ทำเนียบรัฐบาล--1 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)รายงานสถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งชี้ให้เห็นภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทุกสาขา ดังสรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในเดือนมกราคม (ระหว่างวันที่ 1 - 21 มกราคม) มีจำนวน 5,188.10 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.48 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และปริมาณสะสม 4 เดือนของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - 21 มกราคม 2543) มีจำนวน 27,614.50 ล้านหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76 ของช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2542
ปริมาณผลิตและซื้อพลังงาน ปริมาณผลิตและซื้อพลังงาน
ไฟฟ้ารายเดือน (ล้านหน่วย) ไฟฟ้าสะสม (ล้านหน่วย)
ปีงบประมาณ 2542 2543 อัตราเพิ่ม(%) 2542 2543 อัตราเพิ่ม(%)
ตุลาคม 7,590.72 7,923.10 4.38 7,590.72 7,923.10 4.38
พฤศจิกายน 7,104.96 7,603.00 7.01 14,695.68 15,526.10 5.65
ธันวาคม 6,841.92 6,900.30 0.85 21,537.60 22,426.40 4.13
1 - 21 มกราคม 4,571.90 5,188.10 13.48 26,109.50 27,614.50 5.76
2. การใช้ไฟฟ้าประจำวันพุธที่ 12 มกราคม 2543 สูงกว่าวันเดียวกันของปี 2540, 2541 และ 2542 ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง โดยในช่วงบ่ายสูงสุด 13,306 เมกะวัตต์ (เวลา 14.00 น.) ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพมหานคร 33.3 องศาเซลเซียส และในช่วงเย็นสูงสุด 13,595.5 เมกะวัตต์ (เวลา 19.00 น)
3. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 30 วันทำการของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุด (30 Days Moving Average) ของปี2538 - 2543) พบว่าในเดือนมกราคม 2543 สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของช่วงปีดังกล่าว
4. ค่าความสัมพันธ์ของอัตราเพิ่มความต้องการไฟฟ้ากับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (หรือที่เรียกว่าค่าความยืดหยุ่น) ในช่วงปี 2532 - 2543 คาดว่าหากเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 (ตามตัวเลขประมาณการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนการประกาศตัวเลข คาดการณ์ใหม่ร้อยละ 4.4 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543) แล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24 หรือค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 2.8
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.)รายงานสถานการณ์ความต้องการใช้พลังงานไฟฟ้า ซึ่งชี้ให้เห็นภาวะการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในทุกสาขา ดังสรุปได้ดังนี้
1. ความต้องการพลังงานไฟฟ้าในเดือนมกราคม (ระหว่างวันที่ 1 - 21 มกราคม) มีจำนวน 5,188.10 ล้านหน่วย เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.48 จากเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และปริมาณสะสม 4 เดือนของปีงบประมาณ 2543 (ตุลาคม 2542 - 21 มกราคม 2543) มีจำนวน 27,614.50 ล้านหน่วยเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.76 ของช่วงเดียวกันของปีงบประมาณ 2542
ปริมาณผลิตและซื้อพลังงาน ปริมาณผลิตและซื้อพลังงาน
ไฟฟ้ารายเดือน (ล้านหน่วย) ไฟฟ้าสะสม (ล้านหน่วย)
ปีงบประมาณ 2542 2543 อัตราเพิ่ม(%) 2542 2543 อัตราเพิ่ม(%)
ตุลาคม 7,590.72 7,923.10 4.38 7,590.72 7,923.10 4.38
พฤศจิกายน 7,104.96 7,603.00 7.01 14,695.68 15,526.10 5.65
ธันวาคม 6,841.92 6,900.30 0.85 21,537.60 22,426.40 4.13
1 - 21 มกราคม 4,571.90 5,188.10 13.48 26,109.50 27,614.50 5.76
2. การใช้ไฟฟ้าประจำวันพุธที่ 12 มกราคม 2543 สูงกว่าวันเดียวกันของปี 2540, 2541 และ 2542 ตลอดทั้ง 24 ชั่วโมง โดยในช่วงบ่ายสูงสุด 13,306 เมกะวัตต์ (เวลา 14.00 น.) ซึ่งอุณหภูมิสูงสุดของกรุงเทพมหานคร 33.3 องศาเซลเซียส และในช่วงเย็นสูงสุด 13,595.5 เมกะวัตต์ (เวลา 19.00 น)
3. ค่าเฉลี่ยเคลื่อนที่ 30 วันทำการของความต้องการใช้ไฟฟ้าสูงสุดและต่ำสุด (30 Days Moving Average) ของปี2538 - 2543) พบว่าในเดือนมกราคม 2543 สูงที่สุดเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของช่วงปีดังกล่าว
4. ค่าความสัมพันธ์ของอัตราเพิ่มความต้องการไฟฟ้ากับอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ (หรือที่เรียกว่าค่าความยืดหยุ่น) ในช่วงปี 2532 - 2543 คาดว่าหากเศรษฐกิจขยายตัวร้อยละ 4.0 ในปี 2543 (ตามตัวเลขประมาณการเดิมของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ก่อนการประกาศตัวเลข คาดการณ์ใหม่ร้อยละ 4.4 เมื่อวันที่ 10 มกราคม 2543) แล้ว ความต้องการใช้ไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.24 หรือค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 2.8
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 มกราคม 2543--