แท็ก
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความคืบหน้าโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ตามที่คณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) เสนอ ดังนี้
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จำนวน 7,400 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โดยกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณไปยังหมู่บ้าน/ชุมชน ทั่วประเทศโดยตรง จำนวน 38,250 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 และมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 208/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 นั้น คณะกรรมการฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และได้บริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ซึ่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 ได้จัดสรรไปยังหมู่บ้าน/ชุมชนตามขนาดของจำนวนประชากรโดยตรงทั่วประเทศแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 34,980 แห่ง เป็นเงินจำนวน 8,200.03 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 91 ของงบประมาณที่ตั้งไว้ (9,000 ล้านบาท) โดยเปรียบเทียบเป้าหมายและผลการโอนเงินให้หมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน (แห่ง) งบประมาณ (ล้านบาท)
เป้าหมาย 38,250 9,000.00
ผลการโอนเงิน 34,980 8,200.03
มีหมู่บ้าน/ชุมชนผ่านเกณฑ์ความพร้อมที่กำหนดไว้ จำนวน 51,234 แห่ง ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 12,123 แห่ง
ปัจจุบัน โอนเงินให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 34,980 แห่ง วงเงิน 8,200.03 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.45 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
เหลือหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 3,270 แห่ง จะครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถโอนเงินให้ได้ภายในต้นเดือนตุลาคม 2548
สรุปลักษณะโครงการที่พบจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้านสวัสดิการชุมชน (38.52%) สร้างศูนย์สาธิตการตลาดหรือร้านค้าชุมชน , สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์ต้านยาเสพติด , สร้างอาคารร้านค้าชุมชน , สร้างปั๊มน้ำมันเพื่อชุมชน และเสียงตามสาย ด้านสาธารณูปโภค (30.27%) โครงการสร้างร่องระบายน้ำ , สร้างศาลาประชาคม , สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก , ประปาหมู่บ้าน/ประปาภูเขา , ซ่อมแซมถนนลูกรังริมไหล่ทาง และโครงการผลิตน้ำดื่ม ด้านอื่น ๆ (16.57%) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำหมู่บ้าน , ปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน , อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น , จัดซื้อเครื่องดนตรีไทยประจำหมู่บ้าน และสอนกลองยาวประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ด้านการเกษตร (8.68%) สร้างโรงสีข้าวชุมชน , ปลูกผักปลอดสารพิษ , เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ , ซื้อรถสีข้าว และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ด้านส่งเสริมรายได้/อาชีพ (5.96%) กลุ่มเย็บผ้าอุตสาหกรรม , ศูนย์ฝึกอาชีพทอผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์การทอ , สร้างตลาดชุมชน , ส่งเสริมกลุ่มสตรีทอผ้าไหม และอิฐบล็อคชุมชน
สรุปปัญหา/อุปสรรคที่พบจากการดำเนินงานในระดับพื้นที่
1. ประชาชนยังขาดความเข้าใจในแนวทางและวิธีการทำประชาคมในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ในบางกรณีจะพบว่ามีการชี้นำจากกลุ่มคนบางกลุ่ม ส่งผลให้โครงการที่ได้ ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนโดยส่วนรวม
2. ประชาชนในหลายพื้นที่ ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ และต้องการให้มีผู้สื่อสารที่มีความรู้อย่างแท้จริงลงพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
3. ผู้สื่อสาร ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน และส่วนราชการในระดับพื้นที่ เป็นต้น มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทั้งประเทศ (โดยเฉพาะเมื่อต้องการขยายผลทุกหมู่บ้าน/ชุมชน)
4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการในระดับพื้นที่ และส่วนราชการส่วนกลาง ยังขาดประสิทธิภาพเนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน บุคลากร และเครื่องมือสำหรับกรอกข้อมูลซึ่ง มีจำนวนมาก เป็นต้น
5. การประชาสัมพันธ์ในบางพื้นที่ เช่น ในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดน และเขตพื้นที่ทุรกันดาร ไม่สามารถทำได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าร่วมโครงการของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ
6. คู่มือและ VCD แนะนำโครงการไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้ดำเนินการแล้ว
1. เร่งรัดแผนประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางและวิธีการทำประชาคมของประชาชน เพื่อให้โครงการที่ได้เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตยของชุมชน
2. เพิ่มจำนวนอาสาสมัครพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีมากขึ้น โดยใช้เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่
3. ขยายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และกรมพัฒนาชุมชน โดยจะจัดการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางของโครงการมากยิ่งขึ้น เพื่อลงพื้นที่ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล/พื้นที่ตามแนวชายแดน
4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลตั้งแต่ระดับพื้นที่ สู่ส่วนกลาง และเข้าสู่ฐานข้อมูลกลางที่สำนักงาน SML เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็ว
5. ผลิตคู่มือและ VCD แนะนำโครงการเพิ่มเติม และจัดส่งให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สถาบันการศึกษา องค์กรผู้นำชุมชน ฯลฯ เพื่อเป็นกลไกเสริมในการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในระดับพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ตุลาคม 2548--จบ--
ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบและอนุมัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2548 จำนวน 7,400 ล้านบาท เพื่อดำเนินการตามโครงการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) โดยกำหนดให้มีการจัดสรรงบประมาณไปยังหมู่บ้าน/ชุมชน ทั่วประเทศโดยตรง จำนวน 38,250 แห่ง ทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 12 เมษายน 2548 และมีมติรับทราบคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ 208/2548 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน (SML) ลงวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2548 เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน 2548 นั้น คณะกรรมการฯ ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามอำนาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย และได้บริหารจัดการงบประมาณที่ได้รับการจัดสรร ซึ่ง ณ วันที่ 30 กันยายน 2548 ได้จัดสรรไปยังหมู่บ้าน/ชุมชนตามขนาดของจำนวนประชากรโดยตรงทั่วประเทศแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 34,980 แห่ง เป็นเงินจำนวน 8,200.03 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 91 ของงบประมาณที่ตั้งไว้ (9,000 ล้านบาท) โดยเปรียบเทียบเป้าหมายและผลการโอนเงินให้หมู่บ้าน/ชุมชน ดังนี้
จำนวนหมู่บ้าน/ชุมชน (แห่ง) งบประมาณ (ล้านบาท)
เป้าหมาย 38,250 9,000.00
ผลการโอนเงิน 34,980 8,200.03
มีหมู่บ้าน/ชุมชนผ่านเกณฑ์ความพร้อมที่กำหนดไว้ จำนวน 51,234 แห่ง ซึ่งมากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ถึง 12,123 แห่ง
ปัจจุบัน โอนเงินให้หมู่บ้าน/ชุมชนแล้ว จำนวนทั้งสิ้น 34,980 แห่ง วงเงิน 8,200.03 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 91.45 ของเป้าหมายที่กำหนดไว้
เหลือหมู่บ้าน/ชุมชน จำนวน 3,270 แห่ง จะครบตามเป้าหมายที่กำหนดไว้ ซึ่งคาดว่าจะสามารถโอนเงินให้ได้ภายในต้นเดือนตุลาคม 2548
สรุปลักษณะโครงการที่พบจากการดำเนินงานที่ผ่านมา ด้านสวัสดิการชุมชน (38.52%) สร้างศูนย์สาธิตการตลาดหรือร้านค้าชุมชน , สร้างสนามกีฬาอเนกประสงค์ต้านยาเสพติด , สร้างอาคารร้านค้าชุมชน , สร้างปั๊มน้ำมันเพื่อชุมชน และเสียงตามสาย ด้านสาธารณูปโภค (30.27%) โครงการสร้างร่องระบายน้ำ , สร้างศาลาประชาคม , สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก , ประปาหมู่บ้าน/ประปาภูเขา , ซ่อมแซมถนนลูกรังริมไหล่ทาง และโครงการผลิตน้ำดื่ม ด้านอื่น ๆ (16.57%) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กประจำหมู่บ้าน , ปรับปรุงภูมิทัศน์ชุมชน , อนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่น , จัดซื้อเครื่องดนตรีไทยประจำหมู่บ้าน และสอนกลองยาวประจำหมู่บ้าน/ชุมชน ด้านการเกษตร (8.68%) สร้างโรงสีข้าวชุมชน , ปลูกผักปลอดสารพิษ , เครื่องอัดเม็ดปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ , ซื้อรถสีข้าว และผลิตปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ ด้านส่งเสริมรายได้/อาชีพ (5.96%) กลุ่มเย็บผ้าอุตสาหกรรม , ศูนย์ฝึกอาชีพทอผ้าพื้นเมืองพร้อมอุปกรณ์การทอ , สร้างตลาดชุมชน , ส่งเสริมกลุ่มสตรีทอผ้าไหม และอิฐบล็อคชุมชน
สรุปปัญหา/อุปสรรคที่พบจากการดำเนินงานในระดับพื้นที่
1. ประชาชนยังขาดความเข้าใจในแนวทางและวิธีการทำประชาคมในหมู่บ้าน/ชุมชน ทำให้ในบางกรณีจะพบว่ามีการชี้นำจากกลุ่มคนบางกลุ่ม ส่งผลให้โครงการที่ได้ ไม่สอดคล้องกับความต้องการที่แท้จริงของประชาชนโดยส่วนรวม
2. ประชาชนในหลายพื้นที่ ขาดความเข้าใจเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินโครงการ และต้องการให้มีผู้สื่อสารที่มีความรู้อย่างแท้จริงลงพื้นที่เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจแก่ประชาชน
3. ผู้สื่อสาร ได้แก่ อาสาสมัครพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน และส่วนราชการในระดับพื้นที่ เป็นต้น มีจำนวนน้อย ไม่เพียงพอต่อความต้องการที่แท้จริงของประชาชนทั้งประเทศ (โดยเฉพาะเมื่อต้องการขยายผลทุกหมู่บ้าน/ชุมชน)
4. การประสานงานระหว่างส่วนราชการในระดับพื้นที่ และส่วนราชการส่วนกลาง ยังขาดประสิทธิภาพเนื่องจากข้อจำกัดหลายประการ เช่น ความเข้าใจในขั้นตอนการดำเนินงาน บุคลากร และเครื่องมือสำหรับกรอกข้อมูลซึ่ง มีจำนวนมาก เป็นต้น
5. การประชาสัมพันธ์ในบางพื้นที่ เช่น ในเขตพื้นที่ตามแนวชายแดน และเขตพื้นที่ทุรกันดาร ไม่สามารถทำได้ ทำให้เกิดข้อจำกัดในการเข้าร่วมโครงการของประชาชนในพื้นที่นั้น ๆ
6. คู่มือและ VCD แนะนำโครงการไม่เพียงพอต่อความต้องการของประชาชน
สรุปแนวทางการแก้ไขปัญหาที่ได้ดำเนินการแล้ว
1. เร่งรัดแผนประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในหมู่บ้าน/ชุมชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งแนวทางและวิธีการทำประชาคมของประชาชน เพื่อให้โครงการที่ได้เป็นไปตามความต้องการที่แท้จริงของประชาชนโดยส่วนรวมและเป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตยของชุมชน
2. เพิ่มจำนวนอาสาสมัครพัฒนาศักยภาพของหมู่บ้าน/ชุมชน ให้มีมากขึ้น โดยใช้เครือข่ายสถาบันอุดมศึกษาทั่วประเทศ โดยแบ่งความรับผิดชอบอย่างชัดเจนเพื่อให้ง่ายต่อการให้บริการประชาชนในพื้นที่
3. ขยายความร่วมมือและสร้างพันธมิตรกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนา และกรมพัฒนาชุมชน โดยจะจัดการอบรมเพิ่มเติมเพื่อให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในแนวทางของโครงการมากยิ่งขึ้น เพื่อลงพื้นที่ให้คำแนะนำและความช่วยเหลือประชาชนในการดำเนินโครงการ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่ห่างไกล/พื้นที่ตามแนวชายแดน
4. พัฒนาระบบสารสนเทศเพื่อการจัดเก็บ รวบรวม และประมวลผลข้อมูลตั้งแต่ระดับพื้นที่ สู่ส่วนกลาง และเข้าสู่ฐานข้อมูลกลางที่สำนักงาน SML เพื่อเป็นศูนย์กลางข้อมูลที่เป็นระบบ มีประสิทธิภาพ ถูกต้อง และรวดเร็ว
5. ผลิตคู่มือและ VCD แนะนำโครงการเพิ่มเติม และจัดส่งให้ประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น รวมทั้งเผยแพร่ให้ผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ๆ เช่น สถาบันการศึกษา องค์กรผู้นำชุมชน ฯลฯ เพื่อเป็นกลไกเสริมในการสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนในระดับพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 ตุลาคม 2548--จบ--