ทำเนียบรัฐบาล--18 เม.ย--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองทำหน้าที่สอดส่องดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป และมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วได้มีการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้ไปแล้วรวม 11 ฉบับ และคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้พิจารณาเห็นสมควรเสนอแนะให้มีการออกกฎกระทรวงและประกาศตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นอีกรวม 2 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบ คือ
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (กำหนดการอื่นที่จะให้เป็นคำสั่งทางปกครอง) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และการสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน รวมทั้งการให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง คำสั่งทางปกครองที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่เป็นการปฏิเสธการก่อตั้งสิทธิของคู่กรณี การเพิกถอนสิทธิการกำหนดให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การยกเลิกการสอบราคา การประกวดราคา หรือการประมูลราคาที่มีผู้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาผลการดำเนินการดังกล่าวแล้ว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบร่างกฎกระทรวงและร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอและให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอว่า พระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ได้มีผลใช้บังคับเมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม 2540 ซึ่งพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายเกี่ยวกับการกำหนดหลักเกณฑ์การออกคำสั่งทางปกครองของเจ้าหน้าที่ของรัฐ โดยมีคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองทำหน้าที่สอดส่องดูแลและให้คำปรึกษาแนะนำแก่เจ้าหน้าที่ของรัฐในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้ รวมทั้งมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะในการตราพระราชกฤษฎีกาและการออกกฎกระทรวงหรือประกาศตามพระราชบัญญัตินี้ต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อดำเนินการต่อไป และมีสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง ซึ่งหลังจากที่พระราชบัญญัติดังกล่าวใช้บังคับแล้วได้มีการออกกฎกระทรวงตามพระราชบัญญัตินี้ไปแล้วรวม 11 ฉบับ และคณะกรรมการวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองได้พิจารณาเห็นสมควรเสนอแนะให้มีการออกกฎกระทรวงและประกาศตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเพิ่มเติมขึ้นอีกรวม 2 ฉบับ ซึ่งคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นขอบ คือ
1. ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ....) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539 (กำหนดการอื่นที่จะให้เป็นคำสั่งทางปกครอง) มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้การดำเนินการของเจ้าหน้าที่เกี่ยวกับการจัดหาหรือให้สิทธิประโยชน์ ได้แก่ การสั่งรับหรือไม่รับคำเสนอขาย รับจ้าง แลกเปลี่ยน ให้เช่า ซื้อ เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การอนุมัติสั่งซื้อ จ้าง แลกเปลี่ยน เช่า ขาย ให้เช่า หรือให้สิทธิประโยชน์ การสั่งยกเลิกกระบวนการพิจารณาคำเสนอหรือการดำเนินการอื่นใดในลักษณะเดียวกัน และการสั่งให้เป็นผู้ทิ้งงาน รวมทั้งการให้หรือไม่ให้ทุนการศึกษา เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539
2. ร่างประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง คำสั่งทางปกครองที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง มีสาระสำคัญคือ กำหนดให้คำสั่งทางปกครองที่เป็นการปฏิเสธการก่อตั้งสิทธิของคู่กรณี การเพิกถอนสิทธิการกำหนดให้กระทำการหรือละเว้นกระทำการ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การยกเลิกการสอบราคา การประกวดราคา หรือการประมูลราคาที่มีผู้ได้รับคัดเลือกจากคณะกรรมการที่มีอำนาจหน้าที่ในการพิจารณาผลการดำเนินการดังกล่าวแล้ว เป็นคำสั่งทางปกครองที่ต้องระบุเหตุผลไว้ในคำสั่งหรือในเอกสารแนบท้ายคำสั่ง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 18 เมษายน 2543--