ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานความก้าวหน้าโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi - Mission Satellite : SMMS) ในส่วนของประเทศไทย สรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยมีความสนใจเป็นพิเศษที่จะรับดำเนินการจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสารระบบ KA-Band รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และศักยภาพที่จะก้าวทัดเทียมประเทศอื่น ๆ ในด้านการสื่อสารและด้านอวกาศ รวมทั้งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการเข้าร่วม 3 ประเภท คือ ประเภทรับผิดชอบดำเนินการเต็มทั้งรายการ ประเภทเข้าร่วมบางส่วน และประเภทเข้าร่วมสังเกตการณ์ รวม 16 รายการ ซึ่งการเข้าร่วมทุกประเภทจะทำให้ทราบถึงโครงสร้างทั้งหมดของดาวเทียมมิใช่ทราบเฉพาะส่วนที่เข้าร่รวมเท่านั้น โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง (ปีงบประมาณ 2544 - 2546) สำหรับงบประมาณดำเนินการของประเทศไทยมีวงเงินค่าใช้จ่ายประมาณ 615 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน และได้มอบหมายให้ผู้แทนไทยไปเจรจากับจีนในการประชุม Project Committee ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประมาณเดือนกรกฎาคม 2543 โดยให้จีนรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าส่ง ค่าประกัน และค่าติดตาม ทั้งหมด ตามที่ได้เคยเสนอไว้แต่เดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ประเทศไทยให้อยู่ในวงเงินที่ต่ำที่สุด
เนื่องจากประเทศไทยมีความจำเป็นและความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็กกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค ซึ่งจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งระบบภาคพื้นดินและอวกาศ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอวกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศด้านเทคโนโลยีอวกาศให้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาคนี้ รวมทั้งสามารถให้รองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมั่นคง และเป็นโอกาสที่ไทยจะพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานต่าง ๆ โดยรัฐเป็นผู้นำ สนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากการเป็นประเทศผู้ซื้อไปสู่การเป็นประเทศที่สามารถวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถทำการผลิตเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศ และเพื่อสู้กับต่างประเทศต่อไปในอนาคต อนึ่ง โดยที่วงเงินที่แน่นอนของโครงการ SMMS ในส่วนที่ประเทศไทยรับผิดชอบยังต้องรอผลการประชุม Project Committee ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนกรกฎาคม 2543 ก่อนจึงจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติวงเงินดำเนินการในส่วนของประเทศไทยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงคมนาคมรายงานความก้าวหน้าโครงการร่วมสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็ก (Small Multi - Mission Satellite : SMMS) ในส่วนของประเทศไทย สรุปได้ดังนี้
ประเทศไทยมีความสนใจเป็นพิเศษที่จะรับดำเนินการจัดสร้างอุปกรณ์สื่อสารระบบ KA-Band รวมทั้งอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง เพื่อจะได้เพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจ และศักยภาพที่จะก้าวทัดเทียมประเทศอื่น ๆ ในด้านการสื่อสารและด้านอวกาศ รวมทั้งประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญของการเข้าร่วม 3 ประเภท คือ ประเภทรับผิดชอบดำเนินการเต็มทั้งรายการ ประเภทเข้าร่วมบางส่วน และประเภทเข้าร่วมสังเกตการณ์ รวม 16 รายการ ซึ่งการเข้าร่วมทุกประเภทจะทำให้ทราบถึงโครงสร้างทั้งหมดของดาวเทียมมิใช่ทราบเฉพาะส่วนที่เข้าร่รวมเท่านั้น โดยใช้ระยะเวลาประมาณ 2 ปีครึ่ง (ปีงบประมาณ 2544 - 2546) สำหรับงบประมาณดำเนินการของประเทศไทยมีวงเงินค่าใช้จ่ายประมาณ 615 ล้านบาท จากงบประมาณแผ่นดิน และได้มอบหมายให้ผู้แทนไทยไปเจรจากับจีนในการประชุม Project Committee ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ประมาณเดือนกรกฎาคม 2543 โดยให้จีนรับผิดชอบเกี่ยวกับค่าส่ง ค่าประกัน และค่าติดตาม ทั้งหมด ตามที่ได้เคยเสนอไว้แต่เดิม เพื่อลดค่าใช้จ่ายในส่วนที่ประเทศไทยให้อยู่ในวงเงินที่ต่ำที่สุด
เนื่องจากประเทศไทยมีความจำเป็นและความเหมาะสมที่จะเข้าร่วมโครงการสร้างดาวเทียมอเนกประสงค์ขนาดเล็กกับประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคเอเซียและแปซิฟิค ซึ่งจะได้รับประโยชน์อย่างมากจากการเรียนรู้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีการสื่อสารทั้งระบบภาคพื้นดินและอวกาศ รวมทั้งเทคโนโลยีด้านอวกาศที่เกี่ยวข้อง เพื่อพัฒนาบุคลากรของประเทศด้านเทคโนโลยีอวกาศให้ทัดเทียมกับประเทศในภูมิภาคนี้ รวมทั้งสามารถให้รองรับความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมที่กำลังก้าวไปอย่างรวดเร็วได้อย่างมั่นคง และเป็นโอกาสที่ไทยจะพัฒนาอุตสาหกรรมพื้นฐานต่าง ๆ โดยรัฐเป็นผู้นำ สนับสนุน และส่งเสริมให้ประเทศไทยเปลี่ยนจากการเป็นประเทศผู้ซื้อไปสู่การเป็นประเทศที่สามารถวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีที่ทันสมัย และสามารถทำการผลิตเพื่อสนองความต้องการภายในประเทศ และเพื่อสู้กับต่างประเทศต่อไปในอนาคต อนึ่ง โดยที่วงเงินที่แน่นอนของโครงการ SMMS ในส่วนที่ประเทศไทยรับผิดชอบยังต้องรอผลการประชุม Project Committee ครั้งที่ 5 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน ในเดือนกรกฎาคม 2543 ก่อนจึงจะสามารถเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อขออนุมัติวงเงินดำเนินการในส่วนของประเทศไทยได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 13 มิ.ย. 2543--
-สส-