คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนพัฒนาการผลิตอ้อย ปี 2544 - 2549 ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับรายได้ของเกษตรกรชาวไร่อ้อยและแรงงานที่มีส่วนในการผลิตอ้อยและน้ำตาล เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและพัฒนาความหวานของอ้อยและลดต้นทุนการผลิตอ้อย เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันการผลิตน้ำตาลในตลาดโลก และเพื่อรักษาเสถียรภาพของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายให้ยั่งยืนและเพิ่มรายได้ในการส่งออกให้ประเทศ รวมทั้งรักษาระดับพื้นที่ปลูกอ้อยทั้งประเทศไม่เกิน 6 ล้านไร่ และจะมีผลผลิตเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นจาก9.5 ตัน เป็น 13 ตัน โดยความหวานเฉลี่ยของอ้อยเพิ่มขึ้นจาก 11.7 ซี.ซี.เอส. เป็น 13 ซี.ซี.เอส. โดยมีแนวทางการพัฒนาดังนี้
1. จัดการปลูกอ้อยให้อยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับอ้อยโรงงานและอยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาล เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและลดต้นทุนการขนส่ง ตลอดจนประหยัดงบประมาณในการส่งเสริมการผลิตและการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตของทางราชการและโรงงานน้ำตาล
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องเป็นไปอย่างมีระบบ และมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำให้เอื้ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรและโรงงานน้ำตาล โดยการร่วมทุนระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน
4. การวิจัยต้องสอดคล้องกับความต้องการของกษตรกรและโรงงาน โดยมุ่งเน้นการวิจัยเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5ซึ่งมีมติมอบให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนาการผลิตอ้อย ปี 2544 - 2549 ให้เป็นระบบทั้งวงจร โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เห็นว่าการพิจารณาเรื่องอ้อยนั้น ต้องพิจารณาทั้งระบบให้ครบวงจรทั้งการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย การตลาด การแปรรูป การคุ้มครองประโยชน์ของเกษตรกรและอื่น ๆ ฉะนั้น คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งเป็นองค์กรหลักดูแลเรื่องนี้ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องประสานงานกันเพื่อวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างรอบคอบและเป็นระบบให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมอย่างรอบด้าน ดังนี้
1. ด้านการผลิต ควรพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น
1.1 การส่งเสริมให้ผลิตอ้อยในเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับอ้อยโรงงานและลดพื้นที่ปลูกอ้อยนอกเขตฯย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกนอกเขตฯ จึงต้องพิจารณาหาทางเลือกในการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นให้แก่เกษตรกรในกลุ่มนี้ด้วย
1.2 การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น อาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตมีมากเกินไป และราคาในตลาดลดลงได้ จึงต้องพิจารณาหามาตรการอื่นมาดำเนินควบคู่ไปด้วย เช่น การลดพื้นที่เพาะปลูกเป็นต้น
2. ด้านการตลาด ควรพิจารณาภาพรวมให้เชื่อมโยงตั้งแต่อ้อย น้ำตาล รวมทั้งสินค้าแปรรูปอื่น ๆ ที่ใช้น้ำตาลเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น ลูกกวาด ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น โดยพิจารณาแนวทางและมาตรการส่งเสริมการผลิตสินค้าแปรรูปเหล่านี้ให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพในการแบ่งปันในตลาดโลกให้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-
1. จัดการปลูกอ้อยให้อยู่ในเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับอ้อยโรงงานและอยู่ใกล้กับโรงงานน้ำตาล เพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่สูงและลดต้นทุนการขนส่ง ตลอดจนประหยัดงบประมาณในการส่งเสริมการผลิตและการจัดสร้างโครงสร้างพื้นฐานสำหรับการผลิตของทางราชการและโรงงานน้ำตาล
2. การถ่ายทอดเทคโนโลยีต้องเป็นไปอย่างมีระบบ และมีการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
3. การปรับปรุงระบบโครงสร้างพื้นฐานด้านแหล่งน้ำให้เอื้ออำนวยความสะดวกแก่เกษตรกรและโรงงานน้ำตาล โดยการร่วมทุนระหว่างภาครัฐบาลและเอกชน
4. การวิจัยต้องสอดคล้องกับความต้องการของกษตรกรและโรงงาน โดยมุ่งเน้นการวิจัยเทคโนโลยีที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5ซึ่งมีมติมอบให้คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ พิจารณาปรับปรุงแผนพัฒนาการผลิตอ้อย ปี 2544 - 2549 ให้เป็นระบบทั้งวงจร โดยให้รับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีคณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป ซึ่งคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 เห็นว่าการพิจารณาเรื่องอ้อยนั้น ต้องพิจารณาทั้งระบบให้ครบวงจรทั้งการผลิตอ้อยและน้ำตาลทราย การตลาด การแปรรูป การคุ้มครองประโยชน์ของเกษตรกรและอื่น ๆ ฉะนั้น คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายซึ่งเป็นองค์กรหลักดูแลเรื่องนี้ รวมทั้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งหมดจะต้องประสานงานกันเพื่อวิเคราะห์เรื่องนี้อย่างรอบคอบและเป็นระบบให้เห็นความเชื่อมโยงในภาพรวมอย่างรอบด้าน ดังนี้
1. ด้านการผลิต ควรพิจารณาประเด็นต่าง ๆ เพิ่มเติม เช่น
1.1 การส่งเสริมให้ผลิตอ้อยในเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับอ้อยโรงงานและลดพื้นที่ปลูกอ้อยนอกเขตฯย่อมส่งผลกระทบต่อกลุ่มเกษตรกรที่เพาะปลูกนอกเขตฯ จึงต้องพิจารณาหาทางเลือกในการเพาะปลูกพืชชนิดอื่นให้แก่เกษตรกรในกลุ่มนี้ด้วย
1.2 การส่งเสริมประสิทธิภาพการผลิตเพื่อให้ได้ผลผลิตต่อไร่ที่สูงขึ้น อาจส่งผลให้ปริมาณการผลิตมีมากเกินไป และราคาในตลาดลดลงได้ จึงต้องพิจารณาหามาตรการอื่นมาดำเนินควบคู่ไปด้วย เช่น การลดพื้นที่เพาะปลูกเป็นต้น
2. ด้านการตลาด ควรพิจารณาภาพรวมให้เชื่อมโยงตั้งแต่อ้อย น้ำตาล รวมทั้งสินค้าแปรรูปอื่น ๆ ที่ใช้น้ำตาลเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญ เช่น ลูกกวาด ผลไม้กระป๋อง เป็นต้น โดยพิจารณาแนวทางและมาตรการส่งเสริมการผลิตสินค้าแปรรูปเหล่านี้ให้มากขึ้น รวมทั้งการเพิ่มศักยภาพในการแบ่งปันในตลาดโลกให้สูงขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 ก.ย.44--
-สส-