คณะรัฐมนตรีพิจารณาตามที่กระทรวงกลาโหมเสนอ การดำเนินการโครงการของกองทัพเรือ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบรายละเอียดการดำเนินการโครงการและเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนความจำเป็นในการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และการจ้างซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7
เนื่องจากปัจจุบันกองทัพเรือใช้เรือฟริเกตและเรือคอร์เวต ปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวน ตรวจการณ์การณ์รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลปราบปรามการลักลอบการค้าน้ำมันเถื่อนและยาเสพติด ตลอดจนรักษากฎหมายในทะเลตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งพื้นที่อ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน แต่เรือฟริเกตฯ ที่ใช้งานอยู่ มีหลายลำที่มีอายุใช้ราชการมานานกว่า 40 ปี ทำให้ระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในเรือล้าสมัย มีสภาพทรุดโทรม และกำลังทยอยปลดประจำการ จึงจำเป็นต้องจัดหาเรือทดแทนเพื่อใช้ในภารกิจดังกล่าว และภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่จะจัดหาเป็นเรือขนาดกลาง มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 1,000 ตัน ขึ้นไป มีความคงทนทะเลสูงและสามารถออกปฏิบัติภารกิจในทะเลได้ยาวนาน ตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติงานและการซ่อมบำรุงรักษาต่ำ เนื่องจากเป็นเรือที่มีระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบที่ไม่สลับซับซ้อน และมีจำนวนกำลังพลประจำเรือไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเรือฟริเกต ดังนั้นการจัดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป สำหรับประเด็นของการดำเนินการจัดหานั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ กรณีเป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษโดยมีบริษัทที่ผ่านการพิจารณาแบบเรือขั้นต้นมาเสนอราคาจำนวน5 ราย ผลการดำเนินการได้ข้อยุติว่า บริษัทร่วมค้าระหว่างบริษัท China Shipbuilding Trading CO.,LTD. กับบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เสนอรายละเอียดของแบบเรือและข้อเสนอทางเทคนิคตรงตามความต้องการทางยุทธการที่กองทัพเรือกำหนดมากที่สุด และยินดีลดราคาลงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น 3,428,391,200 บาท ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตรวจสอบรายละเอียดแล้วเห็นว่า การดำเนินการจัดจ้างสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือตั้งแต่การคัดเลือกแบบขั้นต้น การเชิญชวนให้บริษัทเสนอราคา การเจรจาและการคัดเลือกผู้รับจ้าง เป็นไปด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพเรือจ้างเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากในระหว่างการรอผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี บริษัท China Shipbuilding Trading CO.,LTD. ไม่ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างได้ กองทัพเรือจึงได้เสนอขออนุมัติยกเลิกการจ้าง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติยกเลิกการจ้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน2544 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการหาผู้รับจ้างรายใหม่ต่อไป
2. อนุมัติให้กองทัพเรือระงับการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 เป็นโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินทางทะเล แบบ CL-215
ทั้งนี้ ในปี 2539 กองทัพเรือได้จัดหาเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ จำนวน 18 เครื่อง จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้าประจำการ ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องบินแบบดังกล่าวนี้ จะต้องเข้ารับการซ่อมบำรุงระดับโรงงานทุกวงรอบ 48 เดือน แต่เนื่องจากกองทัพเรือไม่มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงระดับดังกล่าว กองทัพเรือจึงได้จัดทำโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ จำนวน 4 เครื่อง วงเงินรวม 334,110,000 บาท โดยจะพิจารณาจ้างบริษัท Hellenic Aerospace Industry (HAI) ประเทศกรีซ (เป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำการซ่อมอากาศยานให้กับกองทัพอากาศและกองทัพเรือกรีซ) ซึ่งเสนอเงื่อนไขและราคาดีที่สุด แต่เนื่องจากเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ ดังกล่าวเป็นยุทโธปกรณ์ที่จัดซื้อจากรัฐบาลสหรัฐฯ การจะให้ HAI ดำเนินการซ่อมทำจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐฯ (Third Party Transfer) ก่อน ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการร้องขอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ตามขั้นตอนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ ทำให้กองทัพเรือเกิดความไม่มั่นใจและเกรงว่า หากไม่สามารถทำสัญญาผูกพันได้ตามกำหนด อาจเป็นเหตุให้งบประมาณปี พ.ศ. 2544 จำนวน 66,822,000บาท ต้องพับไป ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทัพเรือจึงขอเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 เป็นโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินทางทะเลแบบ CL-125 ซึ่งเป็นโครงการมีความจำเป็นเร่งด่วนรองลงมา แต่อย่างไรก็ดีกองทัพเรือได้พิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่าการดำเนินการขออนุญาตรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อส่งเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 ไปซ่อมทำระดับโรงงานที่ประเทศกรีซมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาที่จะดำเนินการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนสูงกว่าต่อไป และขอถอนเรื่องการเสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้กองทัพเรือขยายระยะเวลาการกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 ของโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 640,000,000 บาท และโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 จำนวน 66,822,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 706,822,000 บาท ไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน จากเดิมภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เป็นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2545 เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
4. ให้กระทรวงกลาโหมเร่งรัดให้กองทัพเรือดำเนินการขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ของโครงการทั้งสอง ให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2545 ด้วย เพื่อมิให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2544 ของกองทัพเรือ ที่ขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ ต้องพับคืนคลังไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพเรือต่อไปในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
1. รับทราบรายละเอียดการดำเนินการโครงการและเงื่อนไขต่าง ๆ ตลอดจนความจำเป็นในการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่ง และการจ้างซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7
เนื่องจากปัจจุบันกองทัพเรือใช้เรือฟริเกตและเรือคอร์เวต ปฏิบัติภารกิจในการลาดตระเวน ตรวจการณ์การณ์รักษาฝั่ง ป้องกันการแทรกซึม คุ้มครองเรือประมง ช่วยเหลือผู้ประสบภัยทางทะเลปราบปรามการลักลอบการค้าน้ำมันเถื่อนและยาเสพติด ตลอดจนรักษากฎหมายในทะเลตามที่ได้รับมอบหมาย ทั้งพื้นที่อ่าวไทยและฝั่งทะเลอันดามัน แต่เรือฟริเกตฯ ที่ใช้งานอยู่ มีหลายลำที่มีอายุใช้ราชการมานานกว่า 40 ปี ทำให้ระบบต่าง ๆ ที่ใช้ในเรือล้าสมัย มีสภาพทรุดโทรม และกำลังทยอยปลดประจำการ จึงจำเป็นต้องจัดหาเรือทดแทนเพื่อใช้ในภารกิจดังกล่าว และภารกิจอื่นตามที่ได้รับมอบหมาย ประกอบกับเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งที่จะจัดหาเป็นเรือขนาดกลาง มีระวางขับน้ำตั้งแต่ 1,000 ตัน ขึ้นไป มีความคงทนทะเลสูงและสามารถออกปฏิบัติภารกิจในทะเลได้ยาวนาน ตลอดจนเสียค่าใช้จ่ายในการออกปฏิบัติงานและการซ่อมบำรุงรักษาต่ำ เนื่องจากเป็นเรือที่มีระบบอาวุธและระบบอำนวยการรบที่ไม่สลับซับซ้อน และมีจำนวนกำลังพลประจำเรือไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับเรือฟริเกต ดังนั้นการจัดเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือจึงมีความจำเป็นต้องดำเนินการต่อไป สำหรับประเด็นของการดำเนินการจัดหานั้น กองทัพเรือได้ดำเนินการโดยวิธีพิเศษ กรณีเป็นงานที่ต้องจ้างช่างผู้มีฝีมือโดยเฉพาะ หรือผู้มีความชำนาญเป็นพิเศษโดยมีบริษัทที่ผ่านการพิจารณาแบบเรือขั้นต้นมาเสนอราคาจำนวน5 ราย ผลการดำเนินการได้ข้อยุติว่า บริษัทร่วมค้าระหว่างบริษัท China Shipbuilding Trading CO.,LTD. กับบริษัท อู่กรุงเทพ จำกัด เสนอรายละเอียดของแบบเรือและข้อเสนอทางเทคนิคตรงตามความต้องการทางยุทธการที่กองทัพเรือกำหนดมากที่สุด และยินดีลดราคาลงเหลือเป็นเงินทั้งสิ้น 3,428,391,200 บาท ซึ่งกระทรวงกลาโหมได้ตรวจสอบรายละเอียดแล้วเห็นว่า การดำเนินการจัดจ้างสร้างเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งของกองทัพเรือตั้งแต่การคัดเลือกแบบขั้นต้น การเชิญชวนให้บริษัทเสนอราคา การเจรจาและการคัดเลือกผู้รับจ้าง เป็นไปด้วยความโปร่งใสและยุติธรรม สอดคล้องกับระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตลอดจนรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติให้กองทัพเรือจ้างเรียบร้อยแล้ว แต่เนื่องจากในระหว่างการรอผลการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี บริษัท China Shipbuilding Trading CO.,LTD. ไม่ยอมรับข้อกำหนดและเงื่อนไขในส่วนที่เป็นสาระสำคัญของสัญญาจ้างได้ กองทัพเรือจึงได้เสนอขออนุมัติยกเลิกการจ้าง ซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้อนุมัติยกเลิกการจ้าง เมื่อวันที่ 5 พฤศจิกายน2544 ที่ผ่านมา ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินการหาผู้รับจ้างรายใหม่ต่อไป
2. อนุมัติให้กองทัพเรือระงับการขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 เป็นโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินทางทะเล แบบ CL-215
ทั้งนี้ ในปี 2539 กองทัพเรือได้จัดหาเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ จำนวน 18 เครื่อง จากรัฐบาลสหรัฐอเมริกาเข้าประจำการ ซึ่งโดยปกติแล้วเครื่องบินแบบดังกล่าวนี้ จะต้องเข้ารับการซ่อมบำรุงระดับโรงงานทุกวงรอบ 48 เดือน แต่เนื่องจากกองทัพเรือไม่มีขีดความสามารถในการซ่อมบำรุงระดับดังกล่าว กองทัพเรือจึงได้จัดทำโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ จำนวน 4 เครื่อง วงเงินรวม 334,110,000 บาท โดยจะพิจารณาจ้างบริษัท Hellenic Aerospace Industry (HAI) ประเทศกรีซ (เป็นรัฐวิสาหกิจที่ทำการซ่อมอากาศยานให้กับกองทัพอากาศและกองทัพเรือกรีซ) ซึ่งเสนอเงื่อนไขและราคาดีที่สุด แต่เนื่องจากเครื่องบินโจมตีทางทะเลฯ ดังกล่าวเป็นยุทโธปกรณ์ที่จัดซื้อจากรัฐบาลสหรัฐฯ การจะให้ HAI ดำเนินการซ่อมทำจะต้องได้รับอนุญาตจากรัฐบาลสหรัฐฯ (Third Party Transfer) ก่อน ซึ่งกองทัพเรือได้ดำเนินการร้องขอต่อรัฐบาลสหรัฐฯ ตามขั้นตอนแล้ว แต่ยังไม่ได้รับคำตอบ ทำให้กองทัพเรือเกิดความไม่มั่นใจและเกรงว่า หากไม่สามารถทำสัญญาผูกพันได้ตามกำหนด อาจเป็นเหตุให้งบประมาณปี พ.ศ. 2544 จำนวน 66,822,000บาท ต้องพับไป ดังนั้น เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาดังกล่าว กองทัพเรือจึงขอเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ จากโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 เป็นโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินทางทะเลแบบ CL-125 ซึ่งเป็นโครงการมีความจำเป็นเร่งด่วนรองลงมา แต่อย่างไรก็ดีกองทัพเรือได้พิจารณาทบทวนแล้วเห็นว่าการดำเนินการขออนุญาตรัฐบาลสหรัฐฯ เพื่อส่งเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 ไปซ่อมทำระดับโรงงานที่ประเทศกรีซมีความก้าวหน้าเป็นอย่างมาก จึงได้พิจารณาที่จะดำเนินการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 ซึ่งมีความจำเป็นเร่งด่วนสูงกว่าต่อไป และขอถอนเรื่องการเสนอขออนุมัติเปลี่ยนแปลงรายการก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณต่อไป
3. ให้กระทรวงการคลังพิจารณาอนุมัติให้กองทัพเรือขยายระยะเวลาการกันเงินงบประมาณปี พ.ศ. 2544 ของโครงการจัดหาเรือตรวจการณ์ไกลฝั่งจำนวน 640,000,000 บาท และโครงการซ่อมคืนสภาพเครื่องบินโจมตีทางทะเล แบบ A-7 จำนวน 66,822,000 บาท รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 706,822,000 บาท ไว้เบิกเหลื่อมปี กรณีไม่มีหนี้ผูกพัน จากเดิมภายในวันที่ 29 พฤศจิกายน 2544 เป็นภายในวันที่ 31 มีนาคม 2545 เป็นกรณีพิเศษเฉพาะราย
4. ให้กระทรวงกลาโหมเร่งรัดให้กองทัพเรือดำเนินการขออนุมัติก่อหนี้ผูกพันข้ามปีงบประมาณ ของโครงการทั้งสอง ให้แล้วเสร็จทันภายในวันที่ 31 มีนาคม 2545 ด้วย เพื่อมิให้งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณพ.ศ. 2544 ของกองทัพเรือ ที่ขออนุมัติกันเงินไว้เบิกเหลื่อมปีกรณีไม่มีหนี้ ต้องพับคืนคลังไป ซึ่งจะทำให้เกิดปัญหาต่อการบริหารงบประมาณของกองทัพเรือต่อไปในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-