป็นบริษัทลูก จะใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่และประกาศใช้แล้ว แทนพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ
2.2 รฟท. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดตามโครงสร้างใหม่และแยกการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เงินกู้ธนาคารโลกภายใต้โครงการ Economic Management Project (EMAP) ประกอบด้วย การศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้น และการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การปรับโครงสร้าง รฟท.
2.3 การจัดทำแผนปฏิรูปเพื่อปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร โดยเป้าหมายของ กนร. ในด้านบุคลากรของ รฟท. ให้มีอัตรากำลังภายในกรอบที่กำหนด โดยภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีพนักงานไม่เกิน 18,015 คน และลูกจ้างจำนวนไม่เกิน 4,056 คน ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีพนักงานทั้งสิ้น 16,872 คน และลูกจ้าง 3,394 คน แผนพัฒนาบุคลากรของสำนักฝึกอบรมและพัฒนาในปีงบประมาณ 2544 ได้ดำเนินการจัดหลักสูตรในการพัฒนาระดับผู้บริหาร (Mini MBA) ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารระดับ 10 ขึ้นไป จำนวน 50 คน และแผนงานฝึกอบรมการบริการเป็นเลิศของฝ่ายการเดินรถ ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน
2.4 การทำความเข้าใจกับพนักงานทุกระดับเรื่องการปรับโครงสร้าง โดย รฟท. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่าย/สำนักงาน จำนวน 47 คน (Change Agent) เพื่อประสานงานและสร้างความเข้าใจกับพนักงานเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างของ รฟท. ตลอดจนทำแผนปฏิบัติการเสนอต่อ รฟท. แล้ว ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2544
2.5 การให้ความสำคัญในการให้บริการขนส่งสินค้า โดยได้จัดเดินขบวนรถสินค้า Block Train ขนส่งคอนเทนเนอร์ ระหว่าง ICD ลาดกระบัง - ท่าเรือแหลมฉบัง โดยการลากจูงด้วยหัวรถจักรกำลัง 2500 แรงม้าขึ้นไป ทำให้สามารถลากจูงคอนเทนเนอร์ได้มากขึ้น 10% ได้ปรับลดจุดรับส่งสินค้าประเภทเหมาคันลงจากเดิม 200 สถานี เหลือ 100 สถานี เพื่อให้สินค้าส่งถึงปลายทางได้รวดเร็วขึ้น จัดบริการขนส่งสินค้าหีบห่อถึงปลายทางภายในวันเดียว
2.6 การปรับปรุงด้านบริการ ซึ่งทำให้กองโดยสาร ฝ่ายการเดินรถได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9002 ด้านการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 และกองซ่อมรถโดยสาร ฝ่ายการช่างกล ได้พิจารณาจะขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพรถเพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการแล้ว
2.7 การปรับปรุงด้านความสะอาด ซึ่งได้ทำโครงการก่อสร้างและปรับปรุงห้องสุขาบริเวณสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยกำหนดปรับปรุงทั้งหมด 279 สถานี วงเงิน 71.73 ล้านบาท และตรวจสอบและกำจัดแมลงสาบ บริเวณอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพและบนขบวนรถโดยสาร ซึ่งจอดอยู่ในย่านสถานี
2.8 การปรับปรุงด้านความปลอดภัย ซึ่งฝ่ายการเดินรถมีแผนการจัดจ้างเอกชนรักษาความปลอดภัยสถานีและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด นอกจากนี้ รฟท. ได้เร่งเสริมความแข็งแรงของพื้นที่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในโครงการระยะที่ 1 : สายเหนือ ผลงานคืบหน้า 99.20% ระยะที่ 2 : สายเหนือ ผลงานคืบหน้า 44.07% และระยะที่ 3 : สายใต้ ผลงานคืบหน้า 62.58% นอกจากนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อดำเนินการปรับปรุงทางระยะต่อไปคือ ระยะที่ 4 - 5 และ 6 เพื่อสร้างความแข็งแรงในทางประธานสายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกเส้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป และ รฟท. ได้ดำเนินการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคมตามโครงการก่อสร้างทางคู่ใน 5 เส้นทาง ระยะทาง 234 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการประกวดราคา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานผลการปฏิบัติตามมติคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับเรื่อง มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย งวดที่ 3/2544 ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 และผลการดำเนินงานการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544) สรุปได้ดังนี้
1. มาตรการแก้ไขปัญหาของการรถไฟแห่งประเทศไทย งวดที่ 3/2544 (ระหว่างเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544 มีดังนี้.-
1.1 มาตรการที่ 1 การเพิ่มประสิทธิภาพในการหารายได้ มีผลการดำเนินงานโดยสรุปคือ
1) มีรายได้จากการโดยสาร การขนส่งสินค้า และการบริหารทรัพย์สินสูงกว่าเป้าหมาย
2) อยู่ระหว่างจ้างเอกชนดำเนินการจัดประโยชน์ที่ดิน (Station Trading) โดยอยู่ระหว่างการประกาศเชิญชวน 4 โครงการ การกำหนดเงื่อนไขประกวดราคา 1 โครงการ และการจัดทำสัญญาเช่า 1 โครงการ
3) สามารถนำรถจักร GEA HID KP รถดีเซลราง รถโดยสาร และรถสินค้ามาใช้งานได้สูงกว่าเป้าหมาย ส่วนรถจักร ALS และ GE ใช้งานได้ต่ำกว่าเป้าหมาย
1.2 มาตรการที่ 2 การลดค่าใช้จ่าย มีผลการดำเนินงาน โดยสรุปคือ
1) สามารถควบคุมค่าใช้จ่ายด้านบุคลากรให้อยู่ในกรอบที่กำหนดได้
2) ใช้วิธีการเลื่อนขั้นเงินเดือนตามระบบแรงจูงใจเช่นเดียวกับรัฐวิสาหกิจอื่น ๆ
3) การปรับโครงสร้างเงินเดือน ยังคงใช้บัญชีเดิมตามข้อบังคับของ รฟท.
4) ให้ยกเลิกระบบบำนาญสำหรับพนักงานใหม่ และให้ผู้ปฏิบัติงานที่ได้รับการบรรจุ หลังวันที่ 24 พฤศจิกายน 2542 ได้รับเงินสงเคราะห์ครั้งเดียวเท่านั้น
5) การประหยัดดอกเบี้ยจ่าย โดยได้เร่งปิดบัญชีประจำปี 2542 และ 2543 ซึ่งนำส่งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดินแล้ว
6) ยกเลิกขบวนรถโดยสารที่ไม่มีความจำเป็นในการให้บริการเชิงสังคม จำนวน 32 ขบวน
7) แก้ไขระเบียบการจ้าง พ.ศ. 2527 และระเบียบการพัสดุ พ.ศ. 2533 ของ รฟท. ให้สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีแล้ว
8) กำหนดแบบและมาตรฐานของรถจักร และล้อเลื่อน ให้เป็นมาตรฐานเดียวกันเพื่อการประหยัด และใช้ประโยชน์สูงสุด
1.3 มาตรการที่ 3 การเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน และลดภาระการลงทุนของ รฟท. และรัฐบาล มีผลการดำเนินงาน โดยสรุป คือ
1) ยกเลิกแผนงานในการให้เอกชนร่วมลงทุนบริหารสถานีขนถ่ายสินค้าที่ย่านสถานีทุกภาคทั่วประเทศ และแผนงานการให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถโดยสารออกไปก่อน และจะปรับปรุงกลยุทธ์ในการดำเนินงานใหม่ต่อไป2) เลื่อนเป้าหมายให้เอกชนร่วมเดินขบวนรถสินค้าในปี 2544 - 2551 รวม 70 ขบวนออกไปก่อน เนื่องจากยังติดปัญหาโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งต้องรอการก่อสร้างทางคู่แล้วเสร็จก่อน
3) ได้จ้างเอกชนซ่อมบำรุงรักษารถจักร และล้อเลื่อน รวมทั้งการซ่อมบำรุงด้านโยธา และอาณัติสัญญาณแล้ว เป็นจำนวนเงิน 155,438 ล้านบาท
1.4 มาตรการที่ 4 การกำหนดบทบาทของ รฟท. ให้ชัดเจน มีผลการดำเนินงานโดยสรุป คือ
คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เห็นชอบให้ดำเนินการปรับโครงสร้าง รฟท. โดยแยกกิจการรถไฟออกเป็น 4 ส่วน คือ ส่วนโครงสร้างขนส่งซึ่งยังคงมีสภาพเป็นรัฐวิสาหกิจ ส่วนการเดินรถ ส่วนซ่อมบำรุงล้อเลื่อน และส่วนทรัพย์สิน รวมทั้งเห็นชอบในหลักการการจัดตั้งบริษัทของ รฟท. 3 บริษัท ซึ่งการจัดตั้งบริษัทให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจ พ.ศ. 2542 โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ถือหุ้น 100% ในระยะแรก และมีฐานะเป็นรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทได้แต่งตั้งผู้ทรงคุณวุฒิ และคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่านแล้วเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2544 และได้มีการประชุมเชิงปฏิบัติการ "ยุทธศาสตร์รถไฟไทย ปี 2001" เมื่อวันที่ 26 พฤษภาคม 2544 ผลการประชุมเห็นด้วยกับการปรับโครงสร้าง รฟท. แต่การจัดตั้งบริษัทเพื่อรองรับการปรับโครงสร้างเห็นควรใช้พระราชบัญญัติการรถไฟฯ พ.ศ. 2549 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 7) พ.ศ. 2543 นอกจากนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้น เสร็จแล้ว และได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ในการปรับโครงสร้าง รฟท. ซึ่งผลการศึกษาเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดย รฟท. จะนำผลการศึกษา ดังกล่าวเสนอขอทบทวนมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 พฤศจิกายน 2543 เพื่อให้การปรับโครงสร้าง รฟท. เป็นไปตามแนวทางที่เหมาะสมต่อไป
1.5 มาตรการที่ 5 การรายงานผลการปฏิบัติงาน รฟท. ได้กำหนดเวลาการรายงานผลความก้าวหน้าของการดำเนินงานตามมาตรการที่ 1 - 4 และผลการปฏิบัติงานตามแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ พ.ศ. 2540 - 2544 เป็นรายไตรมาสต่อคณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ (กนร.) ภายในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 15 พฤษภาคม 15 สิงหาคม และ 15 พฤศจิกายน ตามลำดับ สำหรับแผนปฏิบัติการของแผนวิสาหกิจ ซึ่งได้กำหนดแผนย่อยที่จะต้องดำเนินการในปีงบประมาณ 2544 รวมทั้งสิ้น 74 แผนงาน มีผลการดำเนินงานคิดเป็นร้อยละ 89.7 ของเป้าหมายที่กำหนด
2. การปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 9 (ประจำเดือนเมษายน - มิถุนายน 2544) สรุปได้ดังนี้
2.1 การดำเนินการเกี่ยวกับการปรับปรุงโครงสร้างการรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) ซึ่งขณะนี้การปรับโครงสร้างของ รฟท. อยู่ในระหว่างการดำเนินการของคณะกรรมการเตรียมการจัดตั้งบริษัทและคณะอนุกรรมการบริหารเปลี่ยนผ่านดังกล่าว และจากการประชุมเชิงปฏิบัติการ (Workshop) เรื่อง ยุทธศาสตร์รถไฟไทย ปี 2001 สรุปได้ดังนี้
1) แนวทางการปรับปรุงโครงสร้างของ รฟท. ควรใช้รูปแบบการจัดตั้งบริษัทลูก 3 บริษัท อยู่ภายใต้ รฟท. แทนการแบ่งแยกกิจการออกเป็น 3 บริษัทอิสระ
2) เครื่องมือในการแปลงเป็นบริษัทลูก จะใช้พระราชบัญญัติการรถไฟแห่งประเทศไทย พ.ศ. 2543 ที่ได้มีการปรับปรุงใหม่และประกาศใช้แล้ว แทนพระราชบัญญัติทุนรัฐวิสาหกิจฯ
2.2 รฟท. ได้ว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาเพื่อศึกษารายละเอียดตามโครงสร้างใหม่และแยกการศึกษาออกเป็น 2 ส่วน โดยใช้เงินกู้ธนาคารโลกภายใต้โครงการ Economic Management Project (EMAP) ประกอบด้วย การศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์ด้านการเงินระยะสั้น และการศึกษาเพื่อจัดทำแผนกลยุทธ์การปรับโครงสร้าง รฟท.
2.3 การจัดทำแผนปฏิรูปเพื่อปรับปรุงและพัฒนาบุคลากร โดยเป้าหมายของ กนร. ในด้านบุคลากรของ รฟท. ให้มีอัตรากำลังภายในกรอบที่กำหนด โดยภายในวันที่ 1 ตุลาคม 2545 มีพนักงานไม่เกิน 18,015 คน และลูกจ้างจำนวนไม่เกิน 4,056 คน ซึ่ง ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2544 มีพนักงานทั้งสิ้น 16,872 คน และลูกจ้าง 3,394 คน แผนพัฒนาบุคลากรของสำนักฝึกอบรมและพัฒนาในปีงบประมาณ 2544 ได้ดำเนินการจัดหลักสูตรในการพัฒนาระดับผู้บริหาร (Mini MBA) ผู้เข้ารับการอบรมเป็นผู้บริหารระดับ 10 ขึ้นไป จำนวน 50 คน และแผนงานฝึกอบรมการบริการเป็นเลิศของฝ่ายการเดินรถ ผู้เข้ารับการอบรม จำนวน 50 คน
2.4 การทำความเข้าใจกับพนักงานทุกระดับเรื่องการปรับโครงสร้าง โดย รฟท. ได้แต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะกิจสำหรับการสื่อสารภายในองค์กรประกอบด้วยตัวแทนจากทุกฝ่าย/สำนักงาน จำนวน 47 คน (Change Agent) เพื่อประสานงานและสร้างความเข้าใจกับพนักงานเกี่ยวกับการปรับโครงสร้างของ รฟท. ตลอดจนทำแผนปฏิบัติการเสนอต่อ รฟท. แล้ว ซึ่งได้เริ่มปฏิบัติงานในปีงบประมาณ 2544
2.5 การให้ความสำคัญในการให้บริการขนส่งสินค้า โดยได้จัดเดินขบวนรถสินค้า Block Train ขนส่งคอนเทนเนอร์ ระหว่าง ICD ลาดกระบัง - ท่าเรือแหลมฉบัง โดยการลากจูงด้วยหัวรถจักรกำลัง 2500 แรงม้าขึ้นไป ทำให้สามารถลากจูงคอนเทนเนอร์ได้มากขึ้น 10% ได้ปรับลดจุดรับส่งสินค้าประเภทเหมาคันลงจากเดิม 200 สถานี เหลือ 100 สถานี เพื่อให้สินค้าส่งถึงปลายทางได้รวดเร็วขึ้น จัดบริการขนส่งสินค้าหีบห่อถึงปลายทางภายในวันเดียว
2.6 การปรับปรุงด้านบริการ ซึ่งทำให้กองโดยสาร ฝ่ายการเดินรถได้รับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 9002 ด้านการจำหน่ายตั๋วล่วงหน้าแล้วเมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2544 และกองซ่อมรถโดยสาร ฝ่ายการช่างกล ได้พิจารณาจะขอรับการรับรองมาตรฐานคุณภาพ ISO 14001 ด้านสิ่งแวดล้อม ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณา นอกจากนี้ รฟท. ได้ดำเนินการปรับปรุงสภาพรถเพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการแล้ว
2.7 การปรับปรุงด้านความสะอาด ซึ่งได้ทำโครงการก่อสร้างและปรับปรุงห้องสุขาบริเวณสถานีต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยกำหนดปรับปรุงทั้งหมด 279 สถานี วงเงิน 71.73 ล้านบาท และตรวจสอบและกำจัดแมลงสาบ บริเวณอาคารสถานีรถไฟกรุงเทพและบนขบวนรถโดยสาร ซึ่งจอดอยู่ในย่านสถานี
2.8 การปรับปรุงด้านความปลอดภัย ซึ่งฝ่ายการเดินรถมีแผนการจัดจ้างเอกชนรักษาความปลอดภัยสถานีและติดตั้งระบบโทรทัศน์วงจรปิด นอกจากนี้ รฟท. ได้เร่งเสริมความแข็งแรงของพื้นที่ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยในการเดินรถ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบในโครงการระยะที่ 1 : สายเหนือ ผลงานคืบหน้า 99.20% ระยะที่ 2 : สายเหนือ ผลงานคืบหน้า 44.07% และระยะที่ 3 : สายใต้ ผลงานคืบหน้า 62.58% นอกจากนี้ รฟท. ได้ทำการศึกษาเพื่อดำเนินการปรับปรุงทางระยะต่อไปคือ ระยะที่ 4 - 5 และ 6 เพื่อสร้างความแข็งแรงในทางประธานสายต่าง ๆ ให้ครอบคลุมทุกเส้นทางเสร็จเรียบร้อยแล้ว อยู่ระหว่างเสนอกระทรวงคมนาคมเพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบตามขั้นตอนต่อไป และ รฟท. ได้ดำเนินการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณ และโทรคมนาคมตามโครงการก่อสร้างทางคู่ใน 5 เส้นทาง ระยะทาง 234 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในระหว่างการดำเนินการประกวดราคา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-