ทำเนียบรัฐบาล--23 ม.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พ.ศ. …. ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการและสำนักงาน ปปง. ในการประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการที่สำนักงาน ปปง. จะดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายได้ผลอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีในความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงิน ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้เชิญหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลแพ่ง ศาลอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. กรมศุลกากร และธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมประชุมจัดทำเป็นร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ หรือจับกุมดำเนินคดีในความผิดมูลฐานให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนด้วยว่ามีหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินด้วยหรือไม่ หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินฐานใดฐานหนึ่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานนั้น ๆ ด้วย แล้วรีบรายงานให้สำนักงานทราบ
2. ในคดีความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน หากเลขาธิการเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ อาจขอเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยตนเองหรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยก็ได้
3. เมื่อเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงใดเป็นสาระสำคัญแห่งคดี อาจขอให้พนักงานสอบสวนซักถามในประเด็นนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ถ้าพนักงานสอบสวนไม่เห็นด้วยให้เลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทำบันทึกเหตุผลพร้อมความเห็นรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานอัยการต่อไป
4. ค่าใช้จ่ายในการส่งและสำเนาสำนวนการสอบสวนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานตามระเบียบนี้ ให้เบิกจ่ายจากเงินที่สำนักงานได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณเป็นรายปีหรือเงินที่ได้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้
5. ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือส่งเจ้าหน้าที่หรือบุคคลเข้าร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอให้ร่วมเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการซุกซ่อนหรือเก็บรักษาทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรือเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อการตรวจค้น หรือการติดตาม ตรวจสอบ หรือยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานใด ๆ
6. ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าถึงบัญชีลูกค้าของสถาบันการเงินเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารที่ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสาร ให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกหรือส่งเจ้าหน้าที่หรือบุคคลเข้าร่วมดำเนินการกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ศาลได้อนุญาตนั้น
7. ในคดีความผิดมูลฐานที่สำนักงานขอทราบ หรือความผิดฐานฟอกเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับคำร้องของพนักงานอัยการที่ร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินหรือให้คืนทรัพย์สินนั้น ให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องพร้อมเหตุผล หรือคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล พร้อมข้อเสนอแนะให้สำนักงานทราบ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการประสานงานในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 พ.ศ. …. ตามที่สำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ เนื่องจากพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ. 2542 มีบทบัญญัติเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเลขาธิการและสำนักงาน ปปง. ในการประสานงานกับส่วนราชการ หน่วยงาน และบุคคลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการที่สำนักงาน ปปง. จะดำเนินการดังกล่าวเพื่อให้การปฏิบัติเป็นไปตามกฎหมายได้ผลอย่างจริงจังและมีประสิทธิภาพ จำเป็นจะต้องได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีในความผิดมูลฐานและความผิดฐานฟอกเงิน ตลอดจนหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิด รวมทั้งหน่วยงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงได้เชิญหน่วยงานที่ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าว อาทิ สำนักงานอัยการสูงสุด ศาลแพ่ง ศาลอาญา สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงาน ป.ป.ช. กรมศุลกากร และธนาคารแห่งประเทศไทย มาร่วมประชุมจัดทำเป็นร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีในเรื่องนี้ขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในกรณีที่มีการร้องทุกข์หรือกล่าวโทษ หรือจับกุมดำเนินคดีในความผิดมูลฐานให้พนักงานสอบสวนดำเนินการสอบสวนด้วยว่ามีหรือมีเหตุอันควรเชื่อว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินด้วยหรือไม่ หากปรากฏว่ามีการกระทำความผิดฐานฟอกเงินฐานใดฐานหนึ่งให้ดำเนินการสืบสวนสอบสวนในความผิดฐานนั้น ๆ ด้วย แล้วรีบรายงานให้สำนักงานทราบ
2. ในคดีความผิดมูลฐานหรือความผิดฐานฟอกเงิน หากเลขาธิการเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการปฏิบัติหน้าที่ อาจขอเข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยตนเองหรือให้พนักงานเจ้าหน้าที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนด้วยก็ได้
3. เมื่อเลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ที่เข้าร่วมฟังการสอบสวนเห็นว่าข้อเท็จจริงใดเป็นสาระสำคัญแห่งคดี อาจขอให้พนักงานสอบสวนซักถามในประเด็นนั้น ๆ ด้วยก็ได้ ถ้าพนักงานสอบสวนไม่เห็นด้วยให้เลขาธิการหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ทำบันทึกเหตุผลพร้อมความเห็นรวมไว้ในสำนวนการสอบสวนเพื่อประกอบการพิจารณาของพนักงานอัยการต่อไป
4. ค่าใช้จ่ายในการส่งและสำเนาสำนวนการสอบสวนและค่าใช้จ่ายอื่นในการปฏิบัติหน้าที่ของสำนักงานตามระเบียบนี้ ให้เบิกจ่ายจากเงินที่สำนักงานได้รับการจัดสรรจากสำนักงบประมาณเป็นรายปีหรือเงินที่ได้ขอทำความตกลงกับกระทรวงการคลังเพื่อนำมาใช้เป็นค่าใช้จ่ายตามระเบียบนี้
5. ให้พนักงานฝ่ายปกครองหรือตำรวจหรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือส่งเจ้าหน้าที่หรือบุคคลเข้าร่วมกับพนักงานเจ้าหน้าที่ตามที่ร้องขอให้ร่วมเข้าไปในเคหสถาน สถานที่ หรือยานพาหนะใด ๆ ที่มีเหตุอันควรสงสัยว่ามีการซุกซ่อนหรือเก็บรักษาทรัพย์สินเกี่ยวกับการกระทำความผิดหรือพยานหลักฐานที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงินหรือเกี่ยวกับการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เพื่อการตรวจค้น หรือการติดตาม ตรวจสอบ หรือยึดหรืออายัดทรัพย์สินหรือพยานหลักฐานใด ๆ
6. ในกรณีที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตตามคำขอของพนักงานเจ้าหน้าที่เพื่อเข้าถึงบัญชีลูกค้าของสถาบันการเงินเครื่องมือหรืออุปกรณ์ในการสื่อสารที่ถูกใช้หรืออาจถูกใช้เพื่อประโยชน์ในการกระทำความผิด ให้ผู้ที่เกี่ยวข้องกับบัญชี ข้อมูลทางการสื่อสาร ให้ความร่วมมืออำนวยความสะดวกหรือส่งเจ้าหน้าที่หรือบุคคลเข้าร่วมดำเนินการกับพนักงานเจ้าหน้าที่ที่ศาลได้อนุญาตนั้น
7. ในคดีความผิดมูลฐานที่สำนักงานขอทราบ หรือความผิดฐานฟอกเงินหรือการดำเนินการเกี่ยวกับทรัพย์สิน เมื่อพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้อง หรือศาลมีคำสั่งถึงที่สุดไม่รับคำร้องของพนักงานอัยการที่ร้องขอให้ทรัพย์สินที่เกี่ยวกับการกระทำความผิดตกเป็นของแผ่นดินหรือให้คืนทรัพย์สินนั้น ให้พนักงานอัยการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องพร้อมเหตุผล หรือคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาล พร้อมข้อเสนอแนะให้สำนักงานทราบ เพื่อนำเสนอคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 23 ม.ค. 2544--
-สส-