คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ตามที่รัฐมนตรีประจำ
สำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทาง และวิธีการ และงบประมาณ เพื่อการแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพรับไปพิจารณาแนวทางและวิธีการดำเนินงานในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ให้เกิดความรอบคอบรัดกุม เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงมือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราอย่างแท้จริง รวมทั้งให้ราคาที่จะจัดซื้อยางพารามีความสอดคล้องและเป็นไปตามกลไกตลาด แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) รายงานว่า ในการประชุมกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งตลาดยางพาราเคลื่อนที่ เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือ เพื่อแก้ไขปัญหาของยางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็น ดังนี้
1. วิธีดำเนินการ
1.1 ให้กองทัพเข้าไปช่วยเหลือในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สวนยางตามความต้องการของเกษตรกร
1.2 ให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการฝึกอบรมวิธีกรีดยางให้แก่ทหาร จำนวน 200 คน เพื่อช่วยกรีดยางในพื้นที่สวนยางเสี่ยงภัยตามความต้องการของเกษตรกร
1.3 ให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกองทัพบก จัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ในพื้นที่เป้าหมายที่มีการปลูกยางพารา จำนวน 14 อำเภอของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในลักษณะหมุนเวียน เป็นเวลา 6 เดือน (ธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการตลาดและยกระดับราคายางแผ่นดิบให้เกษตรกร ประมาณการยางที่เข้าตลาดกลางที่ตั้ง 106,464 ตัน หรือ ร้อยละ 40 ของปริมาณยางทั้งหมด
1.4 ให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง
2. พื้นที่ดำเนินการ
2.1 การทดแทนแรงงานกรีดยางในทุกพื้นที่กรีดยางของจังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
2.2 ตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอ 14 ตลาดกลาง ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี 4 อำเภอ จังหวัดยะลา 5 อำเภอ และจังหวัดนราธิวาส 5 อำเภอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--
สำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) เสนอ แล้วมีมติเห็นชอบในหลักการแนวทาง และวิธีการ และงบประมาณ เพื่อการแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ยะลา ปัตตานี นราธิวาส) และให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นเจ้าภาพรับไปพิจารณาแนวทางและวิธีการดำเนินงานในรายละเอียดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงพาณิชย์เป็นต้น ให้เกิดความรอบคอบรัดกุม เพื่อให้ประโยชน์ตกถึงมือเกษตรกรผู้ปลูกยางพาราอย่างแท้จริง รวมทั้งให้ราคาที่จะจัดซื้อยางพารามีความสอดคล้องและเป็นไปตามกลไกตลาด แล้วดำเนินการต่อไปได้ โดยให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องขอทำความตกลงในรายละเอียดกับสำนักงบประมาณต่อไป ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายเนวิน ชิดชอบ) รายงานว่า ในการประชุมกรรมการนโยบายเสริมสร้างสันติสุขจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 28 พฤศจิกายน 2548 ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการในการจัดตั้งตลาดยางพาราเคลื่อนที่ เพื่อแก้ไขปัญหายางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ และจากการที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้หารือ เพื่อแก้ไขปัญหาของยางพาราในจังหวัดชายแดนภาคใต้ เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2548 ได้ข้อสรุปในแต่ละประเด็น ดังนี้
1. วิธีดำเนินการ
1.1 ให้กองทัพเข้าไปช่วยเหลือในการรักษาความปลอดภัยในพื้นที่สวนยางตามความต้องการของเกษตรกร
1.2 ให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และกรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ทำการฝึกอบรมวิธีกรีดยางให้แก่ทหาร จำนวน 200 คน เพื่อช่วยกรีดยางในพื้นที่สวนยางเสี่ยงภัยตามความต้องการของเกษตรกร
1.3 ให้กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร่วมกับกองทัพบก จัดตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ในพื้นที่เป้าหมายที่มีการปลูกยางพารา จำนวน 14 อำเภอของ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ในลักษณะหมุนเวียน เป็นเวลา 6 เดือน (ธันวาคม 2548 — พฤษภาคม 2549) เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรด้านการตลาดและยกระดับราคายางแผ่นดิบให้เกษตรกร ประมาณการยางที่เข้าตลาดกลางที่ตั้ง 106,464 ตัน หรือ ร้อยละ 40 ของปริมาณยางทั้งหมด
1.4 ให้ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ (ปัตตานี ยะลา นราธิวาส) ดำเนินการประชาสัมพันธ์โครงการ ฯ ให้ประชาชนทราบอย่างทั่วถึง
2. พื้นที่ดำเนินการ
2.1 การทดแทนแรงงานกรีดยางในทุกพื้นที่กรีดยางของจังหวัด ยะลา ปัตตานี และนราธิวาส
2.2 ตั้งตลาดกลางยางพาราเคลื่อนที่ระดับอำเภอ 14 ตลาดกลาง ประกอบด้วย จังหวัดปัตตานี 4 อำเภอ จังหวัดยะลา 5 อำเภอ และจังหวัดนราธิวาส 5 อำเภอ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 13 ธันวาคม 2548--จบ--