คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการปรับปรุงข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมกับกระทรวงมหาดไทย เรื่อง
การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา (ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ….) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ซึ่งได้ปรับปรุงจากร่างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และร่างที่กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของเรื่อง และ
สอดคล้องกับแนวทางที่คณะกรรมาธิการสามคณะของวุฒิสภาเสนอ อีกทั้งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากที่ประชุมร่วม
ของผู้เกี่ยวข้องตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดประชุม และสภากลาโหมด้วยแล้ว โดยมีหลักการสำคัญคือ ยกเลิก
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือ
เป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. 2498 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ แล้วยกร่างขึ้นใหม่เป็นระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรี โดยจัดหมวดหมู่และกำหนดสาระเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ
การปรับปรุงสังกัดและโครงสร้างของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ความจำเป็นของราชการทหาร ตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครอง
และสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยเน้นหลักความสามัคคีปรองดอง หลักการประสานงาน ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรใน
การดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ และอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ของตนให้อยู่ในวินัย
และได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นธรรม แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือฝ่าฝืนกฎหมาย
ที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน กฎเกณฑ์บางข้อ เช่น การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนจะมีการสอบสวน
น่าจะนำไปใช้ปฏิบัติต่อราษฎรทั่วไปในกรณีตกเป็นผู้ต้องหาด้วย
ร่างระเบียบที่กำหนดขึ้นใหม่มีความแตกต่างในหลักการสำคัญจากข้อตกลงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
หลักการ ฉบับปัจจุบัน
จำนวนข้อ 1. ฉบับ พ.ศ. 2498 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมี 45 ข้อ มี 30 ข้อ
2. ร่างฉบับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี 35 ข้อ
3. ร่างฉบับกระทรวงมหาดไทย มี 36 ข้อ
นิยาม ไม่มี ให้ความหมายคำว่า ทหาร ตำรวจ และพนักงานฝ่ายปกครอง
การมีคณะกรรมการ ไม่ได้กล่าวไว้ ให้มี 10 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปลัดกระทรวงกลาโหม มหาดไทย ยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนอัยการสูงสุด ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตำรวจ
ประสานงานกลาง แห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และเจ้ากรม
พระธรรมนูญ
การจับทหาร หลักการปัจจุบันคือต้องดูว่าทหารแต่งเครื่องแบบหรือไม่กระทำผิดนอกหรือในเขตที่ตั้งทหาร
และเป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดอาญาทั่วไป ซึ่งยุ่งยากในการปฏิบัติในการจับทหารที่แต่งเครื่องแบบก็มีความยุ่งยากมากกว่าจับผู้อื่น ตำรวจจะจับต้องมีหมายเว้นแต่มีเหตุพิเศษ ในการจับ
ให้สั่งให้ไปที่ทำการของตำรวจ ถ้าขัดขืนและมี ส.ห.
ให้ ส.ห. จับ แต่ถ้าไม่มีก็จับได้เอง ถ้าแต่งเครื่องแบบ
ก็แนะนำให้ถอดหรือให้ทหารอื่นมาจัดการ ถ้ายังไม่ถอดก็ดำเนินคดีได้ตามปกติ
การควบคุมตัวทหาร นำทหารแต่งเครื่องแบบ หรือนายทหารสัญญาบัตร ตำรวจแนะนำให้ถอดเครื่องแบบก่อน ถ้าไม่ถอดแจ้งให้ทหารอื่นจัดการ ถ้ายังไม่ถอดก็ดำเนินคดีได้ตาม
(ไม่ว่าแต่งเครื่องแบบหรือไม่) เข้าห้องควบคุมไม่ได้ ปกติ
และห้ามบังคับให้ถอดเครื่องแบบ
การจับทหารหนีราชการ ให้ตำรวจจับได้ ตำรวจไม่มีอำนาจ
การปล่อยชั่วคราวทหาร ถ้านายทหารสัญญาบัตรทำผิดต้องให้ประกันตัวเองออกไปได้เสมอ ทหารมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราวตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญโดย
เสมอกันเช่นเดียวกับประชาชน
การตรวจค้นทหาร การตรวจค้นนายทหารชั้นสัญญาบัตรต้องมีเหตุผลอัน ทหารและประชาชนได้รับความคุ้มครองเสมอกัน
สมควรยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา การค้นให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา และรัฐธรรมนูญ
การตรวจค้นสิ่งของ ให้ทหารเปิดตรวจเองฝ่ายเดียวแล้วแจ้งผลให้ตำรวจทราบ ต้องตั้งกรรมการผสมเปิดตรวจร่วมกับฝ่ายตำรวจ
ราชการลับ หรือสิ่งของ
ที่ทหารอ้างว่าเป็นวัตถุ
อันตราย
การสอบสวนทหาร 1. พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ฝ่ายทหารมาร่วมรับฟัง 1. การที่จะมีทนายความหรือผู้ซึ่งผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
การสอบสวนด้วย 2. เมื่อจะสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับ
2. การร่วมฟังการสอบสวนเริ่มตั้งแต่พนักงานสอบสวน บัญชาทหาร ถ้าฝ่ายทหารเห็นว่าทหารทำผิดกฎหมาย
เริ่มดำเนินการจนปิดสำนวน ทหารด้วย อาจส่งนายทหารมาร่วมฟังได้
3. ฝ่ายทหารร่วมฟังการสอบสวนพยานอื่นได้ และตั้ง 3. การสอบสวนเป็นความลับของทางราชการ การสอบสวนพยานอื่นทหารมีสิทธิเท่ากับผู้ต้องหาอื่น ๆ
คำถามให้พนักงานสอบสวนช่วยถามให้ได้
กรณีทหารเป็นผู้ 1. มีมาตรการคุ้มครอง ยกเลิก
เสียหาย 2. พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทหารมาฟังการสอบสวนได้
การแจ้งสิทธิให้ผู้ ไม่ได้ระบุเรื่องการแจ้งสิทธิ ระบุเรื่องการแจ้งสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้ผู้ต้องหาทราบโดยละเอียด
ต้องหาทราบ
กรณีทหารวิวาทกับตำรวจ มีระบบตั้งกรรมการผสมเพื่อตรวจสอบหรือสอบสวน ใช้ระบบคณะพนักงานสอบสวนผสมของฝ่าย ไม่เน้น
โดยมาจากผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีเป็นหลัก ที่ผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี
การให้ผู้ได้รับความ ไม่มี สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการประสานงานกลางได้
เสียหายจากข้อตกลงนี้
ร้องเรียนขอความเป็นธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-
การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือเป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา (ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี
ว่าด้วยการปฏิบัติและประสานงานกรณีทหารถูกหาว่ากระทำความผิดอาญา พ.ศ. ….) ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ
ซึ่งได้ปรับปรุงจากร่างของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และร่างที่กระทรวงมหาดไทยเป็นเจ้าของเรื่อง และ
สอดคล้องกับแนวทางที่คณะกรรมาธิการสามคณะของวุฒิสภาเสนอ อีกทั้งได้รับความเห็นชอบในหลักการจากที่ประชุมร่วม
ของผู้เกี่ยวข้องตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจัดประชุม และสภากลาโหมด้วยแล้ว โดยมีหลักการสำคัญคือ ยกเลิก
ข้อตกลงระหว่างกระทรวงกลาโหมและกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การปฏิบัติและประสานงานเกี่ยวกับกรณีที่ทหารเป็นผู้เสียหายหรือ
เป็นผู้ต้องหาในความผิดอาญา พ.ศ. 2498 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมอีก 4 ฉบับ แล้วยกร่างขึ้นใหม่เป็นระเบียบ
สำนักนายกรัฐมนตรี โดยจัดหมวดหมู่และกำหนดสาระเท่าที่จำเป็นเพื่อให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ กฎหมายอื่น ๆ
การปรับปรุงสังกัดและโครงสร้างของส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ความจำเป็นของราชการทหาร ตำรวจ พนักงานฝ่ายปกครอง
และสภาพสังคมในปัจจุบัน โดยเน้นหลักความสามัคคีปรองดอง หลักการประสานงาน ตลอดจนความจำเป็นขององค์กรใน
การดูแลรักษาสถานที่ ยานพาหนะ อาวุธยุทโธปกรณ์ และอำนาจหน้าที่ในการควบคุมดูแลเจ้าหน้าที่ของตนให้อยู่ในวินัย
และได้รับการปฏิบัติอย่างมีศักดิ์ศรี เป็นธรรม แต่ทั้งนี้ต้องมิให้กระทบต่อสิทธิเสรีภาพของบุคคลอื่น หรือฝ่าฝืนกฎหมาย
ที่มีเพื่อคุ้มครองบุคคลทั่วไปโดยเสมอกัน กฎเกณฑ์บางข้อ เช่น การแจ้งสิทธิของผู้ต้องหาให้ทราบก่อนจะมีการสอบสวน
น่าจะนำไปใช้ปฏิบัติต่อราษฎรทั่วไปในกรณีตกเป็นผู้ต้องหาด้วย
ร่างระเบียบที่กำหนดขึ้นใหม่มีความแตกต่างในหลักการสำคัญจากข้อตกลงที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน ดังนี้
หลักการ ฉบับปัจจุบัน
จำนวนข้อ 1. ฉบับ พ.ศ. 2498 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติมมี 45 ข้อ มี 30 ข้อ
2. ร่างฉบับสำนักงานตำรวจแห่งชาติ มี 35 ข้อ
3. ร่างฉบับกระทรวงมหาดไทย มี 36 ข้อ
นิยาม ไม่มี ให้ความหมายคำว่า ทหาร ตำรวจ และพนักงานฝ่ายปกครอง
การมีคณะกรรมการ ไม่ได้กล่าวไว้ ให้มี 10 คน ประกอบด้วย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
ปลัดกระทรวงกลาโหม มหาดไทย ยุติธรรม ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ผู้แทนอัยการสูงสุด ผู้แทนผู้บัญชาการทหารสูงสุด ผู้แทนสำนักงานตำรวจ
ประสานงานกลาง แห่งชาติ อธิบดีกรมการปกครอง และเจ้ากรม
พระธรรมนูญ
การจับทหาร หลักการปัจจุบันคือต้องดูว่าทหารแต่งเครื่องแบบหรือไม่กระทำผิดนอกหรือในเขตที่ตั้งทหาร
และเป็นความผิดลหุโทษหรือความผิดอาญาทั่วไป ซึ่งยุ่งยากในการปฏิบัติในการจับทหารที่แต่งเครื่องแบบก็มีความยุ่งยากมากกว่าจับผู้อื่น ตำรวจจะจับต้องมีหมายเว้นแต่มีเหตุพิเศษ ในการจับ
ให้สั่งให้ไปที่ทำการของตำรวจ ถ้าขัดขืนและมี ส.ห.
ให้ ส.ห. จับ แต่ถ้าไม่มีก็จับได้เอง ถ้าแต่งเครื่องแบบ
ก็แนะนำให้ถอดหรือให้ทหารอื่นมาจัดการ ถ้ายังไม่ถอดก็ดำเนินคดีได้ตามปกติ
การควบคุมตัวทหาร นำทหารแต่งเครื่องแบบ หรือนายทหารสัญญาบัตร ตำรวจแนะนำให้ถอดเครื่องแบบก่อน ถ้าไม่ถอดแจ้งให้ทหารอื่นจัดการ ถ้ายังไม่ถอดก็ดำเนินคดีได้ตาม
(ไม่ว่าแต่งเครื่องแบบหรือไม่) เข้าห้องควบคุมไม่ได้ ปกติ
และห้ามบังคับให้ถอดเครื่องแบบ
การจับทหารหนีราชการ ให้ตำรวจจับได้ ตำรวจไม่มีอำนาจ
การปล่อยชั่วคราวทหาร ถ้านายทหารสัญญาบัตรทำผิดต้องให้ประกันตัวเองออกไปได้เสมอ ทหารมีสิทธิได้รับการปล่อยชั่วคราวตามประมวล
กฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และรัฐธรรมนูญโดย
เสมอกันเช่นเดียวกับประชาชน
การตรวจค้นทหาร การตรวจค้นนายทหารชั้นสัญญาบัตรต้องมีเหตุผลอัน ทหารและประชาชนได้รับความคุ้มครองเสมอกัน
สมควรยิ่งกว่าเหตุผลธรรมดา การค้นให้เป็นไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา
ความอาญา และรัฐธรรมนูญ
การตรวจค้นสิ่งของ ให้ทหารเปิดตรวจเองฝ่ายเดียวแล้วแจ้งผลให้ตำรวจทราบ ต้องตั้งกรรมการผสมเปิดตรวจร่วมกับฝ่ายตำรวจ
ราชการลับ หรือสิ่งของ
ที่ทหารอ้างว่าเป็นวัตถุ
อันตราย
การสอบสวนทหาร 1. พนักงานสอบสวนต้องแจ้งให้ฝ่ายทหารมาร่วมรับฟัง 1. การที่จะมีทนายความหรือผู้ซึ่งผู้ต้องหาไว้วางใจเข้าฟังการสอบปากคำ เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว
การสอบสวนด้วย 2. เมื่อจะสอบสวน ให้พนักงานสอบสวนแจ้งผู้บังคับ
2. การร่วมฟังการสอบสวนเริ่มตั้งแต่พนักงานสอบสวน บัญชาทหาร ถ้าฝ่ายทหารเห็นว่าทหารทำผิดกฎหมาย
เริ่มดำเนินการจนปิดสำนวน ทหารด้วย อาจส่งนายทหารมาร่วมฟังได้
3. ฝ่ายทหารร่วมฟังการสอบสวนพยานอื่นได้ และตั้ง 3. การสอบสวนเป็นความลับของทางราชการ การสอบสวนพยานอื่นทหารมีสิทธิเท่ากับผู้ต้องหาอื่น ๆ
คำถามให้พนักงานสอบสวนช่วยถามให้ได้
กรณีทหารเป็นผู้ 1. มีมาตรการคุ้มครอง ยกเลิก
เสียหาย 2. พนักงานสอบสวนแจ้งให้ทหารมาฟังการสอบสวนได้
การแจ้งสิทธิให้ผู้ ไม่ได้ระบุเรื่องการแจ้งสิทธิ ระบุเรื่องการแจ้งสิทธิตามรัฐธรรมนูญให้ผู้ต้องหาทราบโดยละเอียด
ต้องหาทราบ
กรณีทหารวิวาทกับตำรวจ มีระบบตั้งกรรมการผสมเพื่อตรวจสอบหรือสอบสวน ใช้ระบบคณะพนักงานสอบสวนผสมของฝ่าย ไม่เน้น
โดยมาจากผู้บังคับบัญชาของคู่กรณีเป็นหลัก ที่ผู้บังคับบัญชาของคู่กรณี
การให้ผู้ได้รับความ ไม่มี สามารถร้องเรียนต่อคณะกรรมการประสานงานกลางได้
เสียหายจากข้อตกลงนี้
ร้องเรียนขอความเป็นธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 พ.ย. 44--
-สส-