คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ รายงานสถานการณ์อุทกภัย ความเสียหายและการให้ความช่วยเหลือ (ข้อมูลสะสมตั้งแต่วันที่ 10 สิงหาคม - 2 พฤศจิกายน 2544) สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 45 จังหวัด ดังนี้
ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลกแม่ฮ่องสอน สุโขทัย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี และกำแพงเพชร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคามมุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ตราด และสระแก้ว
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และภูเก็ต
พื้นที่การเกษตรประสบอุทกภัย 35 จังหวัด
ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลกแม่ฮ่องสอน สุโขทัย ลำพูน ลำปาง และอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคามบุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง
ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอ่างทอง
2. ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่หน่วยงานได้ดำเนินการไปแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดเครื่องอุปโภค - บริโภค จำนวน 1,000 ชุด นำไปแจกจ่ายผู้ประสบภัยที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักและเพาะกล้าไว้แจกจ่ายให้เกษตรกรเพาะปลูกทันทีหลังน้ำลด เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคในครอบครัว
กรมปศุสัตว์ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าเป็นการอพยพพันธุ์สัตว์ไปไว้ในที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเสบียงอาหารสัตว์การจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ให้การบริการป้องกันรักษาพยาบาลสัตว์โดยเจ้าหน้าที่และงบประมาณของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเบื้องต้นได้ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้ 1) ให้การช่วยเหลือพืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ จำนวน 1,201,272กิโลกรัม 2) ป้องกันโรคระบาดสัตว์ 13,080 ตัว 3) รักษาสัตว์ป่วย 9,145 ตัว 4) สำรองพืชอาหารสัตว์ไว้ที่ศูนย์/สถานต่าง ๆ 33 แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน 8,940 ตัน และสำรองไว้เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยประมาณ 5,000 ตัน (หญ้าแห้ง หญ้าหมัก และหญ้าสด)
กรมประมง นำยานพาหนะรถยนต์และเรือ เข้าไปช่วยลำเลียงขนส่งราษฎรและสิ่งของต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ประสบอุทกภัยให้มาอย่ในพื้นที่ที่เหมาะสม จัดข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของจำเป็นไปแจกจ่ายราษฎรเพื่อยังชีพในเบื้องต้น
การใช้เงินทดรองราชการ ช่วยเหลือ 11 จังหวัด วงเงิน 13.59 ล้านบาท ด้านพืช 2 จังหวัด วงเงิน5.58 ล้านบาท ได่แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 4.45 ล้านบาท ในอำนาจอำเภอ 11 อำเภอ ๆ ละ 5 แสนบาท วงเงิน 3.05 ล้านบาท ในอำนาจจังหวัด 1.40 ล้านบาท จังหวัดหนองคาย ในอำนาจจังหวัด 1.13 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 9 จังหวัด วงเงิน 6.28 ล้านบาท ด้านประมง 5 จังหวัด วงเงิน 1.73 ล้านบาท
กรมชลประทาน ส่งเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่ในเขตชุมชนและพื้นที่การเกษตรจำนวน 149 เครื่องส่งเครื่องผลักดันน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วม 14 เครื่อง สนับสนุนรถบรรทุกน้ำและรถบรรทุก 2 คัน
กรมป่าไม้ สำนักงานป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ หน่วยประสานงานป้องกันรักษาป่าประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2544 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2544
กรมส่งเสริมสหกรณ์
- จัดส่งเงินบริจาคจำนวน 21.725 บาท ให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น ซึ่งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำไปมอบให้แก่สมาชิก สหกรณ์ผู้ประสบภัยเรียบร้อยแล้ว
- ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย โดยการนำเครื่องจักรกลจากศูนย์ช่างสหกรณ์ที่ 6 และนิคมสหกรณ์วังทอง จังหวัดพิษณุโลก เข้าช่วยเหลือปรับแต่งสภาพถนนเข้าหมู่บ้าน ขุดลอกโคลน เศษไม้ ออกจากบ้านเรือนเกษตรกรที่ประสบภัยในจังหวัดเพชรบูรณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-
1. จังหวัดที่ประสบอุทกภัย 45 จังหวัด ดังนี้
ภาคเหนือ 17 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลกแม่ฮ่องสอน สุโขทัย ลำพูน ลำปาง อุตรดิตถ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี และกำแพงเพชร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 18 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคามมุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี อำนาจเจริญ นครราชสีมา และบุรีรัมย์
ภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ระยอง ตราด และสระแก้ว
ภาคกลาง 4 จังหวัด ได้แก่ ลพบุรี สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และพระนครศรีอยุธยา
ภาคใต้ 3 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์ ระนอง และภูเก็ต
พื้นที่การเกษตรประสบอุทกภัย 35 จังหวัด
ภาคเหนือ 14 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย เชียงใหม่ ตาก น่าน พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ พิจิตร พิษณุโลกแม่ฮ่องสอน สุโขทัย ลำพูน ลำปาง และอุตรดิตถ์
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัดได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น ชัยภูมิ นครพนม มหาสารคามบุรีรัมย์ มุกดาหาร ยโสธร ร้อยเอ็ด เลย ศรีสะเกษ สกลนคร หนองคาย หนองบัวลำภู อุดรธานี อุบลราชธานี และอำนาจเจริญ
ภาคตะวันตก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดกาญจนบุรี
ภาคตะวันออก 1 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดระยอง
ภาคกลาง 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลพบุรี และจังหวัดอ่างทอง
2. ความช่วยเหลือเบื้องต้นที่หน่วยงานได้ดำเนินการไปแล้ว
กรมส่งเสริมการเกษตร จัดเครื่องอุปโภค - บริโภค จำนวน 1,000 ชุด นำไปแจกจ่ายผู้ประสบภัยที่อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ จัดเตรียมเมล็ดพันธุ์ผักและเพาะกล้าไว้แจกจ่ายให้เกษตรกรเพาะปลูกทันทีหลังน้ำลด เพื่อให้เกษตรกรมีอาหารบริโภคในครอบครัว
กรมปศุสัตว์ ให้ความช่วยเหลือเฉพาะหน้าเป็นการอพยพพันธุ์สัตว์ไปไว้ในที่ปลอดภัย การแจกจ่ายเสบียงอาหารสัตว์การจัดหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ให้การบริการป้องกันรักษาพยาบาลสัตว์โดยเจ้าหน้าที่และงบประมาณของกรมปศุสัตว์ ซึ่งเบื้องต้นได้ดำเนินการไปแล้ว ดังนี้ 1) ให้การช่วยเหลือพืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ จำนวน 1,201,272กิโลกรัม 2) ป้องกันโรคระบาดสัตว์ 13,080 ตัว 3) รักษาสัตว์ป่วย 9,145 ตัว 4) สำรองพืชอาหารสัตว์ไว้ที่ศูนย์/สถานต่าง ๆ 33 แห่ง ทั่วประเทศ จำนวน 8,940 ตัน และสำรองไว้เพื่อให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยประมาณ 5,000 ตัน (หญ้าแห้ง หญ้าหมัก และหญ้าสด)
กรมประมง นำยานพาหนะรถยนต์และเรือ เข้าไปช่วยลำเลียงขนส่งราษฎรและสิ่งของต่าง ๆ ออกจากพื้นที่ประสบอุทกภัยให้มาอย่ในพื้นที่ที่เหมาะสม จัดข้าวสารอาหารแห้งและสิ่งของจำเป็นไปแจกจ่ายราษฎรเพื่อยังชีพในเบื้องต้น
การใช้เงินทดรองราชการ ช่วยเหลือ 11 จังหวัด วงเงิน 13.59 ล้านบาท ด้านพืช 2 จังหวัด วงเงิน5.58 ล้านบาท ได่แก่ จังหวัดเชียงใหม่ 4.45 ล้านบาท ในอำนาจอำเภอ 11 อำเภอ ๆ ละ 5 แสนบาท วงเงิน 3.05 ล้านบาท ในอำนาจจังหวัด 1.40 ล้านบาท จังหวัดหนองคาย ในอำนาจจังหวัด 1.13 ล้านบาท ด้านปศุสัตว์ 9 จังหวัด วงเงิน 6.28 ล้านบาท ด้านประมง 5 จังหวัด วงเงิน 1.73 ล้านบาท
กรมชลประทาน ส่งเครื่องสูบน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่ในเขตชุมชนและพื้นที่การเกษตรจำนวน 149 เครื่องส่งเครื่องผลักดันน้ำไปช่วยเหลือพื้นที่น้ำท่วม 14 เครื่อง สนับสนุนรถบรรทุกน้ำและรถบรรทุก 2 คัน
กรมป่าไม้ สำนักงานป่าไม้จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้จัดตั้งศูนย์ปฏิบัติการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย ณ หน่วยประสานงานป้องกันรักษาป่าประจำจังหวัดเพชรบูรณ์ ตั้งแต่วันที่ 12 สิงหาคม 2544 จัดกำลังเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานประจำศูนย์ต่อเนื่องจนถึงวันที่ 1 ตุลาคม 2544
กรมส่งเสริมสหกรณ์
- จัดส่งเงินบริจาคจำนวน 21.725 บาท ให้สำนักงานสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์นำไปช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัยในเบื้องต้น ซึ่งสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดเพชรบูรณ์ ได้นำไปมอบให้แก่สมาชิก สหกรณ์ผู้ประสบภัยเรียบร้อยแล้ว
- ดำเนินการช่วยเหลือพื้นที่ประสบภัย โดยการนำเครื่องจักรกลจากศูนย์ช่างสหกรณ์ที่ 6 และนิคมสหกรณ์วังทอง จังหวัดพิษณุโลก เข้าช่วยเหลือปรับแต่งสภาพถนนเข้าหมู่บ้าน ขุดลอกโคลน เศษไม้ ออกจากบ้านเรือนเกษตรกรที่ประสบภัยในจังหวัดเพชรบูรณ์
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 พ.ย. 44--
-สส-