ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คำวินิจฉัยที่ 22/2543 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ซึ่งวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. …. ไม่ขัดแย้งหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ขณะที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 382 คน และสมาชิกวุฒิสภา 250 คน รวม 632 คน ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภา 65 คน จึงเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว เมื่อสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา และประธานวุฒิสภาส่งความเห็นนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 262 วรรคหนึ่ง (1) ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัยได้
2. แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคหนึ่ง มีข้อความห้ามรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แต่ก็มีข้อความว่า "ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ" เป็นข้อยกเว้นที่อนุญาตให้รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นต่อไปได้ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น เมื่อร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ …. บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งหมายความว่า รัฐมนตรีจะเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นได้เท่าใดแล้ว ส่วนจำนวนที่เกินนั้น หากประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ต่อไป มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ และต้องโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น และที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว" จึงเป็นบทบัญญัติที่สนับสนุนหลักการตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคหนึ่ง ว่า รัฐมนตรีย่อมเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปได้ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และเป็นการสอดคล้องกับหลักการที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรรมนูญ มาตรา 209 ที่ไม่ให้รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นจำนวนมากของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจนทำให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นในเวลาเดียวกับที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีให้เป็นไปโดยไม่เกิดการขัดกันของผลประโยชน์
3. การที่มาตรา 216 (6) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นั้น ใช้ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้นั้นเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ หรือเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ตนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่ซึ่งเป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
4. อาศัยเหตุผลตามข้อ 2 และข้อ 3 ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. …. มาตรา 5 ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คำวินิจฉัยที่ 22/2543 ลงวันที่ 23 พฤษภาคม 2543 ซึ่งวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. …. ไม่ขัดแย้งหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
ทั้งนี้ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ขณะที่ประธานวุฒิสภาส่งความเห็นของสมาชิกวุฒิสภาให้ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อวินิจฉัยนั้น มีสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 382 คน และสมาชิกวุฒิสภา 250 คน รวม 632 คน ดังนั้น สมาชิกวุฒิสภา 65 คน จึงเป็นจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภาแล้ว เมื่อสมาชิกวุฒิสภาดังกล่าวเสนอความเห็นต่อประธานวุฒิสภา และประธานวุฒิสภาส่งความเห็นนั้นให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย กรณีเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 262 วรรคหนึ่ง (1) ศาลรัฐธรรมนูญจึงมีอำนาจรับคำร้องนี้ไว้วินิจฉัยได้
2. แม้รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคหนึ่ง มีข้อความห้ามรัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทหรือไม่คงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท แต่ก็มีข้อความว่า "ทั้งนี้ ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ" เป็นข้อยกเว้นที่อนุญาตให้รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นต่อไปได้ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ ดังนั้น เมื่อร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ …. บัญญัติไว้ในมาตรา 4 ซึ่งหมายความว่า รัฐมนตรีจะเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นได้เท่าใดแล้ว ส่วนจำนวนที่เกินนั้น หากประสงค์จะได้รับประโยชน์จากการเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในส่วนที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ต่อไป มาตรา 5 ให้รัฐมนตรีผู้นั้นแจ้งเป็นหนังสือให้ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติทราบ และต้องโอนหุ้นส่วนหรือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทในส่วนที่เกินจำนวนที่กฎหมายกำหนดไว้ให้นิติบุคคลซึ่งจัดการทรัพย์สินเพื่อประโยชน์ของผู้อื่น และที่รัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคสอง บัญญัติว่า "ห้ามมิให้รัฐมนตรีผู้นั้นกระทำการใดอันมีลักษณะเป็นการเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทดังกล่าว" จึงเป็นบทบัญญัติที่สนับสนุนหลักการตามความหมายของรัฐธรรมนูญ มาตรา 209 วรรคหนึ่ง ว่า รัฐมนตรีย่อมเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัท หรือคงไว้ซึ่งความเป็นหุ้นส่วนหรือผู้ถือหุ้นในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทต่อไปได้ตามจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ อีกทั้งเป็นการสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ มาตรา 48 วรรคหนึ่งที่บัญญัติว่า สิทธิของบุคคลในทรัพย์สินย่อมได้รับความคุ้มครอง ขอบเขตแห่งสิทธิและการจำกัดสิทธิเช่นว่านี้ ย่อมเป็นไปตามที่กฎหมายบัญญัติ และเป็นการสอดคล้องกับหลักการที่ว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการประกอบกิจการหรือประกอบอาชีพตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 50 ซึ่งเป็นไปตามรัฐธรรรมนูญ มาตรา 209 ที่ไม่ให้รัฐมนตรีเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นจำนวนมากของห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทจนทำให้เป็นผู้มีอำนาจจัดการห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทนั้นในเวลาเดียวกับที่ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรี ทั้งนี้ เพื่อเป็นหลักประกันในการปฏิบัติหน้าที่ของรัฐมนตรีให้เป็นไปโดยไม่เกิดการขัดกันของผลประโยชน์
3. การที่มาตรา 216 (6) บัญญัติให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวเมื่อกระทำการอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209 นั้น ใช้ในกรณีที่รัฐมนตรีผู้นั้นเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นเกินจำนวนที่กฎหมายบัญญัติ หรือเข้าไปบริหารหรือจัดการใด ๆ ในส่วนที่เกี่ยวกับหุ้นหรือกิจการในห้างหุ้นส่วนหรือบริษัทที่ตนเป็นหุ้นส่วนหรือถือหุ้นอยู่ซึ่งเป็นการกระทำอันต้องห้ามตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
4. อาศัยเหตุผลตามข้อ 2 และข้อ 3 ศาลรัฐธรรมนูญจึงวินิจฉัยว่าร่างพระราชบัญญัติการจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี พ.ศ. …. มาตรา 5 ไม่มีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 209
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-