ทำเนียบรัฐบาล--16 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - กัมพูชา และมอบอำนาจให้ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่ผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันลงนามในความตกลงความร่วมมือทางการค้าและวิชาการ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยเห็นพ้องกันที่จะให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการค้า ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ นั้น
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Draft Memorandum of Understanding on the Establishment of the Joint Thailand - Combodia Committee on Trade) และกระทรวงพาณิชย์กัมพูชามีหนังสือแจ้งว่า ฝ่ายกัมพูชาเห็นด้วยกับร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ฝ่ายไทยเสนอ โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะมีการร่วมลงนามในวันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีดังนี้
1. คณะกรรมการร่วมทางการค้ามีหน้าที่
- จัดประชุมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาทบทวนการพัฒนาด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดสาขาด้านการค้าที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
- เสนอแนะมาตรการต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการขยายตัวและการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบทางการค้าระหว่างสองประเทศ
- ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งแสวงหาแนวทางอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายปริมาณการค้า
- จัดตั้งคณะทำงานตามความจำเป็น เพื่อดำเนินกิจกรรมซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนั้น ๆ
- สนับสนุนการติดต่อร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ
2. การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะจัดขึ้นในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาตามวันและเวลาที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน โดยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของแต่ละประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน โดยมีองค์ประกอบผู้แทนจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้าไทย - กัมพูชา และมอบอำนาจให้ (นายศุภชัย พานิชภักดิ์) รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นผู้ลงนามในบันทึกความเข้าใจฯ ดังกล่าว ตามข้อเสนอของกระทรวงพาณิชย์ ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์รายงานว่า ตามที่ผู้แทนทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันลงนามในความตกลงความร่วมมือทางการค้าและวิชาการ เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2542 ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา โดยเห็นพ้องกันที่จะให้มีการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Joint Trade Committee : JTC) เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจาส่งเสริมความสัมพันธ์และความร่วมมือด้านการค้า ตลอดจนเพื่อแก้ไขปัญหาต่างๆ ด้านการค้าที่เกิดขึ้นระหว่างสองประเทศ นั้น
กระทรวงพาณิชย์ได้จัดทำร่างบันทึกความเข้าใจว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการร่วมทางการค้า (Draft Memorandum of Understanding on the Establishment of the Joint Thailand - Combodia Committee on Trade) และกระทรวงพาณิชย์กัมพูชามีหนังสือแจ้งว่า ฝ่ายกัมพูชาเห็นด้วยกับร่างบันทึกความเข้าใจฯ ที่ฝ่ายไทยเสนอ โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจดังกล่าวจะมีการร่วมลงนามในวันที่ 22 พฤษภาคม 2543 ณ กรุงเทพมหานคร ทั้งนี้ สรุปสาระสำคัญของร่างบันทึกความเข้าใจฯ มีดังนี้
1. คณะกรรมการร่วมทางการค้ามีหน้าที่
- จัดประชุมหารือและแลกเปลี่ยนข้อมูลด้านการค้าและอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
- พิจารณาทบทวนการพัฒนาด้านการค้าและด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนกำหนดสาขาด้านการค้าที่เป็นประโยชน์ร่วมกัน
- เสนอแนะมาตรการต่อรัฐบาลของแต่ละประเทศ ซึ่งมุ่งเน้นการขยายตัวและการพัฒนาปรับปรุงรูปแบบทางการค้าระหว่างสองประเทศ
- ร่วมมือกันแก้ไขปัญหาและอุปสรรคทางการค้าที่มีอยู่ระหว่างสองประเทศ รวมทั้งแสวงหาแนวทางอื่น ๆ ที่เป็นไปได้เพื่อบรรลุถึงเป้าหมายปริมาณการค้า
- จัดตั้งคณะทำงานตามความจำเป็น เพื่อดำเนินกิจกรรมซึ่งอยู่ในอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการชุดนั้น ๆ
- สนับสนุนการติดต่อร่วมมือกันระหว่างภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ
2. การประชุมคณะกรรมการร่วมทางการค้าจะจัดขึ้นในประเทศไทยและประเทศกัมพูชาตามวันและเวลาที่ทั้งสองฝ่ายได้ตกลงกัน โดยจะสลับกันเป็นเจ้าภาพการประชุม โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ของแต่ละประเทศจะเป็นหัวหน้าคณะผู้แทน โดยมีองค์ประกอบผู้แทนจากภาครัฐบาลและภาคเอกชนของทั้งสองประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-