ทำเนียบรัฐบาล--11 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) รับทราบความเห็นของภาคเอกชนในภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกและแนวโน้มตลอดทั้งปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2543
1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP พบว่า เศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วในอัตราร้อยละ 5.2 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 และดีกว่าอัตราการขยายตัวของไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2
1.2 ด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรคือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก โดยสาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 สาขาการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 1.1 สาขาคมนาคมขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9
ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลงคือ สาขาเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 1.6 โดยพืชเกษตรหลักลดลงร้อยละ 2.2 มีเพียงหมวดปศุสัตว์ที่ยังผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ทั้งการเพิ่มขึ้นของโค กระบือ สุกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ และสาขาการเงินการธนาคาร ยังคงหดตัวร้อยละ 4.3 แต่นับว่าเป็นการปรับตัวดีขึ้นมากจากปี 2542 เนื่องจากสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่มีรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายลดลง
1.3 ภาคการใช้จ่าย ส่วนใหญ่มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้
1) การใช้จ่ายภาครัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เป็นผลจากนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6
2) การใช้จ่ายของครัวเรือน ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 5.0 ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อย
3) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 17.7 แบ่งเป็น
- การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ทั้งในส่วนเครื่องจักรเครื่องมือ และยานพาหนะ และที่สำคัญคือ การลงทุนด้านสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของการลงทุนรวมของประเทศ
- การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 22.0 ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐบาลได้ลดลงร้อยละ 0.5
1.4 ภาคต่างประเทศ
1) มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐาน (2531) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากบริการในไตรมาสนี้กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
2) มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการในราคาปีฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 เป็นการเพิ่มในอัตราที่สูงกว่าอัตราเพิ่มของการส่งออก ประกอบด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และบริการเพิ่มร้อยละ 10.8
3) ดุลการค้าและดุลบริการในมูลค่าปัจจุบัน เกินดุล 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 173,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้ดังกล่าวประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
2. แนวโน้มตลอดทั้งปี 2543
2.1 เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ ทั้งอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.9 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของปีที่แล้ว และดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่อง ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยบวกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น คือ
1) สภาพคล่องทางการเงิน โดยที่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มขยายตัว ในขณะที่ภาคการผลิตมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการระดมทุนจากตลาดทุนทั้งเพื่อการชำระคืนหนี้และการเพิ่มทุน รวมทั้งสภาพคล่องที่เกิดจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
2) การลงทุนภาคเอกชน นับเป็นครั้งแรกที่การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างได้เริ่มแสดงให้เห็นสัญญาณการขยายตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างในต่างจังหวัด
3) การว่างงาน อัตราการว่างงานร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าร้อยละ 5.2 ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 5.8 ล้านคน เทียบกับ 5.7 ล้านคนเมื่อสิ้นปีที่แล้ว
4) ผลประกอบการธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีผลกำไร 12,599 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดทุน 30,289 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ขณะที่ธุรกิจสถาบันการเงินมีผลขาดทุนลดลง
2.2 แนวโน้มตลอดทั้งปี 2543 จากปัจจัยบวกในช่วงไตรมาสแรก และเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ที่ยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวต่อเนื่องเกือบทุกด้าน ทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การขยายสินเชื่อ การส่งเสริมการลงทุน พอจะคาดได้ว่าทั้งปีจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 โดยเป็นผลจากภาคการส่งออกทั้งปีที่จะสามารถขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 12.1 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ 6.5
2.3 การดำเนินมาตรการเพิ่มเติมภาครัฐเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
1) มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 รวม 3 ประการ คือ
- การขยายขอบข่ายและช่วงเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ โดยลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ให้กับการโอนที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างและการโอนอาคารหรืออาคารพร้อมที่ดิน รวมทั้งขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
- การลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 0.11 เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
2) การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544
2.4 เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
1) การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำต่อเนื่องในระยะยาว โดยดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เช่น การควบคุมพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย รวมทั้งกำหนดแผนยุทธศาสตร์การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรในระยะยาว รวมทั้งเตรียมความพร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบการค้าเสรีอาเซียนที่จะมีผลต่อสินค้าเกษตรไทย
2) การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งการเร่งรัดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้สามารถปลดปล่อยภาระหนี้เสียให้แยกออกไปบริหาร และสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีการเร่งรัดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และมีความพยายามที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลของลูกหนี้มาร่วมกันปรับแก้เป็นราย ๆ ไป
3) การแก้ปัญหาความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศมาตรการแก้ไขต้องเป็นมาตรการระยะยาว แต่ในขั้นต้นนี้จะต้องสนับสนุนให้นำหุ้นธุรกิจใหม่ ๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือหุ้นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) และหุ้นจากการเพิ่มบทบาทเอกชนในรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการร่วมภาครัฐบาลและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจ (กรอ.) รับทราบความเห็นของภาคเอกชนในภาพรวมของภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกและแนวโน้มตลอดทั้งปี 2543 สรุปได้ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจไตรมาสแรกของปี 2543
1.1 เศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2543 พิจารณาจากผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ หรือ GDP พบว่า เศรษฐกิจยังคงขยายตัวต่อเนื่องเพิ่มขึ้นจากไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้วในอัตราร้อยละ 5.2 ชะลอตัวลงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสสุดท้ายของปีที่แล้วที่ขยายตัวร้อยละ 6.5 และดีกว่าอัตราการขยายตัวของไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ซึ่งขยายตัวเพียงร้อยละ 0.2
1.2 ด้านการผลิต เป็นผลมาจากการขยายตัวของการผลิตนอกภาคเกษตรคือสาขาอุตสาหกรรมและสาขาบริการ ซึ่งเพิ่มขึ้นตามความต้องการภายในประเทศและการส่งออก โดยสาขาอุตสาหกรรม ขยายตัวร้อยละ 9.5 สาขาการก่อสร้าง ขยายตัวร้อยละ 1.1 สาขาคมนาคมขนส่ง ขยายตัวร้อยละ 5.6 และสาขาโรงแรมและภัตตาคาร ขยายตัวร้อยละ 2.9
ส่วนสาขาที่มีการปรับตัวลดลงคือ สาขาเกษตรกรรม ลดลงร้อยละ 1.6 โดยพืชเกษตรหลักลดลงร้อยละ 2.2 มีเพียงหมวดปศุสัตว์ที่ยังผลิตได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.8 ทั้งการเพิ่มขึ้นของโค กระบือ สุกร ไก่ ไข่ไก่ และน้ำนมดิบ และสาขาการเงินการธนาคาร ยังคงหดตัวร้อยละ 4.3 แต่นับว่าเป็นการปรับตัวดีขึ้นมากจากปี 2542 เนื่องจากสถาบันการเงิน ส่วนใหญ่มีรายได้จากดอกเบี้ยสุทธิเพิ่มขึ้น ในขณะที่ภาระค่าใช้จ่ายดอกเบี้ยจ่ายลดลง
1.3 ภาคการใช้จ่าย ส่วนใหญ่มีทิศทางการขยายตัวเพิ่มขึ้น ดังนี้
1) การใช้จ่ายภาครัฐบาล เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 เป็นผลจากนโยบายและมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาล ทำให้ค่าใช้จ่ายหมวดเงินเดือน ค่าจ้างและค่าตอบแทน เพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 และค่าซื้อสินค้าและบริการเพื่อใช้ในกิจการของรัฐเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.6
2) การใช้จ่ายของครัวเรือน ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราร้อยละ 5.0 ต่ำกว่าไตรมาสที่แล้วเพียงเล็กน้อย
3) การลงทุนในสินทรัพย์ถาวร ขยายตัวในอัตราค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 17.7 แบ่งเป็น
- การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นร้อยละ 14.6 ทั้งในส่วนเครื่องจักรเครื่องมือ และยานพาหนะ และที่สำคัญคือ การลงทุนด้านสิ่งก่อสร้าง ซึ่งมีสัดส่วนร้อยละ 22.4 ของการลงทุนรวมของประเทศ
- การลงทุนภาคเอกชน เพิ่มขึ้นค่อนข้างสูงในอัตราร้อยละ 22.0 ในขณะที่การลงทุนด้านการก่อสร้างของรัฐบาลได้ลดลงร้อยละ 0.5
1.4 ภาคต่างประเทศ
1) มูลค่าการส่งออกสินค้าและบริการในราคาปีฐาน (2531) ยังคงขยายตัวต่อเนื่องในอัตราค่อนข้างสูงถึงร้อยละ 25.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีที่แล้ว ประกอบด้วยสินค้าส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 36.1 โดยเฉพาะสินค้าอุตสาหกรรม ส่วนรายรับจากบริการในไตรมาสนี้กลับเปลี่ยนแปลงลดลงร้อยละ 6.1 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันของปีที่แล้ว
2) มูลค่าการนำเข้าสินค้าและบริการในราคาปีฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 33.8 เป็นการเพิ่มในอัตราที่สูงกว่าอัตราเพิ่มของการส่งออก ประกอบด้วยมูลค่าการนำเข้าสินค้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 39.3 และบริการเพิ่มร้อยละ 10.8
3) ดุลการค้าและดุลบริการในมูลค่าปัจจุบัน เกินดุล 136,159 ล้านบาท ลดลงจากไตรมาสเดียวกันของปีก่อนที่เกินดุล 173,895 ล้านบาท การเกินดุลในไตรมาสนี้ดังกล่าวประกอบด้วยดุลการค้าเกินดุล 80,352 ล้านบาท และดุลบริการเกินดุล 55,807 ล้านบาท
2. แนวโน้มตลอดทั้งปี 2543
2.1 เศรษฐกิจในช่วงไตรมาสแรกขยายตัวได้อย่างมีเสถียรภาพ ทั้งอัตราเงินเฟ้ออยู่ในระดับต่ำร้อยละ 0.9 ค่าเงินบาทอยู่ที่ 37 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐฯ ใกล้เคียงกับค่าเฉลี่ยของปีที่แล้ว และดุลบัญชีเดินสะพัดยังคงเกินดุลต่อเนื่อง ในขณะที่การขยายตัวทางเศรษฐกิจได้ส่งผลให้มีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ทั้งนี้ปัจจัยบวกที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น คือ
1) สภาพคล่องทางการเงิน โดยที่สินเชื่อของระบบธนาคารพาณิชย์เริ่มขยายตัว ในขณะที่ภาคการผลิตมีทางเลือกเพิ่มขึ้นในการระดมทุนจากตลาดทุนทั้งเพื่อการชำระคืนหนี้และการเพิ่มทุน รวมทั้งสภาพคล่องที่เกิดจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น
2) การลงทุนภาคเอกชน นับเป็นครั้งแรกที่การลงทุนภาคเอกชนด้านการก่อสร้างได้เริ่มแสดงให้เห็นสัญญาณการขยายตัว โดยเฉพาะการก่อสร้างในต่างจังหวัด
3) การว่างงาน อัตราการว่างงานร้อยละ 4.7 ต่ำกว่าร้อยละ 5.2 ของช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และจำนวนผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น 5.8 ล้านคน เทียบกับ 5.7 ล้านคนเมื่อสิ้นปีที่แล้ว
4) ผลประกอบการธุรกิจจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ โดยเฉพาะธุรกิจที่ไม่ใช่สถาบันการเงินมีผลกำไร 12,599 ล้านบาท เทียบกับที่ขาดทุน 30,289 ล้านบาท ในไตรมาสแรกของปีที่แล้ว ขณะที่ธุรกิจสถาบันการเงินมีผลขาดทุนลดลง
2.2 แนวโน้มตลอดทั้งปี 2543 จากปัจจัยบวกในช่วงไตรมาสแรก และเครื่องชี้เศรษฐกิจบางตัวในช่วงเดือนเมษายน - พฤษภาคม ที่ยังคงมีแนวโน้มที่ขยายตัวต่อเนื่องเกือบทุกด้าน ทั้งอัตราการใช้กำลังการผลิตภาคอุตสาหกรรม การส่งออก การขยายสินเชื่อ การส่งเสริมการลงทุน พอจะคาดได้ว่าทั้งปีจะขยายตัวได้ร้อยละ 5.0 โดยเป็นผลจากภาคการส่งออกทั้งปีที่จะสามารถขยายตัวได้สูงถึงร้อยละ 12.1 สูงกว่าที่คาดไว้เดิมร้อยละ 6.5
2.3 การดำเนินมาตรการเพิ่มเติมภาครัฐเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ
1) มาตรการส่งเสริมการฟื้นตัวของภาคอสังหาริมทรัพย์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 รวม 3 ประการ คือ
- การขยายขอบข่ายและช่วงเวลาการลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์ โดยลดค่าจดทะเบียนโอนอสังหาริมทรัพย์จากร้อยละ 2 เหลือร้อยละ 0.01 ให้กับการโอนที่ดินที่ไม่มีสิ่งปลูกสร้างและการโอนอาคารหรืออาคารพร้อมที่ดิน รวมทั้งขยายระยะเวลาการลดค่าจดทะเบียนการโอนอสังหาริมทรัพย์ออกไปอีก 1 ปี จากเดิมที่จะสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2543 เป็นสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2544
- การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับดอกเบี้ยกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย ซึ่งจะทำให้ผู้มีเงินได้สามารถหักค่าลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อที่อยู่อาศัยได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 50,000 บาท
- การลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะสำหรับรายรับจากการขายอสังหาริมทรัพย์จากเดิมร้อยละ 3.3 เป็นร้อยละ 0.11 เป็นการชั่วคราวถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2544
2) การขยายเวลาการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม จากเดิมร้อยละ 10 เป็นร้อยละ 7 ต่อไปอีก 6 เดือน จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2544
2.4 เรื่องที่ควรให้ความสำคัญเพิ่มเติมเพื่อส่งเสริมการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะยาว
1) การแก้ไขปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำต่อเนื่องในระยะยาว โดยดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร เช่น การควบคุมพื้นที่เพาะปลูกและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วย รวมทั้งกำหนดแผนยุทธศาสตร์การรักษาเสถียรภาพราคาสินค้าเกษตรในระยะยาว รวมทั้งเตรียมความพร้อมกับการเปิดเสรีทางการค้าภายใต้กรอบองค์การการค้าโลกและกรอบการค้าเสรีอาเซียนที่จะมีผลต่อสินค้าเกษตรไทย
2) การแก้ไขปัญหาหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) และการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ รวมทั้งการเร่งรัดการจัดตั้งบริษัทบริหารสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งจะทำให้สามารถปลดปล่อยภาระหนี้เสียให้แยกออกไปบริหาร และสามารถปล่อยสินเชื่อได้ตามปกติ ขณะนี้คณะรัฐมนตรีได้มีการเร่งรัดกระบวนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ และมีความพยายามที่จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องที่มีข้อมูลของลูกหนี้มาร่วมกันปรับแก้เป็นราย ๆ ไป
3) การแก้ปัญหาความซบเซาของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งได้รับผลกระทบจากปัจจัยภายนอกประเทศมาตรการแก้ไขต้องเป็นมาตรการระยะยาว แต่ในขั้นต้นนี้จะต้องสนับสนุนให้นำหุ้นธุรกิจใหม่ ๆ ประเภทที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศหรือหุ้นเศรษฐกิจใหม่ (New Economy) และหุ้นจากการเพิ่มบทบาทเอกชนในรัฐวิสาหกิจเข้าตลาดมากขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 10 ก.ค. 2543--
-สส-