ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การปรับปรุงแนวทางการดำเนินการโครงการประกันภัยพืชผล ให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วิธีการชักจูงให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลโดยสมัครใจอย่างครบถ้วน
1.1 การโฆษณา (Advertising) ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ และความเข้าใจในระบบการประกันภัยพืชผลว่า เป็นหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตรเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น เกษตรกรจะได้รับการชดเชยทุนทรัพย์ที่ใช้จ่ายลงไปในพื้นที่เพาะปลูก และความรวดเร็วในการที่จะได้รับเงินชดเชยจากการประกันภัยพืชผล ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถนำไปลงทุนเพาะปลูกใหม่ได้ทันทีและเพียงพอ
1.2 การสร้างสิ่งจูงใจ (Motivation) เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงคุณค่าของกรมธรรม์ประกันภัยพืชผล ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สำคัญให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลโดยสมัครใจอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยพืชผลมาเป็นหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการผลิต เนื่องจากรมธรรม์มีสภาพคล่องกว่าหลักประกันประเภทบุคคลหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และยังเป็นการลดความเสี่ยงของธนาคารที่ให้สินเชื่อทางการเกษตร จึงสามารถขอความร่วมมือจาก ธ.ก.ส. หรือธนาคารพาณิชย์ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษสำหรับเกษตรกรที่ทำการประกันภัยพืชผล
1.3 การใช้ผลการดำเนินงานการประกันภัยพืชผล เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผล การดำเนินการประกันภัยพืชผลในระยะแรก จะให้ความคุ้มครองการเพาะปลูกพืชรวม 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่ง ธ.ก.ส. ประมาณการว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการร้อยละ 50 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชคุ้มครองทั้งประเทศ คิดเป็นครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 2.25 ล้านครัวเรือน โดยกลุ่มเป้าหมายจำแนกได้ ดังนี้
1) เกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. เพื่อการผลิตพืชคุ้มครอง
2) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรทั่วไป
3) เกษตรกรทั่วไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. มีความเขื่อมั่นว่า เกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะสมัครใจเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลตั้งแต่เริ่มแรก เพราะ ธ.ก.ส. จะให้สิทธิพิเศษในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรที่ทำประกันภัยพืชผล เช่น เพิ่มวงเงินให้สินเชื่อในส่วนที่ ธ.ก.ส. จำกัดความเสี่ยงไว้สำหรับสินเชื่อเดิมที่ไม่ได้ทำประกันภัยพืชผล ลดขั้นตอนการอนุมัติการให้สินเชื่อให้รวดเร็วขึ้น และผ่อนปรนการใช้หลักประกัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และวงเงินคุ้มครองที่เกษตรกรผู้ร่วมโครงการได้รับ จะมีความคุ้มค่ามากกว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่เกษตรกรจ่าย การสร้างแรงจูงใจเหล่านี้จะทำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรทั่วไปเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ขั้นตอนการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่ชัดเจนและสะดวก รวมทั้งการจ่ายเงินชดเชยที่รวดเร็วภายในเวลาที่กำหนด และจำนวนเงินคุ้มครองที่สูงเพียงพอให้กับเกษตรกรที่ประสบภัย จะเป็นประจักษ์พยานที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี
2. การขยายประเภทพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญให้อยู่ในระบบประกันภัย เช่น มันสำปะหลัง นั้น เห็นว่าในระยะแรกกองทุนฯ ควรให้ความคุ้มครองพืชรวม 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปก่อน เมื่อดำเนินการจนมีประสบการณ์เพียงพอแล้ว จึงจะขยายความคุ้มครองไปยังพืชประเภทอื่นต่อไป สำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลังจะเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อยมาก ปัญหาที่ประสบส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาทางด้านการตลาด
3. การกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับระเบียบเดิม เมื่อปรับโครงสร้างการให้ความคุ้มครองดังกล่าวแล้ว วงเงินคุ้มครอง อัตราเงินนำเข้ากองทุน และวงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะเป็น ดังนี้วงเงินคุ้มครองและอัตราเงินนำเข้ากองทุน
3.1 วงเงินคุ้มครอง สูงสุดไม่เกินค่าใช้จ่ายมาตรฐานกลาง คือ ข้าวนาปี จำนวน 800 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 1,000 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 900 บาทต่อไร่
3.2 อัตราเงินนำเข้ากองทุน ข้าวนาปี จำนวน 49 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 20 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 49 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรและรัฐบาลจ่ายสมทบฝ่ายละเท่ากัน คือ ข้าวนาปี 24.50 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง 10 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 24.50 บาทต่อไร่ เป็นเงินนำเข้ากองทุนจากเกษตรกร จำนวน 828.40 ล้านบาท และจากรัฐบาล จำนวน 828.40 ล้านบาท รวมเป็นเงินนำเข้ากองทุนทั้งสิ้น จำนวน 1,656.80 ล้านบาท (คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกพืชคุ้มครองเข้าร่วมโครงการคิดเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด)
3.3 วงเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินงานกองทุนฯ เป็นประจำทุกปี โดยในปีแรกที่เริ่มดำเนินการจะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 1,268.58 ล้านบาท ดังนี้
1) เงินสมทบอัตราเงินนำเข้ากองทุน จำนวน 828.40 ล้านบาท (คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกพืชคุ้มครองเข้าร่วมโครงการคิดเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด)
2) เงินสำรองสำหรับมหันตภัย (Catastrophe Reserve) จำนวน 248.52 ล้านบาท (ถ้าหากปีใดไม่เกิดมหันตภัย เงินในส่วนนี้จะยังคงอยู่ในกองทุนฯ)
3) เงินสนับสนุนค่าเบื้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกันภัยเอกชน จำนวน 191.66 ล้านบาท (ในปีต่อไปค่าเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับการต่อรองกับบริษัทประภัยภัย)
4. การทบทวนหลักการชดเชยความเสียหายแก่พืชผลอันเนื่องจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐมีส่วนทำให้เกิดขึ้น เห็นสมควรให้พืชผลการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้รับการชดเชยความเสียหายจากกองทุน เนื่องจากการเกิดความเสียหายดังกล่าว มิได้เกิดจากการกระทำของเกษตรกร แต่เป็นผลจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ทำให้พืชผลเสียหาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจให้ความเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ การปรับปรุงแนวทางการดำเนินการโครงการประกันภัยพืชผล ให้มีความสมบูรณ์และชัดเจนมากยิ่งขึ้น ซึ่งสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. วิธีการชักจูงให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลโดยสมัครใจอย่างครบถ้วน
1.1 การโฆษณา (Advertising) ผ่านสื่อต่าง ๆ เพื่อให้เกษตรกรได้รับความรู้ และความเข้าใจในระบบการประกันภัยพืชผลว่า เป็นหลักประกันความมั่นคงในการประกอบอาชีพการเกษตรเมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น เกษตรกรจะได้รับการชดเชยทุนทรัพย์ที่ใช้จ่ายลงไปในพื้นที่เพาะปลูก และความรวดเร็วในการที่จะได้รับเงินชดเชยจากการประกันภัยพืชผล ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถนำไปลงทุนเพาะปลูกใหม่ได้ทันทีและเพียงพอ
1.2 การสร้างสิ่งจูงใจ (Motivation) เพื่อให้เกษตรกรเห็นถึงคุณค่าของกรมธรรม์ประกันภัยพืชผล ซึ่งเป็นการสร้างแรงจูงใจที่สำคัญให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลโดยสมัครใจอย่างแท้จริง กล่าวคือ เกษตรกรสามารถนำกรมธรรม์ประกันภัยพืชผลมาเป็นหลักทรัพย์ในการกู้ยืมเงินเพื่อการผลิต เนื่องจากรมธรรม์มีสภาพคล่องกว่าหลักประกันประเภทบุคคลหรือเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และยังเป็นการลดความเสี่ยงของธนาคารที่ให้สินเชื่อทางการเกษตร จึงสามารถขอความร่วมมือจาก ธ.ก.ส. หรือธนาคารพาณิชย์ในการกำหนดอัตราดอกเบี้ยต่ำเป็นพิเศษสำหรับเกษตรกรที่ทำการประกันภัยพืชผล
1.3 การใช้ผลการดำเนินงานการประกันภัยพืชผล เป็นแรงจูงใจให้เกษตรกรเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผล การดำเนินการประกันภัยพืชผลในระยะแรก จะให้ความคุ้มครองการเพาะปลูกพืชรวม 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ซึ่ง ธ.ก.ส. ประมาณการว่าจะมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการร้อยละ 50 ของพื้นที่เพาะปลูกพืชคุ้มครองทั้งประเทศ คิดเป็นครัวเรือนเกษตรกรประมาณ 2.25 ล้านครัวเรือน โดยกลุ่มเป้าหมายจำแนกได้ ดังนี้
1) เกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อจาก ธ.ก.ส. เพื่อการผลิตพืชคุ้มครอง
2) เกษตรกรที่เป็นสมาชิกของสถาบันเกษตรกรทั่วไป
3) เกษตรกรทั่วไป
ทั้งนี้ ธ.ก.ส. มีความเขื่อมั่นว่า เกษตรกรที่ใช้บริการสินเชื่อของ ธ.ก.ส. จะสมัครใจเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลตั้งแต่เริ่มแรก เพราะ ธ.ก.ส. จะให้สิทธิพิเศษในการให้สินเชื่อแก่เกษตรกรที่ทำประกันภัยพืชผล เช่น เพิ่มวงเงินให้สินเชื่อในส่วนที่ ธ.ก.ส. จำกัดความเสี่ยงไว้สำหรับสินเชื่อเดิมที่ไม่ได้ทำประกันภัยพืชผล ลดขั้นตอนการอนุมัติการให้สินเชื่อให้รวดเร็วขึ้น และผ่อนปรนการใช้หลักประกัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบสิทธิประโยชน์และวงเงินคุ้มครองที่เกษตรกรผู้ร่วมโครงการได้รับ จะมีความคุ้มค่ามากกว่าค่าเบี้ยประกันภัยที่เกษตรกรจ่าย การสร้างแรงจูงใจเหล่านี้จะทำให้เกษตรกรที่เป็นสมาชิกสถาบันเกษตรกรทั่วไป และเกษตรกรทั่วไปเข้าสู่ระบบการประกันภัยพืชผลเพิ่มมากขึ้น
นอกจากนี้ เมื่อเกิดภัยธรรมชาติขึ้น ขั้นตอนการเรียกร้องค่าชดเชยความเสียหายที่ชัดเจนและสะดวก รวมทั้งการจ่ายเงินชดเชยที่รวดเร็วภายในเวลาที่กำหนด และจำนวนเงินคุ้มครองที่สูงเพียงพอให้กับเกษตรกรที่ประสบภัย จะเป็นประจักษ์พยานที่เสริมสร้างความเชื่อมั่นให้กับเกษตรกรที่ร่วมโครงการได้เป็นอย่างดี
2. การขยายประเภทพืชชนิดอื่น ๆ ที่สำคัญให้อยู่ในระบบประกันภัย เช่น มันสำปะหลัง นั้น เห็นว่าในระยะแรกกองทุนฯ ควรให้ความคุ้มครองพืชรวม 3 ชนิด คือ ข้าวนาปี ข้าวนาปรัง และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นโครงการนำร่องไปก่อน เมื่อดำเนินการจนมีประสบการณ์เพียงพอแล้ว จึงจะขยายความคุ้มครองไปยังพืชประเภทอื่นต่อไป สำหรับการเพาะปลูกมันสำปะหลังจะเกิดความเสียหายจากภัยธรรมชาติน้อยมาก ปัญหาที่ประสบส่วนใหญ่จะเป็นปัญหาทางด้านการตลาด
3. การกำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือเกษตรกร เพื่อไม่ให้เกิดความซ้ำซ้อนกับระเบียบเดิม เมื่อปรับโครงสร้างการให้ความคุ้มครองดังกล่าวแล้ว วงเงินคุ้มครอง อัตราเงินนำเข้ากองทุน และวงเงินอุดหนุนจากรัฐบาลจะเป็น ดังนี้วงเงินคุ้มครองและอัตราเงินนำเข้ากองทุน
3.1 วงเงินคุ้มครอง สูงสุดไม่เกินค่าใช้จ่ายมาตรฐานกลาง คือ ข้าวนาปี จำนวน 800 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 1,000 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 900 บาทต่อไร่
3.2 อัตราเงินนำเข้ากองทุน ข้าวนาปี จำนวน 49 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง จำนวน 20 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ จำนวน 49 บาทต่อไร่ โดยเกษตรกรและรัฐบาลจ่ายสมทบฝ่ายละเท่ากัน คือ ข้าวนาปี 24.50 บาทต่อไร่ ข้าวนาปรัง 10 บาทต่อไร่ และข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ 24.50 บาทต่อไร่ เป็นเงินนำเข้ากองทุนจากเกษตรกร จำนวน 828.40 ล้านบาท และจากรัฐบาล จำนวน 828.40 ล้านบาท รวมเป็นเงินนำเข้ากองทุนทั้งสิ้น จำนวน 1,656.80 ล้านบาท (คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกพืชคุ้มครองเข้าร่วมโครงการคิดเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด)
3.3 วงเงินอุดหนุนจากรัฐบาล ให้สำนักงบประมาณพิจารณาจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีสำหรับการดำเนินงานกองทุนฯ เป็นประจำทุกปี โดยในปีแรกที่เริ่มดำเนินการจะขอรับการจัดสรรเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปี จำนวน 1,268.58 ล้านบาท ดังนี้
1) เงินสมทบอัตราเงินนำเข้ากองทุน จำนวน 828.40 ล้านบาท (คาดว่าจะมีเกษตรกรที่ปลูกพืชคุ้มครองเข้าร่วมโครงการคิดเป็นพื้นที่ครึ่งหนึ่งของพื้นที่เพาะปลูกทั้งหมด)
2) เงินสำรองสำหรับมหันตภัย (Catastrophe Reserve) จำนวน 248.52 ล้านบาท (ถ้าหากปีใดไม่เกิดมหันตภัย เงินในส่วนนี้จะยังคงอยู่ในกองทุนฯ)
3) เงินสนับสนุนค่าเบื้ยประกันภัยให้กับบริษัทประกันภัยเอกชน จำนวน 191.66 ล้านบาท (ในปีต่อไปค่าเบี้ยประกันภัยจะขึ้นอยู่กับการต่อรองกับบริษัทประภัยภัย)
4. การทบทวนหลักการชดเชยความเสียหายแก่พืชผลอันเนื่องจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐมีส่วนทำให้เกิดขึ้น เห็นสมควรให้พืชผลการเกษตรที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐได้รับการชดเชยความเสียหายจากกองทุน เนื่องจากการเกิดความเสียหายดังกล่าว มิได้เกิดจากการกระทำของเกษตรกร แต่เป็นผลจากการกระทำของส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ ทำให้พืชผลเสียหาย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-