ทำเนียบรัฐบาล--12 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์แทนมันสำปะหลัง ตามนโยบายของรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำหน่ายหนี้เงินกู้ตามโครงการของเกษตรกรในโครงการทุกราย จำนวน 12,799 ราย ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ
2. อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้รับข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
2.1 อนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ ธ.ก.ส. เพื่อชดเชยหนี้สูญภายในวงเงิน 185.10 ล้านบาท ตามจำนวนต้นเงินคงค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 โดยขอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ดำเนินการตรวจรับรองข้อมูลก่อน ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะได้พิจารณางบประมาณปี 2544 ที่เหลือจ่ายจากของ ธ.ก.ส. เอง มาชดเชยหนี้สูญดังกล่าวก่อน ส่วนที่เหลือจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้ตามความจำเป็นและกำลังงบประมาณเป็นปี ๆ ไป
2.2 สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตว่า ในโอกาสต่อไปหากโครงการตามนโยบายหรือโครงการตามที่หน่วยงานของรัฐส่งเสริมหรือให้คำแนะนำเกิดปัญหาขึ้น ขอให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งเข้าช่วยแก้ปัญหาในโอกาสแรก และหากปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบในวงกว้าง ขอให้หน่วยงานเร่งรายงานเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาในทันที
2.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเห็นว่า เนื่องจากเป็นหนี้ที่มีสาเหตุและเงื่อนไขเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2541 ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้มีการตรวจสอบเป็นรายครัวเรือนแล้ว ดังนั้นการจะบังคับชำระหนี้ในระยะต่อไป อาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกร สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรหลังจากได้รับการแก้ไขปัญหาตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น เห็นควรให้การช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพ โดยผ่านขบวนการช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสฟื้นฟูอาชีพ พัฒนาสภาพความเป็นอยู่และประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง โดยมีองค์กรที่รับผิดชอบติดตามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้ต่อไปอย่างมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. อนุมัติในหลักการเกี่ยวกับมาตรการและแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรในโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์ ซึ่งจะช่วยบรรเทาปัญหาหนี้ของเกษตรกรผู้เข้าร่วมโครงการส่งเสริมการปลูกมะม่วงหิมพานต์แทนมันสำปะหลัง ตามนโยบายของรัฐบาลได้ในระดับหนึ่ง โดยให้ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จำหน่ายหนี้เงินกู้ตามโครงการของเกษตรกรในโครงการทุกราย จำนวน 12,799 ราย ออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ
2. อนุมัติงบประมาณเพื่อชดเชยให้แก่ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ในการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าว ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ และให้รับข้อสังเกตและความเห็นเพิ่มเติมของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และสำนักงบประมาณ ไปพิจารณาดำเนินการต่อไปด้วย ดังนี้
2.1 อนุมัติเงินงบประมาณรายจ่ายประจำปีให้ ธ.ก.ส. เพื่อชดเชยหนี้สูญภายในวงเงิน 185.10 ล้านบาท ตามจำนวนต้นเงินคงค้างชำระ ณ วันที่ 31 มีนาคม 2543 โดยขอให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ดำเนินการตรวจรับรองข้อมูลก่อน ทั้งนี้ สำนักงบประมาณจะได้พิจารณางบประมาณปี 2544 ที่เหลือจ่ายจากของ ธ.ก.ส. เอง มาชดเชยหนี้สูญดังกล่าวก่อน ส่วนที่เหลือจะได้พิจารณาจัดสรรงบประมาณรายจ่ายให้ตามความจำเป็นและกำลังงบประมาณเป็นปี ๆ ไป
2.2 สำนักงบประมาณมีข้อสังเกตว่า ในโอกาสต่อไปหากโครงการตามนโยบายหรือโครงการตามที่หน่วยงานของรัฐส่งเสริมหรือให้คำแนะนำเกิดปัญหาขึ้น ขอให้หน่วยงานเจ้าของโครงการเร่งเข้าช่วยแก้ปัญหาในโอกาสแรก และหากปัญหาดังกล่าวมีผลกระทบในวงกว้าง ขอให้หน่วยงานเร่งรายงานเสนอความเห็นต่อคณะรัฐมนตรีเพื่อพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาในทันที
2.3 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์มีความเห็นว่า เนื่องจากเป็นหนี้ที่มีสาเหตุและเงื่อนไขเข้าข่ายตามหลักเกณฑ์การจำหน่ายหนี้สูญตามระเบียบของสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรกรแห่งชาติ พ.ศ. 2541 ซึ่ง ธ.ก.ส. ได้มีการตรวจสอบเป็นรายครัวเรือนแล้ว ดังนั้นการจะบังคับชำระหนี้ในระยะต่อไป อาจไม่คุ้มกับค่าใช้จ่ายและก่อให้เกิดผลกระทบด้านสังคมและความเป็นอยู่ของเกษตรกร สำหรับการช่วยเหลือเกษตรกรหลังจากได้รับการแก้ไขปัญหาตามแนวทางดังกล่าวข้างต้นแล้วนั้น เห็นควรให้การช่วยเหลือฟื้นฟูอาชีพ โดยผ่านขบวนการช่วยเหลือตามพระราชบัญญัติกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร พ.ศ. 2542 ซึ่งจะช่วยให้เกษตรกรมีโอกาสฟื้นฟูอาชีพ พัฒนาสภาพความเป็นอยู่และประกอบอาชีพเกษตรกรรมของตนเอง โดยมีองค์กรที่รับผิดชอบติดตามอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ทำให้เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพการเกษตรได้ต่อไปอย่างมั่นคง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 ธ.ค. 2543--
-สส-