คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต พ.ศ….และร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการ การจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ….รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอซึ่งผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการกลั่นกรอง เรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 2 แล้ว และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองฯ คณะที่ 2 ไปพิจารณาด้วย แล้วดำเนินการต่อไปได้ ร่างกฎกระทรวง 2 ฉบับมี ดังนี้
1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) กำหนดบทนิยามคำว่า "เครื่องกำเนิดรังสี" "วัสดุกัมมันตรังสี" "กากกัมมันตรังสี" "บริเวณรังสี" "พื้นที่ควบคุม"
2) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ พลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้หรือวัสดุต้นกำลัง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
3) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง หรือเครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ หรือเครื่องกำเนิดรังสีอื่น ๆ ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4) กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกให้ตามคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 2 มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ออกให้ตามคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 มีอายุหกเดือนนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
5) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระมัดระวังมิให้บุคคลที่ทำงานในบริเวณรังสีได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนดโดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ และประชาชนทั่วไป ที่มิใช่ผู้มารับบริการทางแพทย์
6) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องไม่จัดให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีและต้องไม่จัดให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุม รวมทั้งต้องติดเครื่องหมายสัญลักษณ์เตือนภัยทางรังสี พร้อมข้อความหรือคำเตือนภัยที่เหมาะสม มีระบบเตือนภัย รวมทั้งวิธีปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน ณ จุดที่เป็นทางเข้า และตำแหน่งอื่น ๆ ที่เหมาะสมภายในพื้นที่ควบคุมด้วย
7) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตพบว่าวัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ในความครอบครองสูญหายไป หรือเกิดการรั่วไหลออกจากภาชนะที่กักเก็บหรืออุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ ให้รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยทันที
8) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดการเกี่ยวกับกากกัมมันตรังสีที่เกิดจากการใช้งานของตนตามวิธีการขจัดหรือทิ้งกากกัมมันตรังสีที่เสนอไว้ และตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการ การจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. …. มีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดบทนิยามคำว่า "กากกัมมันตรังสี" "การจัดการกากกัมมันตรังสี" "เกณฑ์ปลอดภัย" "การแปรสภาพ" "ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก" และ "ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก"
2) การจำแนกประเภทกากกัมมันตรังสี สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะ ค่ากัมมันตรังสี และเครื่องชี้วัดของวัสดุกัมมันตรังสี
3) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบในการจัดการกากกัมมันตรังสีต้องจัดเจ้าหน้าที่ในการจัดการกากกัมมันตรังสีอย่างน้อย 1 คน และต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ปริมาณ คุณลักษณะ ค่ากัมมันตรังสีของกากกัมมันตรังสีและสถานที่เก็บ รวมทั้งวิธีการจัดเก็บ บำบัด ขจัด และขนส่งตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
4) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการคัดแยกกาก การเก็บรวบรวม รวมทั้งสถานที่สำหรับจัดเก็บกากกัมมันตรังสี ก่อนการบำบัดตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
5) กำหนดความรับผิดชอบในการบำบัดและจัดเตรียมกัมมันตรังสีของผู้ได้รับใบอนุญาต
6) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่คณะกรรมการกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งกากกัมมันตรังสีไปยังสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อดำเนินการบำบัดและจัด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางรังสีและทางทรัพย์สิน และในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการเองได้ให้ใช้บริการขนส่งกากกัมมันตรังสีจากสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
7) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าบริการบำบัดและขจัดกากกัมมันตรังสีในอัตราที่คณะกรรมการกำหนด กรณีที่ยังมิได้มีการกำหนดให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ
8) คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นผู้กำกับดูแลการจัดการกากกัมมันตรังสีของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มิ.ย.44--
-สส-
1. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการออกใบอนุญาต พ.ศ. …. มีสาระสำคัญ ดังนี้
1) กำหนดบทนิยามคำว่า "เครื่องกำเนิดรังสี" "วัสดุกัมมันตรังสี" "กากกัมมันตรังสี" "บริเวณรังสี" "พื้นที่ควบคุม"
2) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะผลิต มีไว้ในครอบครองหรือใช้วัสดุนิวเคลียร์พิเศษ พลังงานปรมาณู วัสดุพลอยได้หรือวัสดุต้นกำลัง ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงาน เจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
3) กำหนดให้ผู้ประสงค์จะนำหรือส่งออกนอกราชอาณาจักร นำหรือสั่งเข้าในราชอาณาจักร ซึ่งวัสดุนิวเคลียร์พิเศษ วัสดุพลอยได้ หรือวัสดุต้นกำลัง หรือเครื่องกำเนิดรังสีที่ใช้ทางการแพทย์ เครื่องกำเนิดรังสีเอกซ์ หรือเครื่องกำเนิดรังสีอื่น ๆ ให้ยื่นคำขออนุญาตต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ณ สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
4) กำหนดให้ใบอนุญาตที่ออกให้ตามคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 2 มีอายุหนึ่งปีนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต และใบอนุญาตที่ออกให้ตามคำขอรับใบอนุญาตตามข้อ 3 มีอายุหกเดือนนับแต่วันที่ออกใบอนุญาต
5) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องระมัดระวังมิให้บุคคลที่ทำงานในบริเวณรังสีได้รับรังสีเกินปริมาณที่กำหนดโดยเฉพาะหญิงมีครรภ์ และประชาชนทั่วไป ที่มิใช่ผู้มารับบริการทางแพทย์
6) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องไม่จัดให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 16 ปีปฏิบัติงานเกี่ยวกับรังสีและต้องไม่จัดให้บุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ปฏิบัติงานในพื้นที่ควบคุม รวมทั้งต้องติดเครื่องหมายสัญลักษณ์เตือนภัยทางรังสี พร้อมข้อความหรือคำเตือนภัยที่เหมาะสม มีระบบเตือนภัย รวมทั้งวิธีปฏิบัติกรณีฉุกเฉิน ณ จุดที่เป็นทางเข้า และตำแหน่งอื่น ๆ ที่เหมาะสมภายในพื้นที่ควบคุมด้วย
7) ในกรณีที่ผู้ได้รับใบอนุญาตพบว่าวัสดุกัมมันตรังสีที่อยู่ในความครอบครองสูญหายไป หรือเกิดการรั่วไหลออกจากภาชนะที่กักเก็บหรืออุปกรณ์ที่บรรจุอยู่ ให้รายงานต่อพนักงานเจ้าหน้าที่โดยทันที
8) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องจัดการเกี่ยวกับกากกัมมันตรังสีที่เกิดจากการใช้งานของตนตามวิธีการขจัดหรือทิ้งกากกัมมันตรังสีที่เสนอไว้ และตามที่กำหนดในกฎกระทรวงว่าด้วยการนั้น
2. ร่างกฎกระทรวงว่าด้วย หลักเกณฑ์ และวิธีการ การจัดการกากกัมมันตรังสี พ.ศ. …. มีสาระสำคัญดังนี้
1) กำหนดบทนิยามคำว่า "กากกัมมันตรังสี" "การจัดการกากกัมมันตรังสี" "เกณฑ์ปลอดภัย" "การแปรสภาพ" "ต้นกำเนิดรังสีชนิดปิดผนึก" และ "ต้นกำเนิดรังสีชนิดไม่ปิดผนึก"
2) การจำแนกประเภทกากกัมมันตรังสี สามารถจำแนกได้เป็น 5 ประเภท ตามลักษณะ ค่ากัมมันตรังสี และเครื่องชี้วัดของวัสดุกัมมันตรังสี
3) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องรับผิดชอบในการจัดการกากกัมมันตรังสีต้องจัดเจ้าหน้าที่ในการจัดการกากกัมมันตรังสีอย่างน้อย 1 คน และต้องแจ้งรายละเอียดเกี่ยวกับชนิด ปริมาณ คุณลักษณะ ค่ากัมมันตรังสีของกากกัมมันตรังสีและสถานที่เก็บ รวมทั้งวิธีการจัดเก็บ บำบัด ขจัด และขนส่งตามแบบที่คณะกรรมการกำหนด ภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับใบอนุญาต
4) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการคัดแยกกาก การเก็บรวบรวม รวมทั้งสถานที่สำหรับจัดเก็บกากกัมมันตรังสี ก่อนการบำบัดตามเกณฑ์ที่คณะกรรมการกำหนด
5) กำหนดความรับผิดชอบในการบำบัดและจัดเตรียมกัมมันตรังสีของผู้ได้รับใบอนุญาต
6) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ ที่คณะกรรมการกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งกากกัมมันตรังสีไปยังสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ เพื่อดำเนินการบำบัดและจัด โดยคำนึงถึงความปลอดภัยทางรังสีและทางทรัพย์สิน และในกรณีที่ไม่อาจดำเนินการเองได้ให้ใช้บริการขนส่งกากกัมมันตรังสีจากสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
7) ผู้ได้รับใบอนุญาตต้องชำระค่าบริการบำบัดและขจัดกากกัมมันตรังสีในอัตราที่คณะกรรมการกำหนด กรณีที่ยังมิได้มีการกำหนดให้สำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติให้บริการโดยไม่คิดค่าบริการ
8) คณะกรรมการพลังงานปรมาณูเพื่อสันติเป็นผู้กำกับดูแลการจัดการกากกัมมันตรังสีของสำนักงานพลังงานปรมาณูเพื่อสันติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 12 มิ.ย.44--
-สส-