คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาภาพรวมงบประมาณประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ ซึ่งเป็นงบประมาณของรัฐวิสาหกิจจำนวน 48 แห่ง จากรัฐวิสาหกิจจำนวน 50 แห่ง (ไม่รวมองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ยังไม่ได้ส่งงบประมาณตามกำหนดเวลา และบริษัทไทยเดินเรือทะเล จำกัด ที่อยู่ระหว่างการแปรรูปเพื่อพ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจ) มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. งบประมาณทำการ
ประมาณการรายได้ 1,091,894 ล้านบาท
ประมาณการรายจ่าย 1,027,172 ล้านบาท
ประมาณการกำไรสุทธิ 64,722 ล้านบาท
2. งบประมาณลงทุน
งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ 93,614 ล้านบาท
งบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ 180,220 ล้านบาท
รวม 273,834 ล้านบาท
ประมาณจ่าย 219,887 ล้านบาท
หรือร้อยละ 80.3
3. การชำระหนี้ต้นเงินกู้ 107,812 ล้านบาท
4. เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI)
รัฐวิสาหกิจ 48 แห่ง มี RI รวมทั้งสิ้น 181,259 ล้านบาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยมีสาระสำคัญประกอบการพิจารณา แล้วมีมติ ดังนี้
1. คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานปี 2543 ของรัฐวิสาหกิจในไตรมาสที่สามของปี 2543 (จริง 9 เดือน) ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้
1.1 การดำเนินงานในปี 2543 ในภาพรวมจะมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 58,149 ล้านบาท เป็น 80,663 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นประมาณ 22,514 ล้านบาท) หรือร้อยละ 38.7 ทั้งนี้สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมีกำไรจากการขายน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 2,494 ล้านบาท เนื่องจากมียอดจำหน่ายสูงกว่าเดิมที่ประมาณบนสมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว และรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีรายได้จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและเงินปันผลเพิ่มขึ้น เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2,970 ล้านบาท) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (1,300 ล้านบาท) การไฟฟ้านครหลวง (853 ล้านบาท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (780 ล้านบาท) นอกจากนั้นบางรัฐวิสาหกิจสามารถลดรายจ่ายในการดำเนินงาน และดอกเบี้ยจ่าย ลงจากที่ประมาณไว้เดิมมาก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (3,188 ล้านบาท) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (2,300 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (2,000 ล้านบาท) และการไฟฟ้านครหลวง (1,003 ล้านบาท) เป็นต้น และบางรัฐวิสาหกิจมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากประมาณการเดิม 2,382 ล้านบาท
1.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน จากผลการดำเนินงานคาดว่าจะมี RI เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 106,862 ล้านบาท เป็น 122,609 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นประมาณ 15,747 ล้านบาท) หรือร้อยละ 14.7 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการที่รัฐวิสาหกิจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (4,656 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (2,208 ล้านบาท) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (6,151 ล้านบาท) ประกอบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการชะลอเงินนำส่งรัฐจำนวน 1,361 ล้านบาท
1.3 การเบิกจ่ายลงทุน คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 206,619 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 36,142 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.9 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญเนื่องจากมีปัญหาล่าช้าในการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ จึงทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารของ บทม. และการปรับเลื่อนโครงการระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลจากการเบิกจ่ายลงทุนดังกล่าว ทำให้รัฐวิสาหกิจโดยรวมมีฐานะขาดดุล จำนวน 84,010 ล้านบาท (122,609-206,619) หรือประมาณร้อยละ 1.7 ของ GDP (กรอบเดิมที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 คือ ร้อยละ 2.6 ของ GDP)
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ในวงเงิน 262,855 ล้านบาท และมีวงเงินเบิกจ่ายได้ 209,585 ล้านบาท (ร้อยละ 79.7 ของวงเงินดำเนินการ) จากที่เสนอขออนุมัติงบลงทุนทั้งสิ้น 273,834 ล้านบาท โดยปรับลดการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงล่าสุด เช่า การลงทุนที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา การได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและความพร้อมของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ยอดอนุมัติเบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 28,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.52 ของ GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลกลางเท่ากับ 0.95 ทั้งนี้ วงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายในปี 2544 จำนวน 209,585 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้นจากวงเงินที่คาดว่าจะจ่ายจริงไนปี 2543 ประมาณ 2,966 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
โดยมีแหล่งที่มาของเงินลงทุนตามยอดเบิกจ่าย ดังนี้
ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 82,379 39.3
งบประมาณแผ่นดิน 14,867 7.1
เงินกู้ต่างประเทศ 63,807 30.4
เงินกู้ในประเทศ 43,528 20.8
อื่นๆ 5,004 2.4
รวม 209,585 100.0
อนึ่ง ในวงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายนั้น เป็นมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 60,570 ล้านบาทหรือร้อยละ 29.8 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.6 ของปีที่ผ่านมา และเป็นการลงทุนในภูมิภาค 87,568 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.8 ลดลงจากร้อยละ 44 ของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลงทุนรวมจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 1 แสนคน
สำหรับวงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายรวม 209,585 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ วงเงิน 56,840 ล้านบาท ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 87) เป็นการลงทุนในสาขาพลังงาน โทรคมนาคมและขนส่งที่สำคัญ
งบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ วงเงิน 152,745 ล้านบาท หรือร้อยละ 73 ของวงเงินอนุมัติจ่ายทั้งหมด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ 1) เพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจ 40,820 ล้านบาท 2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการส่งออก 33,576 ล้านบาท 3) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค 19,571 ล้านบาท 4) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 28,387 ล้านบาท
3. เนื่องจากมีรายการลงทุนที่อยู่ระหว่างขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอนและ/หรือผูกพันเพิ่มเติม ระหว่างปี จึงเห็นชอบให้ขยายกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 209,585 ล้านบาท เป็น 236,200 ล้านบาท หรือให้ขาดดุลที่ร้อยละ 1.0 ของ GDP ทั้งนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องขออนุมัติกรอบเบิกจ่ายจากคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับผิดชอบกำกับดูแลวงเงินเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และที่จะอนุมัติเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบการจ่ายลงทุนดังกล่าว แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกไตรมาสเช่นที่ผ่านมา
4. ให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1) ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการแปรรูป โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนภายในปีงบประมาณ 2544 นี้ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งหากการแปรรูปดังกล่าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะมีผลกระทบสำคัญต่อฐานะดุลงบประมาณของรัฐวิสาหกิจโดยรวม จึงเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างกระบวนการแปรรูปดังกล่าวเร่งรัดดำเนินการให้บรรลุผลโดยเร็ว ทั้งนี้ คาดว่าหากสามารถแปรรูปได้ตามเป้าหมายแล้ว จะส่งผลให้ภาระหนี้ของภาครัฐวิสาหกิจลดลง และรัฐวิสาหกิจจะมีความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้นด้วย
2) ในช่วงที่ผ่านมา การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาของประเทศยังขาดความสมดุล เนื่องจากมุ่งเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคม ในฐานะที่รัฐวิสาหกิจเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐ จึงควรมีบทบาทเสริมสร้างความสมดุลในการพัฒนาสังคมให้มากขึ้น
3) รัฐวิสาหกิจควรจัดสรรเงินงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเพื่อพัฒนากำลังคนนอกรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
4) ณ ขณะนี้ รัฐวิสาหกิจได้เข้าร่วมลงทุนกับเอกชนในกิจการต่าง ๆ รวมแล้วเป็นวงเงินจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้เห็นผลที่เกิดจากการร่วมทุน เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจประเมินผลที่ได้รับจากการร่วมทุนและจัดส่งให้สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5) ในอดีตที่ผ่านมาการขออนุมัติจัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กระจายอยู่ในหมวดต่าง ๆ ของงบขออนุมัติรายปี ซึ่งบางรายการรัฐวิสาหกิจไม่ได้เสนอรายละเอียดให้พิจารณา อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การจัดหาระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวของรัฐวิสาหกิจมีขนาดวงเงินเพิ่มสูงขึ้นมาก ตามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาการลงทุนจัดหาระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวมีความครอบคลุมรอบด้านอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องจัดทำ รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่สำนักงบประมาณกำหนด จึงเห็นควรให้การขออนุมัติการลงทุนจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจทั้งเพื่อการทดแทนและเพิ่มเติม ต้องจัดทำเป็นแผนระยะยาวที่มีรายละเอียดชัดเจน
6) โดยที่การจัดทำงบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจ เป็นการจัดทำล่วงหน้าหลายเดือนก่อนเริ่มปีงบประมาณ ทำให้งบลงทุนผูกพันมีความคลาดเคลื่อนจากยอดที่ปิดปัญชีจริง ดังนั้น เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการเร่งรัดดำเนินงานที่ตกค้างให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย จึงเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจประมวลการลงทุนที่จำเป็นต้องขอผูกพันเพิ่มเติม และเสนอขออนุมัติให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนั้น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-
1. งบประมาณทำการ
ประมาณการรายได้ 1,091,894 ล้านบาท
ประมาณการรายจ่าย 1,027,172 ล้านบาท
ประมาณการกำไรสุทธิ 64,722 ล้านบาท
2. งบประมาณลงทุน
งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ 93,614 ล้านบาท
งบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ 180,220 ล้านบาท
รวม 273,834 ล้านบาท
ประมาณจ่าย 219,887 ล้านบาท
หรือร้อยละ 80.3
3. การชำระหนี้ต้นเงินกู้ 107,812 ล้านบาท
4. เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income : RI)
รัฐวิสาหกิจ 48 แห่ง มี RI รวมทั้งสิ้น 181,259 ล้านบาท
นอกจากนี้ คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจได้พิจารณางบลงทุนของรัฐวิสาหกิจ โดยมีสาระสำคัญประกอบการพิจารณา แล้วมีมติ ดังนี้
1. คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบผลการดำเนินงานปี 2543 ของรัฐวิสาหกิจในไตรมาสที่สามของปี 2543 (จริง 9 เดือน) ซึ่งสรุปผลการดำเนินงานในภาพรวม ดังนี้
1.1 การดำเนินงานในปี 2543 ในภาพรวมจะมีผลกำไรสุทธิเพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 58,149 ล้านบาท เป็น 80,663 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นประมาณ 22,514 ล้านบาท) หรือร้อยละ 38.7 ทั้งนี้สาเหตุสำคัญเนื่องจากการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยมีกำไรจากการขายน้ำมันและก๊าซเพิ่มขึ้น 2,494 ล้านบาท เนื่องจากมียอดจำหน่ายสูงกว่าเดิมที่ประมาณบนสมมติฐานที่ว่าเศรษฐกิจจะหดตัว และรัฐวิสาหกิจบางแห่งมีรายได้จากกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนและเงินปันผลเพิ่มขึ้น เช่น การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (2,970 ล้านบาท) การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (1,300 ล้านบาท) การไฟฟ้านครหลวง (853 ล้านบาท และการทางพิเศษแห่งประเทศไทย (780 ล้านบาท) นอกจากนั้นบางรัฐวิสาหกิจสามารถลดรายจ่ายในการดำเนินงาน และดอกเบี้ยจ่าย ลงจากที่ประมาณไว้เดิมมาก ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (3,188 ล้านบาท) การสื่อสารแห่งประเทศไทย (2,300 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (2,000 ล้านบาท) และการไฟฟ้านครหลวง (1,003 ล้านบาท) เป็นต้น และบางรัฐวิสาหกิจมีผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลง ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนลดลงจากประมาณการเดิม 2,382 ล้านบาท
1.2 เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน จากผลการดำเนินงานคาดว่าจะมี RI เพิ่มขึ้นจากเป้าหมาย 106,862 ล้านบาท เป็น 122,609 ล้านบาท (เพิ่มขึ้นประมาณ 15,747 ล้านบาท) หรือร้อยละ 14.7 โดยมีสาเหตุสำคัญจากการที่รัฐวิสาหกิจมีกำไรสุทธิเพิ่มขึ้น ได้แก่ การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย (4,656 ล้านบาท) องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (2,208 ล้านบาท) และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (6,151 ล้านบาท) ประกอบกับการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยมีการชะลอเงินนำส่งรัฐจำนวน 1,361 ล้านบาท
1.3 การเบิกจ่ายลงทุน คาดว่าจะเบิกจ่ายได้ 206,619 ล้านบาท ต่ำกว่าเป้าหมายประมาณ 36,142 ล้านบาท หรือร้อยละ 14.9 ทั้งนี้ มีสาเหตุสำคัญเนื่องจากมีปัญหาล่าช้าในการดำเนินงานโครงการขนาดใหญ่หลายโครงการ จึงทำให้ไม่สามารถเบิกจ่ายได้ เช่น งานก่อสร้างอาคารผู้โดยสารของ บทม. และการปรับเลื่อนโครงการระบบส่งไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เป็นต้น
ทั้งนี้ ผลจากการเบิกจ่ายลงทุนดังกล่าว ทำให้รัฐวิสาหกิจโดยรวมมีฐานะขาดดุล จำนวน 84,010 ล้านบาท (122,609-206,619) หรือประมาณร้อยละ 1.7 ของ GDP (กรอบเดิมที่ได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2543 คือ ร้อยละ 2.6 ของ GDP)
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจดำเนินการลงทุนได้ในวงเงิน 262,855 ล้านบาท และมีวงเงินเบิกจ่ายได้ 209,585 ล้านบาท (ร้อยละ 79.7 ของวงเงินดำเนินการ) จากที่เสนอขออนุมัติงบลงทุนทั้งสิ้น 273,834 ล้านบาท โดยปรับลดการลงทุนให้สอดคล้องกับข้อเท็จจริงล่าสุด เช่า การลงทุนที่อยู่ระหว่างขั้นตอนการพิจารณา การได้รับจัดสรรงบประมาณแผ่นดินและความพร้อมของรัฐวิสาหกิจ เป็นต้น ยอดอนุมัติเบิกจ่ายดังกล่าวจะทำให้ฐานะโดยรวมของรัฐวิสาหกิจขาดดุล 28,325 ล้านบาท หรือร้อยละ 0.52 ของ GDP โดยมีสัดส่วนการจ่ายลงทุนของรัฐวิสาหกิจต่อรัฐบาลกลางเท่ากับ 0.95 ทั้งนี้ วงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายในปี 2544 จำนวน 209,585 ล้านบาทนั้น เพิ่มขึ้นจากวงเงินที่คาดว่าจะจ่ายจริงไนปี 2543 ประมาณ 2,966 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.4
โดยมีแหล่งที่มาของเงินลงทุนตามยอดเบิกจ่าย ดังนี้
ล้านบาท ร้อยละ
เงินรายได้ 82,379 39.3
งบประมาณแผ่นดิน 14,867 7.1
เงินกู้ต่างประเทศ 63,807 30.4
เงินกู้ในประเทศ 43,528 20.8
อื่นๆ 5,004 2.4
รวม 209,585 100.0
อนึ่ง ในวงเงินที่อนุมัติให้เบิกจ่ายนั้น เป็นมูลค่าการนำเข้าจากต่างประเทศ (Import Content) ประมาณ 60,570 ล้านบาทหรือร้อยละ 29.8 ของวงเงินรวม เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 27.6 ของปีที่ผ่านมา และเป็นการลงทุนในภูมิภาค 87,568 ล้านบาท หรือร้อยละ 41.8 ลดลงจากร้อยละ 44 ของปีที่ผ่านมา ทั้งนี้ การลงทุนรวมจะก่อให้เกิดการจ้างงาน ประมาณ 1 แสนคน
สำหรับวงเงินลงทุนที่เบิกจ่ายรวม 209,585 ล้านบาทนั้น ประกอบด้วยสาระสำคัญ ดังนี้
งบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ วงเงิน 56,840 ล้านบาท ส่วนใหญ่ (ประมาณร้อยละ 87) เป็นการลงทุนในสาขาพลังงาน โทรคมนาคมและขนส่งที่สำคัญ
งบลงทุนที่ทำเป็นโครงการ วงเงิน 152,745 ล้านบาท หรือร้อยละ 73 ของวงเงินอนุมัติจ่ายทั้งหมด เพื่อสนองวัตถุประสงค์ในการพัฒนาตามแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 และนโยบายของรัฐบาล ดังนี้ 1) เพิ่มสมรรถนะทางเศรษฐกิจ 40,820 ล้านบาท 2) เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันและสนับสนุนการส่งออก 33,576 ล้านบาท 3) เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตและกระจายความเจริญไปสู่ภูมิภาค 19,571 ล้านบาท 4) เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 28,387 ล้านบาท
3. เนื่องจากมีรายการลงทุนที่อยู่ระหว่างขออนุมัติดำเนินการตามขั้นตอนและ/หรือผูกพันเพิ่มเติม ระหว่างปี จึงเห็นชอบให้ขยายกรอบวงเงินเบิกจ่ายลงทุนเพิ่มขึ้นจาก 209,585 ล้านบาท เป็น 236,200 ล้านบาท หรือให้ขาดดุลที่ร้อยละ 1.0 ของ GDP ทั้งนี้ เพื่อจะได้ไม่ต้องขออนุมัติกรอบเบิกจ่ายจากคณะรัฐมนตรีทุกครั้ง โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับผิดชอบกำกับดูแลวงเงินเบิกจ่ายของรัฐวิสาหกิจทั้งในส่วนที่ได้รับอนุมัติแล้ว และที่จะอนุมัติเพิ่มเติมให้สอดคล้องกับกรอบการจ่ายลงทุนดังกล่าว แล้วรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบทุกไตรมาสเช่นที่ผ่านมา
4. ให้ความเห็นชอบข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
1) ขณะนี้มีรัฐวิสาหกิจหลายแห่งอยู่ระหว่างดำเนินการแปรรูป โดยมีเป้าหมายที่ชัดเจนภายในปีงบประมาณ 2544 นี้ เช่น การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย และการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นต้น ซึ่งหากการแปรรูปดังกล่าวไม่เป็นไปตามเป้าหมายแล้ว จะมีผลกระทบสำคัญต่อฐานะดุลงบประมาณของรัฐวิสาหกิจโดยรวม จึงเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจที่อยู่ระหว่างกระบวนการแปรรูปดังกล่าวเร่งรัดดำเนินการให้บรรลุผลโดยเร็ว ทั้งนี้ คาดว่าหากสามารถแปรรูปได้ตามเป้าหมายแล้ว จะส่งผลให้ภาระหนี้ของภาครัฐวิสาหกิจลดลง และรัฐวิสาหกิจจะมีความสามารถในการชำระหนี้ดีขึ้นด้วย
2) ในช่วงที่ผ่านมา การจัดสรรเงินลงทุนเพื่อการพัฒนาของประเทศยังขาดความสมดุล เนื่องจากมุ่งเรื่องเศรษฐกิจมากกว่าการพัฒนาสังคม ในฐานะที่รัฐวิสาหกิจเป็นส่วนหนึ่งของหน่วยงานรัฐ จึงควรมีบทบาทเสริมสร้างความสมดุลในการพัฒนาสังคมให้มากขึ้น
3) รัฐวิสาหกิจควรจัดสรรเงินงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อใช้ในการสนับสนุนการวิจัยและการพัฒนาเพื่อพัฒนากำลังคนนอกรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี
4) ณ ขณะนี้ รัฐวิสาหกิจได้เข้าร่วมลงทุนกับเอกชนในกิจการต่าง ๆ รวมแล้วเป็นวงเงินจำนวนมาก ดังนั้น เพื่อให้เห็นผลที่เกิดจากการร่วมทุน เห็นควรให้รัฐวิสาหกิจประเมินผลที่ได้รับจากการร่วมทุนและจัดส่งให้สำนักงาน คณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เพื่อรายงานให้คณะรัฐมนตรีทราบต่อไป
5) ในอดีตที่ผ่านมาการขออนุมัติจัดซื้อจัดหาคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์กระจายอยู่ในหมวดต่าง ๆ ของงบขออนุมัติรายปี ซึ่งบางรายการรัฐวิสาหกิจไม่ได้เสนอรายละเอียดให้พิจารณา อย่างไรก็ตาม ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา การจัดหาระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวของรัฐวิสาหกิจมีขนาดวงเงินเพิ่มสูงขึ้นมาก ตามแนวโน้มการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ (IT) ดังนั้น เพื่อให้การพิจารณาการลงทุนจัดหาระบบและอุปกรณ์ดังกล่าวมีความครอบคลุมรอบด้านอย่างเป็นระบบ และสอดคล้องกับแผนแม่บทเทคโนโลยีสารสนเทศที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้รัฐวิสาหกิจทุกแห่งต้องจัดทำ รวมทั้งสอดคล้องกับแนวทางปฏิบัติในการจัดหาระบบคอมพิวเตอร์ที่สำนักงบประมาณกำหนด จึงเห็นควรให้การขออนุมัติการลงทุนจัดหาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของรัฐวิสาหกิจทั้งเพื่อการทดแทนและเพิ่มเติม ต้องจัดทำเป็นแผนระยะยาวที่มีรายละเอียดชัดเจน
6) โดยที่การจัดทำงบประมาณประจำปีของรัฐวิสาหกิจ เป็นการจัดทำล่วงหน้าหลายเดือนก่อนเริ่มปีงบประมาณ ทำให้งบลงทุนผูกพันมีความคลาดเคลื่อนจากยอดที่ปิดปัญชีจริง ดังนั้น เพื่อให้รัฐวิสาหกิจสามารถดำเนินการลงทุนได้อย่างต่อเนื่องและเป็นการเร่งรัดดำเนินงานที่ตกค้างให้มีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้นด้วย จึงเห็นควรให้รัฐวิสาหกิจประมวลการลงทุนที่จำเป็นต้องขอผูกพันเพิ่มเติม และเสนอขออนุมัติให้เสร็จสิ้นภายในไตรมาสแรกของปีงบประมาณนั้น ๆ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 ก.ย. 2543--
-ยก-