ทำเนียบรัฐบาล--8 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
12. เรื่อง การใช้เขตอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้นำเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533 มาเป็นหลักในการพิจารณากระบวนการศึกษาผลกระทบและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติและ/หรือก่อสร้างท่อก๊าซภายในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย โดยมอบให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยรับไปดำเนินการ และประสานงานกับฝ่ายมาเลเซียให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม
องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย และพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533 มีอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต โดยเฉพาะปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (Joint Development Area) ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยกำหนดให้มีการแบ่งเขตอำนาจ (Jurisdiction) ทั้งในทางแพ่งและอาญาของไทยและมาเลเซียภายในพื้นที่พัฒนาร่วมเพื่อประโยชน์ในการใช้เขตอำนาจศาล โดยให้ไทยใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนครึ่งหนึ่งด้านเหนือ และให้มาเลเซียใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนครึ่งหนึ่งด้านใต้ อันกำหนดโดยเส้นตรง AX ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตอำนาจ (Jurisdiction Line) ที่แสดงไว้ในแผนที่ท้าย พระราชบัญญัติองค์กรร่วมฯ ทั้งนี้ การแบ่งเขตอำนาจนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ของประเทศทั้งสองที่มีอยู่เหนือพื้นที่พัฒนาร่วมและไม่รวมถึงเขตอำนาจในเรื่องศุลกากร สรรพสามิต และภาษีอากร ซึ่งทั้งสองประเทศยังคงใช้อำนาจนั้นได้ต่อไปเหนือพื้นที่พัฒนาร่วม
ในการประชุมเมื่อเดือนตุลาคม 2541 องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซีย เพื่อศึกษาวิธีการและข้อกำหนดเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติและ/หรือก่อสร้างท่อก๊าซที่กระทำในพื้นที่พัฒนาร่วม
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533
มาตรา 4 บัญญัติให้เส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัด (AX) เป็นเส้นแบ่งเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วม
มาตรา 18 บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองมีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกอบการ การดำเนินธุรกิจ หรือบริการใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่พัฒนาร่วม รวมทั้งเรื่องอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในอันที่จะทำให้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้บังเกิดผล
มาตรา 20 บัญญัติให้ศาลจังหวัดสงขลา ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา มีเขตอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎกระทรวงใด ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายอื่นใดบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างไรก็ตาม
มาตรา 21 วรรค 1 บัญญัติให้ราชอาณาจักรไทยยังคงมีและใช้เขตอำนาจเหนือพื้นที่พัฒนาร่วมต่อไป ทั้งนี้ ได้กำหนดเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาของไทยและของมาเลเซียในพื้นที่พัฒนาร่วมไว้แยกจากกันแล้วตามพิกัดที่กำหนด และวรรค 5 บัญญัติให้เขตอำนาจใด ๆ ที่เป็นของราชอาณาจักรไทยหรือของมาเลเซียตามมาตรานี้ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วม ให้มีเฉพาะในเรื่องและภายในขอบเขตเท่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวกับไหล่ทวีป และเป็นที่ยอมรับกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และโดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องมาแล้ว โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่างไปว่า เป็นกรณีที่จะต้องขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นข้อกฎหมายแล้วว่า เรื่องนี้กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถดำเนินการได้ตามที่เสนอ เนื่องจากข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นการขออนุมัติในหลักการเพื่อจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบและจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พัฒนาร่วมในส่วนที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-
12. เรื่อง การใช้เขตอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533
คณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบในหลักการให้นำเขตอำนาจตามพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533 มาเป็นหลักในการพิจารณากระบวนการศึกษาผลกระทบและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวกับการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติและ/หรือก่อสร้างท่อก๊าซภายในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย โดยมอบให้องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยรับไปดำเนินการ และประสานงานกับฝ่ายมาเลเซียให้เกิดผลในทางปฏิบัติต่อไป ตามข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรม
องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย จัดตั้งขึ้นตามความตกลงระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลมาเลเซีย และพระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533 มีอำนาจหน้าที่ในการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรที่ไม่มีชีวิต โดยเฉพาะปิโตรเลียมในพื้นที่พัฒนาร่วมไทย - มาเลเซีย (Joint Development Area) ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 7,250 ตารางกิโลเมตร บริเวณอ่าวไทยตอนล่าง โดยกำหนดให้มีการแบ่งเขตอำนาจ (Jurisdiction) ทั้งในทางแพ่งและอาญาของไทยและมาเลเซียภายในพื้นที่พัฒนาร่วมเพื่อประโยชน์ในการใช้เขตอำนาจศาล โดยให้ไทยใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนครึ่งหนึ่งด้านเหนือ และให้มาเลเซียใช้เขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนครึ่งหนึ่งด้านใต้ อันกำหนดโดยเส้นตรง AX ซึ่งเป็นเส้นแบ่งเขตอำนาจ (Jurisdiction Line) ที่แสดงไว้ในแผนที่ท้าย พระราชบัญญัติองค์กรร่วมฯ ทั้งนี้ การแบ่งเขตอำนาจนี้ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อสิทธิอธิปไตย (sovereign rights) ของประเทศทั้งสองที่มีอยู่เหนือพื้นที่พัฒนาร่วมและไม่รวมถึงเขตอำนาจในเรื่องศุลกากร สรรพสามิต และภาษีอากร ซึ่งทั้งสองประเทศยังคงใช้อำนาจนั้นได้ต่อไปเหนือพื้นที่พัฒนาร่วม
ในการประชุมเมื่อเดือนตุลาคม 2541 องค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ประกอบด้วยผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของไทยและมาเลเซีย เพื่อศึกษาวิธีการและข้อกำหนดเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบและจัดการด้านสิ่งแวดล้อมของการพัฒนาแหล่งก๊าซธรรมชาติและ/หรือก่อสร้างท่อก๊าซที่กระทำในพื้นที่พัฒนาร่วม
พระราชบัญญัติองค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย พ.ศ. 2533
มาตรา 4 บัญญัติให้เส้นตรงซึ่งเชื่อมจุดพิกัด (AX) เป็นเส้นแบ่งเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาในพื้นที่พัฒนาร่วม
มาตรา 18 บัญญัติให้รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของรัฐบาลทั้งสองมีอำนาจออกกฎกระทรวงเกี่ยวกับการประกอบการ การดำเนินธุรกิจ หรือบริการใด ๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับการสำรวจและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรในพื้นที่พัฒนาร่วม รวมทั้งเรื่องอื่นใดเพื่อวัตถุประสงค์ในอันที่จะทำให้บทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้บังเกิดผล
มาตรา 20 บัญญัติให้ศาลจังหวัดสงขลา ศาลแพ่ง หรือศาลอาญา มีเขตอำนาจที่จะพิจารณาพิพากษาคดีตามพระราชบัญญัตินี้ หรือตามกฎกระทรวงใด ๆ ที่ออกตามพระราชบัญญัตินี้ ไม่ว่าจะมีกฎหมายอื่นใดบัญญัติเป็นลายลักษณ์อักษรไว้อย่างไรก็ตาม
มาตรา 21 วรรค 1 บัญญัติให้ราชอาณาจักรไทยยังคงมีและใช้เขตอำนาจเหนือพื้นที่พัฒนาร่วมต่อไป ทั้งนี้ ได้กำหนดเขตอำนาจทางแพ่งและทางอาญาของไทยและของมาเลเซียในพื้นที่พัฒนาร่วมไว้แยกจากกันแล้วตามพิกัดที่กำหนด และวรรค 5 บัญญัติให้เขตอำนาจใด ๆ ที่เป็นของราชอาณาจักรไทยหรือของมาเลเซียตามมาตรานี้ในส่วนที่เกี่ยวกับพื้นที่พัฒนาร่วม ให้มีเฉพาะในเรื่องและภายในขอบเขตเท่าที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่เกี่ยวกับไหล่ทวีป และเป็นที่ยอมรับกันตามกฎหมายระหว่างประเทศ
และโดยที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา และสำนักงานอัยการสูงสุด ได้เสนอความเห็นในส่วนที่เกี่ยวข้องมาแล้ว โดยสำนักงานอัยการสูงสุดมีความเห็นแตกต่างไปว่า เป็นกรณีที่จะต้องขอความเห็นชอบต่อรัฐสภาก่อนจึงจะสามารถดำเนินการได้ และสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา โดยคณะกรรมการกฤษฎีกา (คณะที่ 7) ได้พิจารณาวินิจฉัยในประเด็นข้อกฎหมายแล้วว่า เรื่องนี้กระทรวงอุตสาหกรรมสามารถดำเนินการได้ตามที่เสนอ เนื่องจากข้อเสนอของกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นการขออนุมัติในหลักการเพื่อจะได้ดำเนินการเกี่ยวกับการศึกษาผลกระทบและจัดการสิ่งแวดล้อมในพื้นที่พัฒนาร่วมในส่วนที่ฝ่ายไทยรับผิดชอบ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 ส.ค. 2543--
-สส-