การใช้จ่ายเงินในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการทำสัญญาจ้างและการจ้างให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการใช้จ่ายเงินในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการทำสัญญาจ้างและการจ้างให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างระบบประกันสุขภาพในอนาคต ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. เงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สำหรับใช้ในการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะแรก ในพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 399,757,000 บาท กระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรเงินให้จังหวัดตามจำนวนผู้มีสิทธิจำนวนทั้งสิ้น 321,844,322 บาท ส่วนเงินที่เหลืออีกจำนวน 77,912,678 บาท ให้สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาระบบงานประกันสุขภาพในภาพรวมของประเทศตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลได้
2. เงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สำหรับใช้ในการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะที่สองในพื้นที่ 15 จังหวัด จำนวน 1,510,266,600 บาท กระทรวงสาธารณสุขมีแผนการใช้จ่ายเงินเป็นค่าบริการทางการแพทย์แก่หน่วยบริการจำนวนทั้งสิ้น 1,405,076,934 บาท โดยแบ่งจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 1,011,660,449 บาท และจ่ายจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 393,416,485 บาท ส่วนงบประมาณที่เหลือขอนำไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการสร้างระบบประกัน สุขภาพในภาพรวมของประเทศ โดยจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 88,339,551 บาท และงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 16,850,115 บาท
3. การเบิกจ่ายเงินตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณและสามารถขยายเวลาในการดำนินการได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
4. รายการค่าครุภัณฑ์และที่ดินสิ่งก่อสร้าง ให้ขยายเวลาในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ได้เป็นกรณีพิเศษ
5. เนื่องจากงบประมาณ พ.ศ. 2544 ที่ขออนุมัติสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินการโครงสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คาดว่าจะได้รับอนุมัติหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนตามโครงการฯ จะมีหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน จึงทำให้มีปัญหาในการทำสัญญาจ้างให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการเอกชน และการทำข้อตกลงให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการของภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการต้องเริ่มให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป ดังนั้น จึงขอให้
5.1 สัญญาจ้างให้การบริการทางการแพทย์และข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีผลผูกพันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
5.2 การจ้างหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่กระทาวงสาธารณสุขกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการใช้จ่ายเงินในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า และการทำสัญญาจ้างและการจ้างให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการในโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า เพื่อให้การดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพบรรลุวัตถุประสงค์ สอดคล้องกับนโยบายรัฐบาล และเป็นรากฐานที่สำคัญในการสร้างระบบประกันสุขภาพในอนาคต ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. เงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สำหรับใช้ในการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะแรก ในพื้นที่ 6 จังหวัด จำนวน 399,757,000 บาท กระทรวงสาธารณสุขจะจัดสรรเงินให้จังหวัดตามจำนวนผู้มีสิทธิจำนวนทั้งสิ้น 321,844,322 บาท ส่วนเงินที่เหลืออีกจำนวน 77,912,678 บาท ให้สามารถนำไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาระบบงานประกันสุขภาพในภาพรวมของประเทศตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาลได้
2. เงินงบประมาณที่ได้รับอนุมัติ สำหรับใช้ในการดำเนินงานโครงการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าระยะที่สองในพื้นที่ 15 จังหวัด จำนวน 1,510,266,600 บาท กระทรวงสาธารณสุขมีแผนการใช้จ่ายเงินเป็นค่าบริการทางการแพทย์แก่หน่วยบริการจำนวนทั้งสิ้น 1,405,076,934 บาท โดยแบ่งจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 1,011,660,449 บาท และจ่ายจากเงินงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 393,416,485 บาท ส่วนงบประมาณที่เหลือขอนำไปใช้จ่ายเพื่อพัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศ การพัฒนาบุคลากร การเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จำเป็นในการสร้างระบบประกัน สุขภาพในภาพรวมของประเทศ โดยจ่ายจากเงินทุนหมุนเวียนบัตรประกันสุขภาพ จำนวน 88,339,551 บาท และงบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น จำนวน 16,850,115 บาท
3. การเบิกจ่ายเงินตามข้อ 1 และข้อ 2 ให้สามารถเบิกจ่ายได้ตั้งแต่วันที่ได้รับการอนุมัติงบประมาณและสามารถขยายเวลาในการดำนินการได้จนถึงสิ้นปีงบประมาณ พ.ศ. 2545
4. รายการค่าครุภัณฑ์และที่ดินสิ่งก่อสร้าง ให้ขยายเวลาในการขอกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ผูกพันปีงบประมาณ พ.ศ. 2544 ได้เป็นกรณีพิเศษ
5. เนื่องจากงบประมาณ พ.ศ. 2544 ที่ขออนุมัติสำหรับใช้จ่ายในการดำเนินการโครงสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คาดว่าจะได้รับอนุมัติหลังวันที่ 1 ตุลาคม 2544 ซึ่งในการให้บริการทางการแพทย์และสาธารณสุขแก่ประชาชนตามโครงการฯ จะมีหน่วยบริการทั้งภาครัฐและเอกชน จึงทำให้มีปัญหาในการทำสัญญาจ้างให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการเอกชน และการทำข้อตกลงให้การบริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการของภาครัฐนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการต้องเริ่มให้บริการแก่ผู้มีสิทธิ ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป ดังนั้น จึงขอให้
5.1 สัญญาจ้างให้การบริการทางการแพทย์และข้อตกลงการให้บริการทางการแพทย์กับหน่วยบริการนอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้มีผลผูกพันตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2544 เป็นต้นไป
5.2 การจ้างหน่วยบริการที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้เป็นไปตามที่กระทาวงสาธารณสุขกำหนด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-