ทำเนียบรัฐบาล--4 เม.ย.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ก่อนส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2/2542 วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2542 คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แล้วลงมติให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับไปให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ให้พิจารณารูปแบบของการให้ความช่วยเหลือจากรัฐในภาพรวมว่าผู้มีสิทธิในลักษณะใดควรจะอยู่ในรูปแบบของการประกันสังคม ผู้มีสิทธิในลักษณะใดควรจะอยู่ในรูปแบบของการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ภาครัฐมากเกินไป
2. เนื่องจากสาระของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการจัดตั้งองค์กรควบคุมจัดสวัสดิการสังคมในระดับประเทศ และระดับจังหวัด โดยให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม โดยไม่สื่อความหมายว่าเป็นการตราพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด ดังนั้น หากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต้องการให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตราต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญฯ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็ควรมีบทบัญญัติที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการให้สิทธิแก่เด็ก เยาวชน บุคคลในครอบครัว เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างไร ในประการใดบ้าง
3. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาทบทวนด้วยว่าปัจจุบันได้มีกฎหมายฉบับใดรองรับสิทธิของบุคคลตามมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้แล้วบ้างและกฎหมายที่มีอยู่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ แล้วหรือไม่ มีกรณีใดบ้างที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิ เพื่อที่จะได้พิจารณากลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสกับสิทธิที่บุคคลเหล่านี้พึงจะได้รับในภาพรวม ไปในคราวเดียวกัน
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเห็นว่า ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการฯ แล้ว และเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. …. ได้ยกร่างขึ้นเพื่อให้เป็นกฎหมายแม่บท และส่งเสริมงานสวัสดิการสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ ช่วยอุดช่องว่างของการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมที่ผ่านมาซึ่งไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากมีลักษณะกระจัดกระจาย ซ้ำซ้อน ขาดการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนผู้ประสบปัญหาหรือมีความเดือดร้อนให้ได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 เห็นสมควรเพิ่มเติมมาตรา 26 (2) ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมมีอำนาจ"พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ส.ค. กำหนด" และเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในมาตรา 12 (8) "วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ในการจัดสวัสดิการสังคม" ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดสวัสดิการสังคมให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ได้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมนอกเหนือจากกฎหมายเฉพาะที่กำหนดไว้ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาปรับปรุงแก้ไขอีกครั้งหนึ่ง โดยให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรี และของกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมไปประกอบการพิจารณาด้วย แล้วให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาอีกครั้ง ก่อนส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา เพื่อนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรต่อไป
ทั้งนี้ ในคราวประชุมคณะกรรมการนโยบายและประสานงานการดำเนินการให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญครั้งที่ 2/2542 วันจันทร์ที่ 26 เมษายน 2542 คณะกรรมการฯ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว แล้วลงมติให้ส่งร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวกลับไปให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาทบทวนอีกครั้งหนึ่งในประเด็นดังต่อไปนี้
1. ให้พิจารณารูปแบบของการให้ความช่วยเหลือจากรัฐในภาพรวมว่าผู้มีสิทธิในลักษณะใดควรจะอยู่ในรูปแบบของการประกันสังคม ผู้มีสิทธิในลักษณะใดควรจะอยู่ในรูปแบบของการจัดสวัสดิการสังคม เพื่อมิให้เป็นภาระแก่ภาครัฐมากเกินไป
2. เนื่องจากสาระของร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นการจัดตั้งองค์กรควบคุมจัดสวัสดิการสังคมในระดับประเทศ และระดับจังหวัด โดยให้มีสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมแห่งชาติ เพื่อช่วยเหลือการดำเนินการของคณะกรรมการ และจัดตั้งกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม โดยไม่สื่อความหมายว่าเป็นการตราพระราชบัญญัติเพื่อให้เป็นไปตามมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยแต่ประการใด ดังนั้น หากกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมต้องการให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้เป็นกฎหมายที่ตราขึ้นตามบทบัญญัติในมาตราต่าง ๆ ของรัฐธรรมนูญฯ ตามที่กล่าวแล้วข้างต้น ก็ควรมีบทบัญญัติที่แสดงได้อย่างชัดเจนว่าเป็นการให้สิทธิแก่เด็ก เยาวชน บุคคลในครอบครัว เด็กและเยาวชนซึ่งไม่มีผู้ดูแล บุคคลซึ่งมีอายุเกินหกสิบปีบริบูรณ์และไม่มีรายได้เพียงพอแก่การยังชีพ บุคคลซึ่งพิการหรือทุพพลภาพ จะมีสิทธิได้รับความช่วยเหลือจากรัฐอย่างไร ในประการใดบ้าง
3. ให้กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมพิจารณาทบทวนด้วยว่าปัจจุบันได้มีกฎหมายฉบับใดรองรับสิทธิของบุคคลตามมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยไว้แล้วบ้างและกฎหมายที่มีอยู่เป็นไปตามรัฐธรรมนูญฯ แล้วหรือไม่ มีกรณีใดบ้างที่ยังไม่มีกฎหมายรับรองและคุ้มครองสิทธิ เพื่อที่จะได้พิจารณากลุ่มบุคคลผู้ด้อยโอกาสกับสิทธิที่บุคคลเหล่านี้พึงจะได้รับในภาพรวม ไปในคราวเดียวกัน
กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคมเห็นว่า ได้ดำเนินการตามมติของคณะกรรมการฯ แล้ว และเห็นว่าตามเจตนารมณ์ของร่างพระราชบัญญัติส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคม พ.ศ. …. ได้ยกร่างขึ้นเพื่อให้เป็นกฎหมายแม่บท และส่งเสริมงานสวัสดิการสังคมทั้งภาครัฐและเอกชนอย่างเป็นระบบ ช่วยอุดช่องว่างของการดำเนินงานด้านสวัสดิการสังคมที่ผ่านมาซึ่งไม่สามารถให้บริการประชาชนได้อย่างทั่วถึง เนื่องจากมีลักษณะกระจัดกระจาย ซ้ำซ้อน ขาดการส่งเสริมสนับสนุนเพื่อให้ครอบคลุมประชาชนผู้ประสบปัญหาหรือมีความเดือดร้อนให้ได้อย่างทั่วถึง อย่างไรก็ตาม เพื่อให้ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้มีความสมบูรณ์สอดคล้องกับบทบัญญัติตามรัฐธรรมนูญมาตรา 53 มาตรา 54 มาตรา 55 และมาตรา 80 เห็นสมควรเพิ่มเติมมาตรา 26 (2) ให้คณะกรรมการบริหารกองทุนส่งเสริมการจัดสวัสดิการสังคมมีอำนาจ"พิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ในการจัดสวัสดิการสังคมให้เป็นไปตามระเบียบที่ ก.ส.ค. กำหนด" และเพิ่มอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการในมาตรา 12 (8) "วางระเบียบเกี่ยวกับการพิจารณาอนุมัติการจ่ายเงินเพื่อสนับสนุนหน่วยงานของรัฐ และองค์กรสาธารณประโยชน์ในการจัดสวัสดิการสังคม" ทั้งนี้ เพื่อให้หน่วยงานของรัฐสามารถจัดสวัสดิการสังคมให้แก่บุคคลต่าง ๆ ตามที่ร่างพระราชบัญญัตินี้กำหนดไว้ได้ ซึ่งจะเป็นการสนับสนุนการจัดสวัสดิการสังคมนอกเหนือจากกฎหมายเฉพาะที่กำหนดไว้ จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 4 เมษายน 2543--