แท็ก
ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ
กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน
ประเทศญี่ปุ่น
ลัคกี้เท็คซ์
คณะรัฐมนตรี
ทำเนียบรัฐบาล--11 เม.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แล้วมีมติอนุมัติยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานรับมอบโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการกรีนเอด และส่งมอบให้แก่บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ขยายผลโครงการในประเทศต่อไป และให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรับข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องการทำความตกลงหรือการทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการขอยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการกรีนเอด ว่าควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน เพราะจะมีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. ในปี พ.ศ. 2535 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of International Trade and Industry - MITI) เข้าร่วมโครงการวิจัยและสาธิตการใช้น้ำมันคุณภาพต่ำเป็น เชื้อเพลิงในอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง (A Demonstration Research Project on a High - Efficiency Residue Combustor) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในโครงการความร่วมมือภายใต้ Green Aid Plan (GAP) โดยหลักการตามความร่วมมือ NEDO จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง รวมทั้งการติดตั้ง การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ส่วนกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกโรงงานเป็นที่ตั้งสาธิตการใช้อุปกรณ์ ตลอดจนการเสียภาษีนำเข้าอุปกรณ์และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำเพื่อใช้ในการวิจัยและสาธิตด้วย ทั้งนี้ มีระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 - 2540
2. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการวิจัยและสาธิตการใช้น้ำมันคุณภาพต่ำเป็นเชื้อเพลิงในอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง เป็นแนวทางเลือกหนึ่งของการใช้ประโยชน์น้ำมันคุณภาพต่ำจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมของโรงกลั่นน้ำมัน และได้พิจารณาเห็นว่าโครงการนี้จะสามารถสนองนโยบายของรัฐในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานด้วย จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือข้างต้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2537 และเนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์การวิจัยและสาธิตตามโครงการนี้มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องติดตั้งในโรงงานเพื่อทดสอบการใช้งานจริง กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และ NEDO ได้พิจารณาคัดเลือกบริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ โดยบริษัทฯ ยินดีรับเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหนด ได้แก่ ความร่วมมือในการวิจัยและสาธิต การจัดหาสถานที่ตั้งอุปกรณ์ การจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดตลอดจนจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในระหว่างการทดสอบ วิจัยและสาธิต นอกจากนั้นยังต้องรับผิดชอบในค่าภาษีนำเข้าของอุปกรณ์ทั้งหมดด้วย รวมค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านบาท ทั้งนี้ NEDO รับผิดชอบจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัยและสาธิต ตลอดจนค่าศึกษาดูงานของบุคลากรไทย รวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 100 ล้านบาท และการติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2539 การศึกษาวิจัย และสาธิต ใช้เวลาประมาณ 2 ปี และ โครงการสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามข้อเสนอของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม แล้วมีมติอนุมัติยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 เพื่อให้กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานรับมอบโอนกรรมสิทธิ์ในเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือจากประเทศญี่ปุ่น ภายใต้โครงการกรีนเอด และส่งมอบให้แก่บริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) เพื่อประโยชน์ในการเผยแพร่ขยายผลโครงการในประเทศต่อไป และให้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรับข้อสังเกตของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องการทำความตกลงหรือการทำบันทึกความเข้าใจเกี่ยวกับการขอยกเว้นระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุสำหรับเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ได้รับความช่วยเหลือภายใต้โครงการกรีนเอด ว่าควรนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาก่อน เพราะจะมีผลผูกพันต่อคณะรัฐมนตรี
ทั้งนี้ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า
1. ในปี พ.ศ. 2535 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมได้ร่วมมือกับองค์การพัฒนาพลังงานใหม่และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม (New Energy and Industrial Technology Development Organization - NEDO) ภายใต้กระทรวงการค้าและอุตสาหกรรมระหว่างประเทศแห่งประเทศญี่ปุ่น (Ministry of International Trade and Industry - MITI) เข้าร่วมโครงการวิจัยและสาธิตการใช้น้ำมันคุณภาพต่ำเป็น เชื้อเพลิงในอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง (A Demonstration Research Project on a High - Efficiency Residue Combustor) ซึ่งเป็นโครงการหนึ่งในโครงการความร่วมมือภายใต้ Green Aid Plan (GAP) โดยหลักการตามความร่วมมือ NEDO จะเป็นผู้รับผิดชอบในการจัดหาอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง รวมทั้งการติดตั้ง การจัดส่งผู้เชี่ยวชาญ และการให้ความช่วยเหลือด้านวิชาการ ส่วนกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานเป็นผู้รับผิดชอบในการคัดเลือกโรงงานเป็นที่ตั้งสาธิตการใช้อุปกรณ์ ตลอดจนการเสียภาษีนำเข้าอุปกรณ์และการจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงคุณภาพต่ำเพื่อใช้ในการวิจัยและสาธิตด้วย ทั้งนี้ มีระยะเวลาการดำเนินงานตามโครงการ 6 ปี ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2535 - 2540
2. กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้พิจารณาเห็นว่าโครงการวิจัยและสาธิตการใช้น้ำมันคุณภาพต่ำเป็นเชื้อเพลิงในอุปกรณ์เผาไหม้ประสิทธิภาพสูง เป็นแนวทางเลือกหนึ่งของการใช้ประโยชน์น้ำมันคุณภาพต่ำจากกระบวนการกลั่นน้ำมันปิโตรเลียมของโรงกลั่นน้ำมัน และได้พิจารณาเห็นว่าโครงการนี้จะสามารถสนองนโยบายของรัฐในเรื่องการส่งเสริมการใช้พลังงานที่มีประสิทธิภาพ รวมทั้งการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมจากการใช้พลังงานด้วย จึงได้มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจความร่วมมือข้างต้นเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2537 และเนื่องจากเครื่องจักรและอุปกรณ์การวิจัยและสาธิตตามโครงการนี้มีขนาดใหญ่ จำเป็นต้องติดตั้งในโรงงานเพื่อทดสอบการใช้งานจริง กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน และ NEDO ได้พิจารณาคัดเลือกบริษัท ลัคกี้เท็คซ์ (ไทย) จำกัด (มหาชน) เป็นผู้เข้าร่วมโครงการ โดยบริษัทฯ ยินดีรับเงื่อนไขต่างๆ ตามที่กำหนด ได้แก่ ความร่วมมือในการวิจัยและสาธิต การจัดหาสถานที่ตั้งอุปกรณ์ การจัดหาน้ำมันเชื้อเพลิงตามที่กำหนดตลอดจนจัดให้มีบุคลากรผู้รับผิดชอบในระหว่างการทดสอบ วิจัยและสาธิต นอกจากนั้นยังต้องรับผิดชอบในค่าภาษีนำเข้าของอุปกรณ์ทั้งหมดด้วย รวมค่าใช้จ่ายที่บริษัทฯ ต้องรับผิดชอบเป็นเงินทั้งสิ้นประมาณ 18 ล้านบาท ทั้งนี้ NEDO รับผิดชอบจัดหาอุปกรณ์ที่ใช้ในการวิจัยและสาธิต ตลอดจนค่าศึกษาดูงานของบุคลากรไทย รวมเป็นจำนวนเงินประมาณ 100 ล้านบาท และการติดตั้งแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 6 มีนาคม 2539 การศึกษาวิจัย และสาธิต ใช้เวลาประมาณ 2 ปี และ โครงการสิ้นสุดเมื่อวันที่ 31 มีนาคม 2541
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 11 เมษายน 2543--