คณะรัฐมนตรีรับทราบแนวทางการพัฒนาพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต (ช่องบก) ตามที่รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสมศักดิ์ เทพสุทิน) รายงานว่า ตามที่รัฐบาลได้มีนโยบายการสร้างรายได้โดยมุ่งเน้นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเป็นมาตรการที่สำคัญประการหนึ่งนั้น เห็นว่าพื้นที่สามเหลี่ยมมรกต (ช่องบก) จังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งตั้งอยู่ในบริเวณพรมแดนไทย - ราชอาณาจักรกัมพูชา - สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในอนาคต จึงได้เดินทางไปตรวจพื้นที่จริง เมื่อวันที่ 15 ธันวาคม 2544 และจัดประชุมหารือกับผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผลการศึกษาโดยรวมชี้ให้เห็นว่า พื้นที่ดังกล่าวมีศักยภาพสูงที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญในภูมิภาคต่อไป แม้ว่าจะมีข้อจำกัดต่าง ๆ บางประการ ซึ่งในที่ประชุมได้พิจารณาทั้งศักยภาพของพื้นที่และข้อจำกัด อย่างไรก็ดี ในระยะแรกสมควรที่จะพัฒนาให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวด้านกีฬาและนันทนาการก่อน ประกอบกับประเทศไทยได้มีกรอบความร่วมมือกับกัมพูชาและลาวทั้งในระดับทวิภาคี ระดับอนุภูมิภาคลุ่มน้ำแม่โขง และระดับภูมิภาค รวมทั้งได้เคยมีการเจรจาในเรื่องนี้กับทั้ง 2 ประเทศแล้ว เมื่อครั้งประชุม ASEAN Summit ในปี 2543จึงน่าจะเป็นไปได้ที่จะดำเนินการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน
สำหรับแนวทางการดำเนินการ ที่ประชุมเห็นว่าการบริหารจัดการอาจใช้วิธีจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 3 ประเทศหรือจัดตั้งองค์กรร่วม อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมมรกต เพื่อพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียด
คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีองค์ประกอบของกรรมการจากทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนที่เกี่ยวข้องจำนวน 19 คน ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกองทัพภาคที่ 2 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมกอล์ฟอาชีพไทย โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ---สส-
สำหรับแนวทางการดำเนินการ ที่ประชุมเห็นว่าการบริหารจัดการอาจใช้วิธีจัดตั้งบริษัทร่วมทุน 3 ประเทศหรือจัดตั้งองค์กรร่วม อย่างไรก็ดีในเบื้องต้นเห็นสมควรให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการพัฒนาสามเหลี่ยมมรกต เพื่อพิจารณาเรื่องนี้อย่างละเอียด
คณะรัฐมนตรีจึงให้ความเห็นชอบให้แต่งตั้งคณะกรรมการดังกล่าว โดยมีองค์ประกอบของกรรมการจากทั้งส่วนราชการ ภาคเอกชน และองค์กรประชาชนที่เกี่ยวข้องจำนวน 19 คน ซึ่งมีรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบดูแล การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย เป็นประธานกรรมการ และกรรมการประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัดอุบลราชธานี ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานี ผู้แทนกระทรวงมหาดไทยผู้แทนกระทรวงการต่างประเทศ ผู้แทนกรมป่าไม้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ผู้แทนกองทัพภาคที่ 2 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา ผู้แทนสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ ผู้แทนการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ผู้แทนการกีฬาแห่งประเทศไทย ผู้แทนกองบัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนกรมแผนที่ทหาร กระทรวงกลาโหม ผู้แทนกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ผู้แทนสมาคมกอล์ฟแห่งประเทศไทย ผู้แทนสมาคมกอล์ฟอาชีพไทย โดยมีเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นกรรมการและเลขานุการ เจ้าหน้าที่การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และเจ้าหน้าที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี เป็นผู้ช่วยเลขานุการ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ธ.ค. 44--จบ---สส-