ทำเนียบรัฐบาล--16 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบกรอบนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. กรอบนโยบาย เพื่อให้การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยมีความพร้อม มีเอกภาพ และมีทิศทางที่ชัดเจน รัฐจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามกรอบนโยบาย 5 ประการต่อไปนี้
1.1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้า (National Trede Strategy) ที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งจะต้องบรรจุไว้ในแผนพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายสาขาที่จะเอื้อต่อการนำเข้า การค้าบริการ และการบริโภคภายในประเทศ
1.2 ภาครัฐจะสนับสนุนและดำเนินการในมาตรการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมพาณย์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคเอกชนและผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competiriveness) ในเวทีการค้าโลกและสร้างความมั่นใจ (Trust and Confidence) ให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นสำหรับการสร้างโครงสร้างทางกฎหมาย และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.3 ภาครัฐจะลดเลิกและหลีกเลี่ยงจากการกำหนดระเบียบราชการ และกฎเกณฑ์ที่จะกีดขวางต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกัน จะดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค
1.4 ภาครัฐจะเร่งปฏิรูประบบราชการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดรัฐบาลยุคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Govemment) ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารรัฐกิจและให้บริการแก่ประชาชน
1.5 ภาครัฐบาลโดยการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนจะจัดระบบฐานข้อมูล และศึกษานโยบายและแนวทางการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในเวทีเจรจา และความร่วมมือทางการค้าระดับโลกระดับภูมิภาค ตลอดจนระดับทวิและพหุภาคีในเชิงรุก
2. กลยุทธ์การพัฒนา เพื่อให้การดำเนินนโยบายพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีกลยุทธ์การพัฒนาในด้านหลักดังต่อไปนี้
2.1 ด้านการเงิน
1) ระบบชำระเงิน ศึกษาทบทวนระบบการชำระเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เช่น เงินสด, เช็ค, บัตรเครดิต, (Credit Card), บัตรเดบิต (Debit Card), เครื่องรับและชำระเงินอัตโนมัติ (Automated Teller Machine), การโอนเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Tranfer) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการชำระเงินใหม่ๆ ในรูปของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Products and Services) ที่จะมีประโยชน์ต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงทางการเงินของประเทศ
2) ระบบภาษีอากร ศึกษาแนวโน้มของระบบการค้าและผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐ
2.2 ด้านกฎหมาย
1) กฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสื ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งผลักดันกฎหมายใหม่ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการสร้างหลักประกัน และความเชื่อมั่น ทั้งของผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วย ความรัดกุม และมั่นคงในสาระและหลักการอันพึงยึดถือในระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวรวมถึงกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction Law) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) กฎหมายธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Transaction Law) กฎหมายอันเนื่องมาจากอาชญากรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์(Electronic/Computer Criminal Code)
2) กฎหมายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ยกร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศตามมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้แก่ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์อย่างเต็มที่ อันจะเป็นการกระจายโอกาสทางการค้าไปสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน
3) กฎหมายคุ้มครองข้อมูล จัดให้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล (Data Protection Law) เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของบุคคลและองค์กรในกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ โดยคำนิงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ใน กฎหมายลัแษณะเดียวกันนี้ในประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ
4) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินมาตรการที่จะเร่งรัดให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้น เช่นการกำกับดูแลให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และในระยะยาว เช่น การให้การศึกษากับเยาวชนในคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
5) กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าวยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและมาตราฐานการคุ้มครองผู้บริโภคสากล ด้วย
2.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) โทรคมนาคม ผลักดัน ให้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยกิจการด้านโทรคมนาคมโดยเร็วเพื่อเอื้ออำนวยให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 โดยตระหนักว่าการสร้างเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่ทั่วถึง เข้าถึงได้ และมีราคาถูกเท่านั้น ที่จะเป็นการกระจายความเจริญและกระจายโอกาสให้นักธุรกิจระดับใหญ่ กลาง เล็ก ลงไปถึงประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบการและบริโภคในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้
2) อินเทอร์เน็ต ส่งเสริมให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง เพื่อประโยชน์ในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ โดยการยกเลิกการผูกขาดทางด้านโทรคมนาคม ส่งเสริมให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้บริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีราคาถูก รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพของระบบอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของประเทศเป็นสำคัญ
3) องค์กรรับรองความถูกต้อง สนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรรับรองความถูกต้อง (Certifiction Authority) ของข้อมูลและเจ้าของข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการรับรองหรือยอมรับความถูกต้องระหว่างประเทศ (Cross Certification/Cross Recognition) โดยยึดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการค้าของประเทศเป็นหลัก
4) พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มที่ โดยการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาบุคลากรอย่งเป็นระบบและมีความต่อเนื่องทั้งนี้ โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนากำลังคนในสาขาต่างๆ ทั้งทางภาคการศึกษา และการเสริมทักษะให้กับแรงงานในตลาดปัจจุบันรวมทั้งกำหนดมาตรการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบที่มีประสิทธิผล--จบ--
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-นช-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบกรอบนโยบายและกลยุทธ์การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทย ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
1. กรอบนโยบาย เพื่อให้การพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศไทยมีความพร้อม มีเอกภาพ และมีทิศทางที่ชัดเจน รัฐจึงกำหนดแนวทางการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ตามกรอบนโยบาย 5 ประการต่อไปนี้
1.1 พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นยุทธศาสตร์ทางการค้า (National Trede Strategy) ที่สำคัญของประเทศไทย ซึ่งจะต้องบรรจุไว้ในแผนพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ โดยส่งเสริมให้มีการจัดทำแผนพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์รายสาขาที่จะเอื้อต่อการนำเข้า การค้าบริการ และการบริโภคภายในประเทศ
1.2 ภาครัฐจะสนับสนุนและดำเนินการในมาตรการต่างๆ ที่จะเอื้ออำนวยต่อกิจกรรมพาณย์อิเล็กทรอนิกส์ของภาคเอกชนและผู้บริโภค โดยมีเป้าประสงค์ให้ผู้ประกอบการไทยสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน (Competiriveness) ในเวทีการค้าโลกและสร้างความมั่นใจ (Trust and Confidence) ให้เกิดขึ้นทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและผู้บริโภค ทั้งภายในและระหว่างประเทศ โดยให้ความสำคัญในลำดับต้นสำหรับการสร้างโครงสร้างทางกฎหมาย และการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์
1.3 ภาครัฐจะลดเลิกและหลีกเลี่ยงจากการกำหนดระเบียบราชการ และกฎเกณฑ์ที่จะกีดขวางต่อการพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ในขณะเดียวกัน จะดูแลให้เกิดการแข่งขันอย่างเป็นธรรมและคุ้มครองผู้บริโภค
1.4 ภาครัฐจะเร่งปฏิรูประบบราชการโดยใช้สื่ออิเล็กทรอนิกส์และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อให้เกิดรัฐบาลยุคอิเล็กทรอนิกส์ (e-Govemment) ที่มีประสิทธิภาพในการบริหารรัฐกิจและให้บริการแก่ประชาชน
1.5 ภาครัฐบาลโดยการมีส่วนร่วมจากภาคเอกชนจะจัดระบบฐานข้อมูล และศึกษานโยบายและแนวทางการพัฒนาอิเล็กทรอนิกส์ในระดับสากล เพื่อรักษาผลประโยชน์ของประเทศในเวทีเจรจา และความร่วมมือทางการค้าระดับโลกระดับภูมิภาค ตลอดจนระดับทวิและพหุภาคีในเชิงรุก
2. กลยุทธ์การพัฒนา เพื่อให้การดำเนินนโยบายพัฒนาพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของประเทศเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ จึงกำหนดให้มีกลยุทธ์การพัฒนาในด้านหลักดังต่อไปนี้
2.1 ด้านการเงิน
1) ระบบชำระเงิน ศึกษาทบทวนระบบการชำระเงินที่ใช้อยู่ปัจจุบัน เช่น เงินสด, เช็ค, บัตรเครดิต, (Credit Card), บัตรเดบิต (Debit Card), เครื่องรับและชำระเงินอัตโนมัติ (Automated Teller Machine), การโอนเงินผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Fund Tranfer) เพื่อพัฒนาเครื่องมือในการชำระเงินใหม่ๆ ในรูปของผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Products and Services) ที่จะมีประโยชน์ต่อประสิทธิภาพและความมั่นคงทางการเงินของประเทศ
2) ระบบภาษีอากร ศึกษาแนวโน้มของระบบการค้าและผลกระทบอันอาจเกิดขึ้นกับการจัดเก็บรายได้ของรัฐ
2.2 ด้านกฎหมาย
1) กฎหมายธุรกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกสื ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายที่มีอยู่ในปัจจุบัน รวมทั้งผลักดันกฎหมายใหม่ๆ ที่มีความจำเป็นต่อการสร้างหลักประกัน และความเชื่อมั่น ทั้งของผู้ประกอบการและผู้บริโภคด้วย ความรัดกุม และมั่นคงในสาระและหลักการอันพึงยึดถือในระบบการค้าพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ โดยให้มีความสอดคล้องกับกฎหมายระหว่างประเทศที่ถูกต้องเหมาะสมกับสภาพของประเทศไทย ทั้งนี้ กฎหมายดังกล่าวรวมถึงกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction Law) กฎหมายลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Signature Law) กฎหมายธุรกรรมทางการเงินอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Financial Transaction Law) กฎหมายอันเนื่องมาจากอาชญากรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์หรือคอมพิวเตอร์(Electronic/Computer Criminal Code)
2) กฎหมายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศ ยกร่างกฎหมายโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศตามมาตรา 78 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 เพื่อให้เกิดกระบวนการในการจัดให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศให้แก่ชุมชนอย่างทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ทั้งนี้เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจการพาณิชย์อิเล็คทรอนิกส์อย่างเต็มที่ อันจะเป็นการกระจายโอกาสทางการค้าไปสู่ภูมิภาค ท้องถิ่น และชุมชน
3) กฎหมายคุ้มครองข้อมูล จัดให้มีกฎหมายคุ้มครองข้อมูล (Data Protection Law) เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัว (Privacy) ของบุคคลและองค์กรในกิจกรรมพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ โดยคำนิงถึงเงื่อนไขต่าง ๆ ใน กฎหมายลัแษณะเดียวกันนี้ในประเทศและภูมิภาคอื่น ๆ
4) กฎหมายทรัพย์สินทางปัญญา ดำเนินมาตรการที่จะเร่งรัดให้มีการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญา อย่างเป็นรูปธรรม ทั้งในระยะสั้น เช่นการกำกับดูแลให้เกิดความถูกต้องตามกฎหมายลิขสิทธิ์ และในระยะยาว เช่น การให้การศึกษากับเยาวชนในคุณค่าของทรัพย์สินทางปัญญา เป็นต้น
5) กฎหมายคุ้มครองผู้บริโภค ทบทวนและปรับปรุงกฎหมายเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค ในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคในการทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ การปรับปรุงกฎหมายคุ้มครองผู้บริโภคดังกล่าวยังต้องคำนึงถึงเงื่อนไขและมาตราฐานการคุ้มครองผู้บริโภคสากล ด้วย
2.3 ด้านโครงสร้างพื้นฐาน
1) โทรคมนาคม ผลักดัน ให้มีการดำเนินการตามแผนแม่บทว่าด้วยกิจการด้านโทรคมนาคมโดยเร็วเพื่อเอื้ออำนวยให้มีโครงสร้างพื้นฐานสารสนเทศที่ทั่วถึงและเท่าเทียมกัน ตามที่ได้บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ มาตรา 78 โดยตระหนักว่าการสร้างเครือข่ายสื่อสารโทรคมนาคมที่ทั่วถึง เข้าถึงได้ และมีราคาถูกเท่านั้น ที่จะเป็นการกระจายความเจริญและกระจายโอกาสให้นักธุรกิจระดับใหญ่ กลาง เล็ก ลงไปถึงประชาชนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในการประกอบการและบริโภคในระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ได้
2) อินเทอร์เน็ต ส่งเสริมให้มีการใช้อินเทอร์เน็ตอย่างกว้างขวาง เพื่อประโยชน์ในการขยายตัวของพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ ทั้งนี้ โดยการยกเลิกการผูกขาดทางด้านโทรคมนาคม ส่งเสริมให้ผู้ให้บริการอินเทอร์เน็ตให้บริการที่มีคุณภาพ ปลอดภัย และมีราคาถูก รวมทั้งคุ้มครองผู้บริโภคให้มากขึ้น โดยคำนึงถึงความมั่นคงปลอดภัยและการลงทุนอย่างมีประสิทธิภาพของระบบอินเทอร์เน็ตในภาพรวมของประเทศเป็นสำคัญ
3) องค์กรรับรองความถูกต้อง สนับสนุนให้มีการจัดตั้งองค์กรรับรองความถูกต้อง (Certifiction Authority) ของข้อมูลและเจ้าของข้อมูลพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ รวมทั้งส่งเสริมการรับรองหรือยอมรับความถูกต้องระหว่างประเทศ (Cross Certification/Cross Recognition) โดยยึดผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงทางการค้าของประเทศเป็นหลัก
4) พัฒนาบุคลากร ส่งเสริมให้มีการพัฒนาบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์อย่างเต็มที่ โดยการจัดสรรทรัพยากรที่จำเป็นต่อการพัฒนาบุคลากรอย่งเป็นระบบและมีความต่อเนื่องทั้งนี้ โดยกำหนดเป้าหมายการพัฒนากำลังคนในสาขาต่างๆ ทั้งทางภาคการศึกษา และการเสริมทักษะให้กับแรงงานในตลาดปัจจุบันรวมทั้งกำหนดมาตรการพัฒนาบุคลากรในรูปแบบที่มีประสิทธิผล--จบ--
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-นช-