คณะรัฐมนตรีพิจารณาการขอสิทธิกำลังพลให้เจ้าหน้าที่ทหารไทยเข้าร่วมปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก ตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 1 ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานกรรมการฯ ดังนี้
1. กรณีเจ้าหน้าที่ทหารไทยที่เข้าร่วมในการปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก ช่วงที่ 3ภายใต้ชื่อ UNTAET
1.1 ให้ถือว่าเป็นผู้ซึ่งไปปฏิบัติราชการพิเศษ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นการปฏิบัติหน้าที่ใน"เวลาเหตุฉุกเฉิน" ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลามีเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2498
1.2 ให้ได้รับสิทธิกำลังพลตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494
1.3 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสิทธิกำลังพลกรณีพิเศษ โดยกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้แต่งตั้งให้พิจารณาการได้รับสิทธิกำลังพลในข้อ 1.2
2. กรณีนายทหารสังเกตการณ์ 5 นาย ที่เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเซียร่าลีโอน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
2.1 ให้ถือว่าเป็นผู้ซึ่งไปปฏิบัติราชการพิเศษ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นการปฏิบัติหน้าที่ใน"เวลาเหตุฉุกเฉิน" ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2542 ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 158/42ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2542 เรื่องให้ข้าราชการเดินทางไปต่างประเทศ
2.2 ให้ได้รับสิทธิกำลังพล ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีให้นำข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลังเรื่องให้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดให้ชัดเจน และให้คำนึงผลกระทบด้านงบประมาณระยะยาวของประเทศไปประกอบการดำเนินการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-
1. กรณีเจ้าหน้าที่ทหารไทยที่เข้าร่วมในการปฏิบัติการของสหประชาชาติในติมอร์ตะวันออก ช่วงที่ 3ภายใต้ชื่อ UNTAET
1.1 ให้ถือว่าเป็นผู้ซึ่งไปปฏิบัติราชการพิเศษ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นการปฏิบัติหน้าที่ใน"เวลาเหตุฉุกเฉิน" ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลามีเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2498
1.2 ให้ได้รับสิทธิกำลังพลตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม รวมทั้งนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494
1.3 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการพิจารณาสิทธิกำลังพลกรณีพิเศษ โดยกองบัญชาการทหารสูงสุดเป็นผู้แต่งตั้งให้พิจารณาการได้รับสิทธิกำลังพลในข้อ 1.2
2. กรณีนายทหารสังเกตการณ์ 5 นาย ที่เข้าร่วมปฏิบัติการรักษาสันติภาพของสหประชาชาติในเซียร่าลีโอน ให้ได้รับสิทธิประโยชน์ ดังนี้
2.1 ให้ถือว่าเป็นผู้ซึ่งไปปฏิบัติราชการพิเศษ ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดเป็นการปฏิบัติหน้าที่ใน"เวลาเหตุฉุกเฉิน" ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และเป็นผู้ซึ่งกระทำหน้าที่ตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนด ตามมาตรา 24 แห่งพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 31 ตุลาคม 2542 ตามคำสั่งกระทรวงกลาโหม (เฉพาะ) ที่ 158/42ลงวันที่ 27 ตุลาคม 2542 เรื่องให้ข้าราชการเดินทางไปต่างประเทศ
2.2 ให้ได้รับสิทธิกำลังพล ตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยการพิจารณาบำเหน็จพิเศษในเวลาเหตุฉุกเฉิน พ.ศ. 2529 และที่แก้ไขเพิ่มเติม และนับเวลาราชการเป็นทวีคูณตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการพ.ศ. 2494
ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีให้นำข้อสังเกตของกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงการคลังเรื่องให้กำหนดระยะเวลาเริ่มต้นและสิ้นสุดให้ชัดเจน และให้คำนึงผลกระทบด้านงบประมาณระยะยาวของประเทศไปประกอบการดำเนินการด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 30 ต.ค. 44--
-สส-