ทำเนียบรัฐบาล--17 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติลงนามในพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งได้รับความเห็นขอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน เพื่อจะนำเสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนลงนาม
2. มอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน ครั้งที่ 22ระหว่างวันที่ 23 - 27 ตุลาคม 2543 ประเทศกัมพูชา ลงนามในพิธีสารดังกล่าว และหากมีข้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดใด ๆ ที่ไม่ใช่สารัตถะของพิธีสารฯ ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ลงนามและรายงานให้คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
3. เห็นชอบให้สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้าเกษตร (สมก.) เป็นหน่วยงานกลาง (National FocalPoint) ในการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้พิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ในสมัยประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (The ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสนับสนุนการดำเนินการทางด้านการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งประเทศภาคีอาเซียนจะต้องผ่อนคลายกฎระเบียบและประสานงานในด้านระบบการขนส่งการค้าและศุลากกรให้มีความสอคคล้องกัน (Simplification and Homoniaztion) เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในการค้าสินค้าผ่านแดน (Facilitation of Goods in Transit) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ภายใต้กรอบความตกลงฯ มาตรา 25 ได้กำหนดให้มีกาารจัดทำพิธีสาร (Protocols) รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความตกลง โดยให้มีการจัดตั้งหร้อมอบหมายคณะทำงาน (Working Groups) เพื่อดำเนินการให้บรรลุข้อยุติของพิธีสารทุกฉบับ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน (SOM - AMAF) ได้รับมอบหมายให้พิจารณาดำเนินการหาข้อยุติในพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Protocol 8 on Sanitary and Phytosanitary Measures - SPS) โดยแต่งตั้งคณะทำงาน (Special Task Force) เพื่อจัดทำยกร่างพิธีสารฉบับที่ 8 ซึ่งได้มีการนำเสนอ และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนสมัยพิเศษ (Special SOM - AMAF) ณ ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 และเห็นควรนำเสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนลงนามในพิธีสารฉบับที่ 8 ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะให้ประเทศภาคีอาเซียน จัดตั้งหน่วยงานกลาง (National Focal Point) ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและแจ้งรายชื่อให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อทราบต่อไป
2. สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 8
มาตรา 1 คำนิยาม
สินค้า หมายถึง สินค้าที่ควบคุมภายใต้พิธีสารฉบับที่ 8 ได้แก่สินค้าพืช สัตว์ ประมง รวมทั้งผลผลิตผลิตภัณฑ์ และสิ่งมีชีวิต ที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงในด้านสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืช
มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หมายถึง มาตรการใด ๆ ทั้งในรูปของกฎหมายกฤษฎีกา กฎระเบียบ เงื่อนไขระเบียบวิธีและขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการปกป้องชีวิตหรือสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืช
มาตรา 2 ขอบเขตของพิธีสาร
ใช้ในการควบคุมสินค้าผ่านแดนของประเทศสมาชิกอาเซียน
มาตรา 3 พันธะภายใต้พิธีสาร
ให้ประเทศภาคีแจ้งกฎหมาย หรือมาตรการต่าง ๆ ด้าน SPS เพื่อเสนอไว้ในภาคผนวกของพิธีสาร และถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสาร
มาตรการด้าน SPS จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศหรือภูมิภาคอาเซียน
การเปลี่ยนแปลงมาตรการ SPS จะต้องแจ้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งประเทศภาคีอื่น ๆ
ให้ประเทศภาคีมีการเจรจาตกลงในระดับทวิภาคี หรือพหุภาคีในภูมิภาคในการกำหนดมาตรการ SPS และขั้นตอนการตรวจสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกในกรณีที่ประเทศภาคีไม่มีกฎหมายด้าน SPS กำหนดใช้เป็นการเฉพาะ
มาตรา 4 มาตรการฉุกเฉิน
ประเทศภาคีสามารถกำหนดมาตรการฉุกเฉิน หรือปกป้องชีวิตและสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืชในอาณาเขต ถ้ามีภาวะการระบาดของโรค และศัตรูต่าง
มาตรา 5 การกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติ
ให้องค์ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานต่าง ๆ ภายใต้พิธีสารนี้ให้มีประสิทธิผล
มาตรา 6 บทบัญญัติสุดท้ายของพิธีสาร
ประเทศภาคีค้องให้สัตยาบันพิธีสาร และจะมีผลบังคับใช้ทันทีที่ประเทศภาคีให้สัตยาบันครบทุกฝ่าย
การแก้ไขพิธีสารจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศภาคีทุกฝ่าย
พิธีสารฉบับที่ 8ฯ จะช่วยส่งเสริมให้การขนส่งผ่านแดนในอาเซียนมีระบบที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องเกื้อกูลกันมากขึ้น ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนและการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติลงนามในพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบร่างพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช ซึ่งได้รับความเห็นขอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน เพื่อจะนำเสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนลงนาม
2. มอบอำนาจให้หัวหน้าคณะผู้แทนไทยในการประชุมระดับรัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียน ครั้งที่ 22ระหว่างวันที่ 23 - 27 ตุลาคม 2543 ประเทศกัมพูชา ลงนามในพิธีสารดังกล่าว และหากมีข้อแก้ไขหรือเพิ่มเติมรายละเอียดใด ๆ ที่ไม่ใช่สารัตถะของพิธีสารฯ ขอให้อยู่ในดุลยพินิจของผู้ลงนามและรายงานให้คณะรัฐมนตรีเพื่อทราบ
3. เห็นชอบให้สำนักมาตรฐานและตรวจสอบสินค้าเกษตร (สมก.) เป็นหน่วยงานกลาง (National FocalPoint) ในการประสานการดำเนินงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องภายใต้พิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช
ทั้งนี้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานว่า
1. ในสมัยประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียนครั้งที่ 6 เมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2541 ได้มีการลงนามในกรอบความตกลงอาเซียนว่าด้วยการอำนวยความสะดวกในการขนส่งสินค้าผ่านแดน (The ASEAN Framework Agreement on the Facilitation of Goods in Transit) โดยมีจุดมุ่งหมายหลักเพื่อสนับสนุนการดำเนินการทางด้านการค้าภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ซึ่งประเทศภาคีอาเซียนจะต้องผ่อนคลายกฎระเบียบและประสานงานในด้านระบบการขนส่งการค้าและศุลากกรให้มีความสอคคล้องกัน (Simplification and Homoniaztion) เพื่อให้สามารถอำนวยความสะดวกในการค้าสินค้าผ่านแดน (Facilitation of Goods in Transit) ในการดำเนินงานเพื่อให้บรรลุจุดมุ่งหมายดังกล่าว ภายใต้กรอบความตกลงฯ มาตรา 25 ได้กำหนดให้มีกาารจัดทำพิธีสาร (Protocols) รวมทั้งสิ้น 9 ฉบับ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของกรอบความตกลง โดยให้มีการจัดตั้งหร้อมอบหมายคณะทำงาน (Working Groups) เพื่อดำเนินการให้บรรลุข้อยุติของพิธีสารทุกฉบับ ซึ่งเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียน (SOM - AMAF) ได้รับมอบหมายให้พิจารณาดำเนินการหาข้อยุติในพิธีสารฉบับที่ 8 ว่าด้วยมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช (Protocol 8 on Sanitary and Phytosanitary Measures - SPS) โดยแต่งตั้งคณะทำงาน (Special Task Force) เพื่อจัดทำยกร่างพิธีสารฉบับที่ 8 ซึ่งได้มีการนำเสนอ และได้รับความเห็นชอบจากที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนสมัยพิเศษ (Special SOM - AMAF) ณ ประเทศบรูไน เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2543 และเห็นควรนำเสนอให้รัฐมนตรีเกษตรและป่าไม้อาเซียนลงนามในพิธีสารฉบับที่ 8 ที่ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนเห็นพ้องร่วมกันที่จะให้ประเทศภาคีอาเซียน จัดตั้งหน่วยงานกลาง (National Focal Point) ประสานงานระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและแจ้งรายชื่อให้สำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อทราบต่อไป
2. สาระสำคัญของพิธีสารฉบับที่ 8
มาตรา 1 คำนิยาม
สินค้า หมายถึง สินค้าที่ควบคุมภายใต้พิธีสารฉบับที่ 8 ได้แก่สินค้าพืช สัตว์ ประมง รวมทั้งผลผลิตผลิตภัณฑ์ และสิ่งมีชีวิต ที่มีผลกระทบต่อความเสี่ยงในด้านสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืช
มาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หมายถึง มาตรการใด ๆ ทั้งในรูปของกฎหมายกฤษฎีกา กฎระเบียบ เงื่อนไขระเบียบวิธีและขั้นตอนต่าง ๆ ที่กำหนดไว้เพื่อเป็นการปกป้องชีวิตหรือสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืช
มาตรา 2 ขอบเขตของพิธีสาร
ใช้ในการควบคุมสินค้าผ่านแดนของประเทศสมาชิกอาเซียน
มาตรา 3 พันธะภายใต้พิธีสาร
ให้ประเทศภาคีแจ้งกฎหมาย หรือมาตรการต่าง ๆ ด้าน SPS เพื่อเสนอไว้ในภาคผนวกของพิธีสาร และถือเป็นส่วนหนึ่งของพิธีสาร
มาตรการด้าน SPS จะต้องสอดคล้องกับมาตรฐานระหว่างประเทศหรือภูมิภาคอาเซียน
การเปลี่ยนแปลงมาตรการ SPS จะต้องแจ้งสำนักงานเลขาธิการอาเซียนเพื่อแจ้งประเทศภาคีอื่น ๆ
ให้ประเทศภาคีมีการเจรจาตกลงในระดับทวิภาคี หรือพหุภาคีในภูมิภาคในการกำหนดมาตรการ SPS และขั้นตอนการตรวจสอบ เพื่ออำนวยความสะดวกในกรณีที่ประเทศภาคีไม่มีกฎหมายด้าน SPS กำหนดใช้เป็นการเฉพาะ
มาตรา 4 มาตรการฉุกเฉิน
ประเทศภาคีสามารถกำหนดมาตรการฉุกเฉิน หรือปกป้องชีวิตและสุขอนามัยของคน สัตว์ และพืชในอาณาเขต ถ้ามีภาวะการระบาดของโรค และศัตรูต่าง
มาตรา 5 การกำหนดธรรมเนียมปฏิบัติ
ให้องค์ประชุมเจ้าหน้าที่อาวุโสด้านการเกษตรและป่าไม้อาเซียนเป็นผู้รับผิดชอบดำเนินงานต่าง ๆ ภายใต้พิธีสารนี้ให้มีประสิทธิผล
มาตรา 6 บทบัญญัติสุดท้ายของพิธีสาร
ประเทศภาคีค้องให้สัตยาบันพิธีสาร และจะมีผลบังคับใช้ทันทีที่ประเทศภาคีให้สัตยาบันครบทุกฝ่าย
การแก้ไขพิธีสารจะต้องได้รับความยินยอมจากประเทศภาคีทุกฝ่าย
พิธีสารฉบับที่ 8ฯ จะช่วยส่งเสริมให้การขนส่งผ่านแดนในอาเซียนมีระบบที่มีประสิทธิภาพและสอดคล้องเกื้อกูลกันมากขึ้น ซึ่งจะเอื้อประโยชน์ต่อการค้าระหว่างประเทศสมาชิกอาเซียนภายใต้เขตการค้าเสรีอาเซียนและการรวมตัวทางเศรษฐกิจของอาเซียน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 17 ต.ค. 2543--
-สส-