ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) พิจารณาเสนอความเห็นในรายละเอียด ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ แต่เดิมข้าราชการตุลาการและข้าราชการอัยการมีกฎหมายกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ การพิจารณาความดีความชอบ การพิจารณาวินัย และการลงโทษเช่นเดียวกัน รวมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการกับข้าราชการอัยการในระดับต่างๆ ที่เทียบกันได้ไว้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันตลอดมา แต่เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ทำให้อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการสูงกว่าข้าราชการอัยการอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจ ของข้าราชการอัยการในการปฏิบัติราชการที่ต้องทำงานรับผิดชอบในลักษณะงานเดียวกับตุลาการ และในฐานะที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีแทนรัฐ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้สูงขึ้นโดยเทียบเคียงกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการ และให้แยกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการออกจากพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 และจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
- แก้ไขบทนิยามคำว่า "ข้าราชการ" และ "คณะกรรมการบริหารงานบุคคล" เพื่อมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
- แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ โดยตัดผู้แทนคณะกรรมการอัยการออก
- กำหนดให้อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง และการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ มิให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
- ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- กำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- การแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... และร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... รวม 2 ฉบับ ตามที่สำนักงานอัยการสูงสุดเสนอ และให้ส่งคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ (กงช.) พิจารณาเสนอความเห็นในรายละเอียด ก่อนนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาโดยด่วนอีกครั้งหนึ่ง
ทั้งนี้ แต่เดิมข้าราชการตุลาการและข้าราชการอัยการมีกฎหมายกำหนดคุณสมบัติของผู้ดำรงตำแหน่ง อำนาจหน้าที่ การพิจารณาความดีความชอบ การพิจารณาวินัย และการลงโทษเช่นเดียวกัน รวมทั้งกำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการกับข้าราชการอัยการในระดับต่างๆ ที่เทียบกันได้ไว้เท่ากันหรือใกล้เคียงกันตลอดมา แต่เมื่อมีการประกาศใช้พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม พ.ศ.2543 ทำให้อัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการสูงกว่าข้าราชการอัยการอย่างมาก ส่งผลกระทบต่อขวัญและกำลังใจ ของข้าราชการอัยการในการปฏิบัติราชการที่ต้องทำงานรับผิดชอบในลักษณะงานเดียวกับตุลาการ และในฐานะที่สำนักงานอัยการสูงสุดเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินคดีแทนรัฐ ดังนั้น จึงเห็นสมควรให้ปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ ให้สูงขึ้นโดยเทียบเคียงกับเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการตุลาการ และให้แยกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการออกจากพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 และจัดทำเป็นร่างพระราชบัญญัติทั้งสองฉบับดังกล่าวข้างต้น ดังนี้
1. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
- แก้ไขบทนิยามคำว่า "ข้าราชการ" และ "คณะกรรมการบริหารงานบุคคล" เพื่อมิให้ใช้บังคับกับข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ
- แก้ไของค์ประกอบของคณะกรรมการพิจารณาเงินเดือนแห่งชาติ โดยตัดผู้แทนคณะกรรมการอัยการออก
- กำหนดให้อัตราเงินเดือน อัตราเงินประจำตำแหน่ง และการรับเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการตามกฎหมายว่าด้วยระเบียบข้าราชการฝ่ายอัยการ มิให้อยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติ เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ. 2538 แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
- ยกเลิกบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งของข้าราชการอัยการ
2. ร่างพระราชบัญญัติเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการ พ.ศ. .... มีสาระสำคัญสรุปได้ดังนี้
- กำหนดอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้เป็นไปตามบัญชีท้ายพระราชบัญญัติ
- การแก้ไขเพิ่มเติมบัญชีอัตราเงินเดือนและเงินประจำตำแหน่งข้าราชการอัยการให้กระทำได้โดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-