ทำเนียบรัฐบาล--25 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบมาตราทวิ เป็นมาตรา ../1 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป ซึ่งเป็นรูปแบบกฎหมายในการเพิ่มเติมมาตราใหม่ในระหว่างมาตราเดิม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในกรณีที่กฎหมายใดยังไม่เคยมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ในระหว่างมาตราเดิม ถ้าภายหลังจะมีการเพิ่มมาตราใหม่ให้เป็นระบบตัวเลข คือ มาตรา ../1, มาตรา ../2, มาตรา ../3 ต่อเนื่องกันไป
2. ในกรณีที่กฎหมายใดมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ไว้แล้วตามแบบภาษาสันสกฤตถ้าต้องเพิ่มมาตราใหม่ต่อเนื่องจากมาตราอื่นที่มิใช่มาตราที่เพิ่มไว้เดิม มาตราที่เพิ่มใหม่นั้นให้ใช้ระบบตัวเลข เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ มาตรา 9 ตรี และมาตรา 9 จัตวา แล้วมีมาตรา 10 และมาตรา 11 ต่อเนื่องกันไป ถ้าต่อมาต้องการต้องการเพิ่มมาตราใหม่ในระหว่างมาตรา 10 และมาตรา 11 นั้นให้ใช้เป็นมาตรา 10/1 มาตรา 10/2 ต่อเนื่องกันไป (การใช้ 2 ระบบในกฎหมายเดียวกันนั้นมีใช้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลรัษฎากรซึ่งมีทั้งมาตราทวิ และมาตรา ../1)
3. เมื่อใดมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ใช้แบบภาษาสันสกฤตที่เพิ่มเติมไว้ทั้งหมดระหว่างมาตราใดมาตราหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปใช้ระบบตัวเลขแทนทั้งหมด เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ และมาตรา 9 ตรี ต่อมามีการยกเลิกมาตราดังกล่าวและแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ให้ใช้มาตรา 9/1 และมาตรา 9/2 แทน
4. ในกรณีที่กฎหมายใดมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ไว้แล้วโดยใช้แบบภาษาสันสกฤต ถ้าต้องเพิ่มมาตราใหม่อีกโดยเป็นมาตราต่อเนื่องกับมาตราเดิมที่เคยเพิ่มไว้แล้ว ให้ใช้ระบบภาษาสันสกฤตต่อเนื่องกันไปเพื่อเป็นลำดับตามภาษาเดียวกัน เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ มาตรา 9 ตรี และมาตรา 9 จัตวา อยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มมาตราใหม่ต่อจากมาตรา 9 จัตวา ให้ใช้มาตรา 9 เบญจ
ทั้งนี้ ให้นำวิธีการข้างต้นมาใช้กับการแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนกฎหมายในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น "ส่วน" "หมวด" "ภาค" หรือการแบ่งส่วนกฎหมายที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้ใช้ในกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และกฎที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการเปลี่ยนรูปแบบมาตราทวิ เป็นมาตรา ../1 ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ และให้หน่วยงานของรัฐถือปฏิบัติต่อไป ซึ่งเป็นรูปแบบกฎหมายในการเพิ่มเติมมาตราใหม่ในระหว่างมาตราเดิม โดยมีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ในกรณีที่กฎหมายใดยังไม่เคยมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ในระหว่างมาตราเดิม ถ้าภายหลังจะมีการเพิ่มมาตราใหม่ให้เป็นระบบตัวเลข คือ มาตรา ../1, มาตรา ../2, มาตรา ../3 ต่อเนื่องกันไป
2. ในกรณีที่กฎหมายใดมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ไว้แล้วตามแบบภาษาสันสกฤตถ้าต้องเพิ่มมาตราใหม่ต่อเนื่องจากมาตราอื่นที่มิใช่มาตราที่เพิ่มไว้เดิม มาตราที่เพิ่มใหม่นั้นให้ใช้ระบบตัวเลข เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ มาตรา 9 ตรี และมาตรา 9 จัตวา แล้วมีมาตรา 10 และมาตรา 11 ต่อเนื่องกันไป ถ้าต่อมาต้องการต้องการเพิ่มมาตราใหม่ในระหว่างมาตรา 10 และมาตรา 11 นั้นให้ใช้เป็นมาตรา 10/1 มาตรา 10/2 ต่อเนื่องกันไป (การใช้ 2 ระบบในกฎหมายเดียวกันนั้นมีใช้อยู่แล้ว เช่น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือประมวลรัษฎากรซึ่งมีทั้งมาตราทวิ และมาตรา ../1)
3. เมื่อใดมีการแก้ไขเพิ่มเติมมาตราที่ใช้แบบภาษาสันสกฤตที่เพิ่มเติมไว้ทั้งหมดระหว่างมาตราใดมาตราหนึ่ง ให้เปลี่ยนไปใช้ระบบตัวเลขแทนทั้งหมด เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ และมาตรา 9 ตรี ต่อมามีการยกเลิกมาตราดังกล่าวและแก้ไขเพิ่มเติมใหม่ให้ใช้มาตรา 9/1 และมาตรา 9/2 แทน
4. ในกรณีที่กฎหมายใดมีการเพิ่มมาตราขึ้นใหม่ไว้แล้วโดยใช้แบบภาษาสันสกฤต ถ้าต้องเพิ่มมาตราใหม่อีกโดยเป็นมาตราต่อเนื่องกับมาตราเดิมที่เคยเพิ่มไว้แล้ว ให้ใช้ระบบภาษาสันสกฤตต่อเนื่องกันไปเพื่อเป็นลำดับตามภาษาเดียวกัน เช่น เดิมมีมาตรา 9 ทวิ มาตรา 9 ตรี และมาตรา 9 จัตวา อยู่แล้ว ถ้าจะเพิ่มมาตราใหม่ต่อจากมาตรา 9 จัตวา ให้ใช้มาตรา 9 เบญจ
ทั้งนี้ ให้นำวิธีการข้างต้นมาใช้กับการแก้ไขเพิ่มเติมการแบ่งส่วนกฎหมายในทุกรูปแบบไม่ว่าจะเป็น "ส่วน" "หมวด" "ภาค" หรือการแบ่งส่วนกฎหมายที่เรียกชื่ออย่างอื่น และให้ใช้ในกฎหมายทุกประเภทไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ และกฎที่เรียกชื่ออย่างอื่น เพื่อให้เป็นแนวทางเดียวกัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 24 ต.ค. 2543--
-สส-