ทำเนียบรัฐบาล--10 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น
2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระดับโลก
3. ลดการพึ่งพาหรือการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ มีการแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาระยะสั้น
1.1 กำหนดให้ตัวชี้วัดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในการประเมินผลงานขององค์กรของรัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ โดยให้มีผลต่อการจัดประเภทของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการประเมินผลงานของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในรัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐมากยิ่งขึ้น และเพิ่มศักยภาพการดำเนินวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
หน่วยงานดำเนินการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงต่าง ๆ ที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการ
1.2 กำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต้องมีการวิเคราะห์ "ผลกระทบทางด้านขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ" และความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง โดยอาจเริ่มเฉพาะในบางส่วนของโครงการก่อน เพื่อทำให้ทุกโครงการของรัฐมีองค์ประกอบที่จะผลักดันให้มีการสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เองบางส่วนในโครงการขนาดใหญ่ พร้อมทั้งลดการพึ่งพาหรือการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
หน่วยงานดำเนินการ ทุกส่วนงานของรัฐ (ผู้เสนอโครงการ) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ในฐานะผู้วิเคราะห์โครงการ)
1.3 สนับสนุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้เน้นการทำวิจัยมากกว่าการเข้าชั้นเรียนแบบปกติเช่นในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมที่มีผลต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และสร้างฐานความรู้ทางด้านการวิจัยในการศึกษาระดับสูง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดหน่วยวิจัยเฉพาะทางและนักวิจัยเพิ่มมากขึ้น
หน่วยงานดำเนินการ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนหัวข้อวิจัยและทุนวิจัย
1.4 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบพึ่งตนเองมากขึ้นภายในประเทศ รวมทั้งสนับสนุนผู้ผลิตภายในประเทศที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ต้องเสียภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบหากผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายภายในประเทศ ให้ผู้ผลิตเหล่านี้ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบสำหรับในกรณีที่มีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (เฉพาะกรณีสินค้าตามข้อตกลง ITA 1) เพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้ใช้สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผลิตโดยโรงงานในประเทศในราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าสำเร็จรูป
หน่วยงานดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลัง
2. แนวทางการพัฒนาระยะยาว
2.1 สนับสนุนหน่วยงานวิจัยที่มีอยู่แล้วให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับสูงต่อไปได้ (Center for Advanced Study) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะมีผลต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และส่งเสริมการสร้างงานวิจัยระดับสูง และเป็นลักษณะเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนานักวิจัยแบบต่อเนื่อง
2.2 พัฒนาฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่องานวิจัยระดับสูงทางด้านต่าง ๆ อาทิ Bio-Resource of Thailand ฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ฐานข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยใช้กลไกด้านเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาเฉพาะด้านของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยมีความเข้าใจในการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ตลอดจนสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจพิจารณาแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ตามที่กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมเสนอ แล้วมีมติเห็นชอบแนวทางการส่งเสริมและพัฒนาสารสนเทศและเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งมีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ
1. เพิ่มขีดความสามารถในการพึ่งตนเองทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มากขึ้น
2. เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีการค้าระดับอนุภูมิภาค ภูมิภาค และระดับโลก
3. ลดการพึ่งพาหรือการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
นอกจากนี้ มีการแบ่งการดำเนินการออกเป็น 2 ระยะ ดังนี้
1. แนวทางการพัฒนาระยะสั้น
1.1 กำหนดให้ตัวชี้วัดด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมทั้งการวิจัยและพัฒนาเป็นตัวชี้วัดตัวหนึ่งในการประเมินผลงานขององค์กรของรัฐ โดยเฉพาะรัฐวิสาหกิจ โดยให้มีผลต่อการจัดประเภทของรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งการประเมินผลงานของหน่วยงาน เพื่อให้เกิดองค์ความรู้ในรัฐวิสาหกิจและองค์กรของรัฐมากยิ่งขึ้น และเพิ่มศักยภาพการดำเนินวิจัยและพัฒนาด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศไทย
หน่วยงานดำเนินการ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน กระทรวงการคลัง สำนักงานปลัดกระทรวงต่าง ๆ ที่กำกับดูแลรัฐวิสาหกิจและส่วนราชการ
1.2 กำหนดให้โครงการขนาดใหญ่ของรัฐที่จะนำเข้าสู่การพิจารณาของคณะรัฐมนตรีต้องมีการวิเคราะห์ "ผลกระทบทางด้านขีดความสามารถทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของประเทศ" และความเป็นไปได้ในการพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เอง โดยอาจเริ่มเฉพาะในบางส่วนของโครงการก่อน เพื่อทำให้ทุกโครงการของรัฐมีองค์ประกอบที่จะผลักดันให้มีการสร้างขีดความสามารถด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในโครงการนั้น ๆ ซึ่งจะเป็นการสร้างความสามารถในการดูดซับเทคโนโลยีจากต่างประเทศ และทำให้เกิดการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีขึ้นใช้เองบางส่วนในโครงการขนาดใหญ่ พร้อมทั้งลดการพึ่งพาหรือการนำเข้าเทคโนโลยีจากต่างประเทศ
หน่วยงานดำเนินการ ทุกส่วนงานของรัฐ (ผู้เสนอโครงการ) และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (ในฐานะผู้วิเคราะห์โครงการ)
1.3 สนับสนุนการศึกษาในระดับบัณฑิตศึกษาให้เน้นการทำวิจัยมากกว่าการเข้าชั้นเรียนแบบปกติเช่นในปัจจุบัน เพื่อสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมที่มีผลต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และสร้างฐานความรู้ทางด้านการวิจัยในการศึกษาระดับสูง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดหน่วยวิจัยเฉพาะทางและนักวิจัยเพิ่มมากขึ้น
หน่วยงานดำเนินการ กระทรวงศึกษาธิการ ทบวงมหาวิทยาลัย สถาบันวิจัยต่าง ๆ ซึ่งมีหน้าที่สนับสนุนหัวข้อวิจัยและทุนวิจัย
1.4 สนับสนุนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศแบบพึ่งตนเองมากขึ้นภายในประเทศ รวมทั้งสนับสนุนผู้ผลิตภายในประเทศที่ไม่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน และผู้ผลิตที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนที่ต้องเสียภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบหากผลิตภัณฑ์มีการจำหน่ายภายในประเทศ ให้ผู้ผลิตเหล่านี้ได้รับสิทธิการยกเว้นภาษีอากรนำเข้าวัตถุดิบสำหรับในกรณีที่มีการผลิตสินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศ (เฉพาะกรณีสินค้าตามข้อตกลง ITA 1) เพื่อสนับสนุนให้คนไทยได้ใช้สินค้าเทคโนโลยีสารสนเทศที่ผลิตโดยโรงงานในประเทศในราคาที่ต่ำกว่าการนำเข้าสำเร็จรูป
หน่วยงานดำเนินการ สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน และกระทรวงการคลัง
2. แนวทางการพัฒนาระยะยาว
2.1 สนับสนุนหน่วยงานวิจัยที่มีอยู่แล้วให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น และเพิ่มขีดความสามารถในการพัฒนาให้เป็นศูนย์กลางการศึกษาระดับสูงต่อไปได้ (Center for Advanced Study) ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมใหม่ที่จะมีผลต่อการสร้างธุรกิจใหม่ และส่งเสริมการสร้างงานวิจัยระดับสูง และเป็นลักษณะเบ็ดเสร็จ ซึ่งจะส่งผลให้เกิดการพัฒนานักวิจัยแบบต่อเนื่อง
2.2 พัฒนาฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่องานวิจัยระดับสูงทางด้านต่าง ๆ อาทิ Bio-Resource of Thailand ฐานข้อมูลทางด้านเศรษฐกิจของประเทศ ฐานข้อมูลทางด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรม โดยใช้กลไกด้านเครือข่ายความร่วมมือ ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมให้เกิดความพร้อมในการวิจัยและพัฒนาเฉพาะด้านของประเทศ ซึ่งจะส่งผลให้คนไทยมีความเข้าใจในการศึกษาด้วยตนเองมากขึ้น ตลอดจนสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันในระดับภูมิภาคและระดับโลกได้
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 9 ต.ค. 2543--
-สส-