ทำเนียบรัฐบาล--20 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 1/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในระเทศ หรือ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าร้อยละ 6.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเล็กน้อย
1.1 ด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรคือ สาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลงได้แก่ สาขาการเงินและการธนาคาร และสาขาเกษตร
1.2 ด้านการใช้จ่าย ส่วนใหญ่มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาล รายจ่าย การสะสมทุนซึ่งนับว่าสูงขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนเครื่องจักรเครื่องมือและยานพาหนะ ขณะเดียวกันการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในไตรมาสนี้ สำหรับการใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าน้อยกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยก็ตาม ส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันการนำเข้าก็เพิ่มสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
2. ภาคการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวในไตรมาสนี้
- สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ขยายตัวเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกเป็นปัจจัยนำ อาทิ การผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ การผลิตวิทยุโทรทัศน์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้บางอุตสาหกรรมเป็นการขยายตัวตามตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการผลิตโลหะพื้นฐานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- สาขาก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างในเขตเทศบาล ภูมิภาคนอกกรุงเทพมหานคร ส่วนมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากมีข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุน
- สาขาการค้าส่งค้าปลีก ปริมาณการค้าในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นผลต่อเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคการผลิต การนำเข้าและส่งออกสินค้า และการอุปโภคบริโภคในประเทศ
- สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยการขนส่งสินค้าทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 บริการการบินเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการชะลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในด้านบริการโทรคมนาคมและการสื่อสารก็ขยายตัวประมาณร้อยละ 10.0 จากโทรคมนาคมและการสื่อสารภายในประเทศ
- สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 9.9 เป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผลมาจากการขยายบริการ ซึ่งในไตรมาสนี้มีการขยายเขตบริการของการประปาส่วนภูมิภาคให้กว้างขึ้น
- สาขาการผลิตอื่น ๆ เช่น โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9 สาขาเหมืองแร่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ซึ่งส่วนใหญ่คือการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
2.2 สาขาการผลิตที่ผลิตลดลงในไตรมาสนี้
- สาขาเกษตรกรรม โดยมีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เพราะมีพืชผลสำคัญที่เก็บเกี่ยวได้ในไตรมาสนี้ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และสับปะรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตข้าวซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33.0 ของสาขาพืชผลเก็บเกี่ยวได้ลดลงเนื่องจากปีเพาะปลูกที่แล้วสภาวะฝนมาเร็วกว่าปกติเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น เป็นผลให้ผลผลิตข้าวปลายฤดูในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 มีน้อยลง อย่างไรก็ตามหมวดปศุสัตว์ก็ยังผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ทั้งการเพิ่มขึ้นของโค กระบือ สุกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ
- ผลผลิตหมวดประมง ลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว สาเหตุสำคัญเนื่องจากอากาศหนาวในตอนต้นปี ทำให้ผลผลิตกุ้งบางส่วนในไตรมาสนี้เสียหาย นอกจากนี้ผลจากที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นก็ทำให้การทำประมงลดลงด้วยเช่นกัน
- สาขาการเงินการธนาคาร ยังคงหดตัวร้อยละ 4.3 ปรับตัวดีขึ้นมากจากปี 2542 เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายลดลง
3. ภาคการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 5.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากภาวะรายได้ของประเทศโดยรวมที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่ในอัตราต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน โดยหมวดรายจ่ายหลัก ๆ ที่ขยายตัว คือ หมวดสินค้าเกษตรการบริโภคผักและผลไม้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มประเภทเบียร์ นอกจากนั้นการใช้จ่ายเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องนุ่งห่มก็ขยายตัวสูง หมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนยานพาหนะก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูงเช่นกัน
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาล ในไตรมาสแรกปี 2543 มีมูลค่า 130,347 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลจากการใช้นโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐขยายตัวร้อยละ 43.6
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 17.7 ประกอบด้วยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้นการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.6 ของการลงทุนภาคเอกชนรวมขยายตัวร้อยละ 18.3 สินค้าทุนสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องมือเครื่องจักรอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนการก่อสร้างซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 22.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกร้อยละ 3.5 ในไตรมาสนี้หลังจากการหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา
สำหรับการลงทุนภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 22.0 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อเครื่องบิน 5 ลำ ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐบาลได้ลดลงร้อยละ 0.5 จากการที่รัฐบาลได้ตัดทอนรายจ่ายการลงทุนในปีงบประมาณ 2543 ที่ไม่จำเป็น เพราะมีภาระด้านรายจ่ายประจำมากขึ้น
4. ภาคต่างประเทศ
4.1 การส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัวในอัตราสูงมากอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ที่สำคัญคือสินค้าในหมวดอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากบริการในไตรมาสนี้กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอลง ขณะเดียวกันรายรับจากบริการอื่น ๆ ก็ปรับตัวลดลง
4.2 การนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 ประกอบด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และบริการเพิ่มร้อยละ 10.8 สินค้านำเข้าที่สำคัญและขยายตัวสูงยังคงเป็นสินค้าทุน รองลงมาคือ วัตถุดิบและสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนในด้านบริการนั้น ในไตรมาสนี้ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากแต่การใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยเริ่มปรับตัวชะลอลง
4.3 ดุลการค้าและดุลบริการ ในไตรมาสแรกของปีนี้เกินดุล 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 173,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้ดังกล่าวประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP Deflator เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 0.2 ภายหลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี 2542 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.8 และ 2.0 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบรายงานผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศไตรมาสที่ 1/2543 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ สรุปได้ ดังนี้
1. เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในระเทศ หรือ GDP ยังคงขยายตัวอย่างต่อเนื่อง โดยเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 5.2 ต่ำกว่าร้อยละ 6.2 ในไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วเล็กน้อย
1.1 ด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรคือ สาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลงได้แก่ สาขาการเงินและการธนาคาร และสาขาเกษตร
1.2 ด้านการใช้จ่าย ส่วนใหญ่มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น โดยเฉพาะการใช้จ่ายภาครัฐบาล รายจ่าย การสะสมทุนซึ่งนับว่าสูงขึ้นอย่างมากทั้งในส่วนเครื่องจักรเครื่องมือและยานพาหนะ ขณะเดียวกันการลงทุนด้านสิ่งก่อสร้างได้ส่งสัญญาณการขยายตัวเป็นบวกครั้งแรกในไตรมาสนี้ สำหรับการใช้จ่ายของครัวเรือนยังคงขยายตัวต่อเนื่องแม้ว่าน้อยกว่าไตรมาสที่แล้วเล็กน้อยก็ตาม ส่วนการส่งออกยังคงขยายตัวสูงต่อเนื่อง แต่ขณะเดียวกันการนำเข้าก็เพิ่มสูงในอัตราที่ใกล้เคียงกัน
2. ภาคการผลิต
2.1 สาขาการผลิตที่มีการขยายตัวในไตรมาสนี้
- สาขาอุตสาหกรรม ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 9.5 โดยมีอุตสาหกรรมเทคโนโลยีสมัยใหม่ ที่ขยายตัวเกี่ยวเนื่องกับการส่งออกเป็นปัจจัยนำ อาทิ การผลิตเครื่องปรับอากาศ ตู้เย็น และคอมเพรสเซอร์ การผลิตวิทยุโทรทัศน์ อุตสาหกรรมอัญมณีและเครื่องประดับ นอกจากนี้บางอุตสาหกรรมเป็นการขยายตัวตามตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่สำคัญได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ อุตสาหกรรมยานยนต์ ส่งผลต่อเนื่องไปยังการผลิตโลหะพื้นฐานที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นด้วยเช่นกัน
- สาขาก่อสร้าง ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 เป็นผลมาจากการก่อสร้างภาคเอกชนที่ปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.7 โดยเฉพาะอย่างยิ่งการก่อสร้างในเขตเทศบาล ภูมิภาคนอกกรุงเทพมหานคร ส่วนมูลค่าเพิ่มของการก่อสร้างภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเพียงร้อยละ 0.1 เนื่องจากมีข้อจำกัดในการจัดสรรงบประมาณเพื่อการลงทุน
- สาขาการค้าส่งค้าปลีก ปริมาณการค้าในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 3.2 เป็นผลต่อเนื่องมาจากการขยายตัวของภาคการผลิต การนำเข้าและส่งออกสินค้า และการอุปโภคบริโภคในประเทศ
- สาขาคมนาคมและขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 โดยการขนส่งสินค้าทางบกเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.0 บริการการบินเพิ่มขึ้นในอัตราที่ค่อนข้างต่ำ ประมาณร้อยละ 1.0 ซึ่งส่วนหนึ่งมาจากการชะลอตัวลงของจำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ในด้านบริการโทรคมนาคมและการสื่อสารก็ขยายตัวประมาณร้อยละ 10.0 จากโทรคมนาคมและการสื่อสารภายในประเทศ
- สาขาไฟฟ้า ประปา และโรงแยกก๊าซ ขยายตัวร้อยละ 9.9 เป็นไปตามภาวะการผลิตและการจำหน่ายที่เพิ่มขึ้น ขณะเดียวกันก็มีผลมาจากการขยายบริการ ซึ่งในไตรมาสนี้มีการขยายเขตบริการของการประปาส่วนภูมิภาคให้กว้างขึ้น
- สาขาการผลิตอื่น ๆ เช่น โรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9 สาขาเหมืองแร่ขยายตัวร้อยละ 13.8 ซึ่งส่วนใหญ่คือการขยายตัวของการขุดเจาะก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดิบ
2.2 สาขาการผลิตที่ผลิตลดลงในไตรมาสนี้
- สาขาเกษตรกรรม โดยมีผลผลิตลดลงร้อยละ 1.6 เนื่องมาจากการผลิตพืชผลลดลงร้อยละ 2.2 ทั้งนี้เพราะมีพืชผลสำคัญที่เก็บเกี่ยวได้ในไตรมาสนี้ลดลง ได้แก่ ข้าว ยางพารา ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และสับปะรด โดยเฉพาะอย่างยิ่งผลผลิตข้าวซึ่งมีสัดส่วนประมาณร้อยละ 33.0 ของสาขาพืชผลเก็บเกี่ยวได้ลดลงเนื่องจากปีเพาะปลูกที่แล้วสภาวะฝนมาเร็วกว่าปกติเอื้ออำนวยต่อการเพาะปลูกและเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้น เป็นผลให้ผลผลิตข้าวปลายฤดูในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 มีน้อยลง อย่างไรก็ตามหมวดปศุสัตว์ก็ยังผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ทั้งการเพิ่มขึ้นของโค กระบือ สุกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ
- ผลผลิตหมวดประมง ลดลงร้อยละ 8.0 ต่อเนื่องจากไตรมาสที่แล้ว สาเหตุสำคัญเนื่องจากอากาศหนาวในตอนต้นปี ทำให้ผลผลิตกุ้งบางส่วนในไตรมาสนี้เสียหาย นอกจากนี้ผลจากที่ราคาน้ำมันสูงขึ้นก็ทำให้การทำประมงลดลงด้วยเช่นกัน
- สาขาการเงินการธนาคาร ยังคงหดตัวร้อยละ 4.3 ปรับตัวดีขึ้นมากจากปี 2542 เนื่องจากสถาบันการเงินส่วนใหญ่มีรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายลดลง
3. ภาคการใช้จ่าย
3.1 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของครัวเรือน ในไตรมาสนี้ขยายตัวร้อยละ 5.0 ปรับตัวเพิ่มขึ้น โดยมีปัจจัยสนับสนุนมาจากภาวะรายได้ของประเทศโดยรวมที่ยังคงขยายตัวเพิ่มขึ้น ระดับราคาสินค้าอุปโภคบริโภคที่อยู่ในอัตราต่ำ และอัตราดอกเบี้ยที่อยู่ในระดับต่ำเช่นเดียวกัน โดยหมวดรายจ่ายหลัก ๆ ที่ขยายตัว คือ หมวดสินค้าเกษตรการบริโภคผักและผลไม้ หมวดอาหารและเครื่องดื่มประเภทเบียร์ นอกจากนั้นการใช้จ่ายเสื้อผ้า รองเท้าและเครื่องนุ่งห่มก็ขยายตัวสูง หมวดเครื่องเรือนและของใช้ในครัวเรือน เครื่องใช้ไฟฟ้า ตลอดจนยานพาหนะก็เพิ่มขึ้นต่อเนื่องในอัตราสูงเช่นกัน
3.2 รายจ่ายเพื่อการอุปโภคบริโภคของภาครัฐบาล ในไตรมาสแรกปี 2543 มีมูลค่า 130,347 ล้านบาท มูลค่าที่แท้จริงขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ซึ่งเป็นผลจากการใช้นโยบายขาดดุลทางการคลังและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ได้ส่งผลทำให้ค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐขยายตัวร้อยละ 43.6
3.3 การสะสมทุนถาวรเบื้องต้น ขยายตัวร้อยละ 17.7 ประกอบด้วยภาคเอกชนเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 และภาครัฐบาลเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.0 โดยในส่วนของภาคเอกชนนั้นการลงทุนด้านเครื่องมือเครื่องจักรซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 77.6 ของการลงทุนภาคเอกชนรวมขยายตัวร้อยละ 18.3 สินค้าทุนสำคัญ ๆ ที่ขยายตัว ได้แก่ ยานพาหนะ เครื่องใช้สำนักงาน และเครื่องมือเครื่องจักรอื่น ๆ เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการนำเข้าจากต่างประเทศ ส่วนการก่อสร้างซึ่งมีสัดส่วน ร้อยละ 22.4 ปรับตัวเพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกร้อยละ 3.5 ในไตรมาสนี้หลังจากการหดตัวอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่เกิดภาวะวิกฤตเศรษฐกิจเป็นต้นมา
สำหรับการลงทุนภาครัฐบาล ในไตรมาสนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้นในอัตราค่อนข้างสูงประมาณร้อยละ 22.0 ซึ่งเป็นผลมาจากการใช้จ่ายซื้อเครื่องบิน 5 ลำ ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐบาลได้ลดลงร้อยละ 0.5 จากการที่รัฐบาลได้ตัดทอนรายจ่ายการลงทุนในปีงบประมาณ 2543 ที่ไม่จำเป็น เพราะมีภาระด้านรายจ่ายประจำมากขึ้น
4. ภาคต่างประเทศ
4.1 การส่งออกสินค้าและบริการที่แท้จริง (Real term) ในไตรมาสนี้ยังคงขยายตัวในอัตราสูงมากอย่างต่อเนื่อง โดยขยายตัวร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 ที่สำคัญคือสินค้าในหมวดอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากบริการในไตรมาสนี้กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว เนื่องจากรายรับจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศชะลอลง ขณะเดียวกันรายรับจากบริการอื่น ๆ ก็ปรับตัวลดลง
4.2 การนำเข้าสินค้าและบริการที่แท้จริง เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 ประกอบด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และบริการเพิ่มร้อยละ 10.8 สินค้านำเข้าที่สำคัญและขยายตัวสูงยังคงเป็นสินค้าทุน รองลงมาคือ วัตถุดิบและสินค้าเพื่อการอุปโภคบริโภค ส่วนในด้านบริการนั้น ในไตรมาสนี้ค่าใช้จ่ายด้านการขนส่งเพิ่มสูงขึ้นค่อนข้างมากแต่การใช้จ่ายเดินทางไปต่างประเทศของคนไทยเริ่มปรับตัวชะลอลง
4.3 ดุลการค้าและดุลบริการ ในไตรมาสแรกของปีนี้เกินดุล 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 173,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้ดังกล่าวประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
5. ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ ดัชนีราคาผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP Deflator เพิ่มขึ้นเป็นครั้งแรกในอัตราร้อยละ 0.2 ภายหลังจากการลดลงอย่างต่อเนื่องมาตลอดปี 2542 ซึ่งอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงดัชนีราคาผู้บริโภคและดัชนีราคาขายส่งซึ่งขยายตัวร้อยละ 0.8 และ 2.0 ตามลำดับ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 19 มิ.ย. 2543--
-สส-