คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินรายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ระยะที่ 5 และเห็นชอบให้ยุติการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มกรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ระยะที่ 5) ซึ่งเป็นผลการตรวจสอบสำนวนเฉพาะในกรณีที่ 2 ผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักที่กรมสรรพากรค้างนำส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม - กรณีผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก มูลค่าความเสียหายประเภทนี้กรมสรรพากรรายงานมีจำนวน 3,017.59 ล้านบาท แต่ได้ส่งให้ตรวจสอบทั้ง 5 ครั้ง เป็นเงิน 2,563.39 ล้านบาท ยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ตรวจสอบอีก 454.20 ล้านบาท จากการตรวจสอบจากเอกสารที่ได้รับครั้งนี้ (ระยะที่ 5) พบว่ามีการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักจำนวน 7.64 ล้านบาท รวมตรวจพบทั้ง 5 ครั้ง พบว่ามีความเสียหายจริง 1,237.45 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ได้รับเอกสาร 1,325.94 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.73 ของมูลค่าความเสียหายที่ส่งให้ตรวจสอบ สาเหตุสำคัญที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบความเสียหายได้ในจำนวนเงินต่ำกว่า เนื่องจากกรมสรรพากรรายงานข้อมูลที่ทำขึ้นเฉพาะกิจและเป็นตัวเลขความเสียหายเบื้องต้น โดยใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงพบความเสียหายจากสำนวนการตรวจภาษีจากกรมสรรพากรเพียงบางส่วนเท่านั้น
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล มูลค่าความเสียหายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรแจ้งนั้น เป็นข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช้มูลค่าความเสียหายที่มาจากผลการตรวจสอบแล้วประเมินภาษีจริงของกรมสรรพากร และจากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายที่กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบประมาณร้อยละ 48.27 ดังนั้น มูลค่าความเสียหายจากการที่รัฐสูญเสียรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงควรลดลงตามอัตราส่วนที่มูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักลดลงตามไปด้วย
1.3 ข้อสังเกตจากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 5 ครั้ง ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่สำคัญมาเป็นลำดับ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า การตรวจสอบแต่ละครั้งมักจะพบข้อสังเกตที่เหมือน ๆ กัน หรือซ้ำกัน ซึ่งอาจสรุปได้ว่า สาเหตุของจุดอ่อนที่พบในข้อสังเกตมักจะมีสาเหตุทำนองเดียวกัน สำหรับการตรวจสอบในครั้งนี้ (ระยะที่ 5) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่พบข้อสังเกตที่แตกต่างไปจากที่เคยตรวจพบมาแล้วทั้ง 4 ครั้ง (ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4) คงเป็นข้อสังเกตเดิม ๆ ที่เคยรายงานไว้ในครั้งก่อน ๆ แล้ว เว้นแต่เรื่องที่กรมสรรพากรยังไม่สามารถจัดส่งเอกสารหลักฐานสำนวนที่คงค้างอยู่ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้โดยครบถ้วน ซึ่งกรมสรรพากรให้เหตุผลว่าปี 2539 กรมสรรพากรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เจ้าหน้าที่แยกย้ายไปปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่เกือบทั้งหมดเป็นผลให้การส่งมอบและการเก็บรักษาสำนวนการตรวจสอบบางส่วนยังไม่อาจติดตามได้ ทำให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้เพียงบางส่วน
ดังนั้น นอกเหนือจากที่กรมสรรพากรจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของระบบการตรวจสอบระบบการสอบทานที่ดี และการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว กรมสรรพากรยังควรให้ความสำคัญในเรื่องระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดีให้สามารถนำสำนวนเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของกรมสรรพากรและเป็นหลักฐานต่อการตรวจสอบด้วย
2. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้พิจารณาแล้วเห็นควรยุติการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 การที่ข้อมูลตัวเลขความเสียหายที่ตรวจสอบ กรณีมีผู้กระทำผิดประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มมีมูลค่าต่ำกว่าที่กรมสรรพากรรายงานคณะรัฐมนตรีนั้น เนื่องจากกรมสรรพากรใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรรายงานว่าจะสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่ายลดต่ำลงไปด้วยเช่นกัน และหากว่ากรมสรรพากรจะได้จัดส่งสำนวนที่เหลือมาให้ตรวจสอบอีก ผลการตรวจสอบที่แสดงว่ามูลค่าความเสียหายได้ลดลงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในสาระสำคัญ
2.2 ผลการตรวจสอบในแต่ละครั้งจะปรากฏข้อตรวจพบที่ไม่แตกต่างกันในสาระสำคัญมากนัก
2.3 ข้อตรวจพบในเรื่องการควบคุมการปฏิบัติงานและระบบข้อมูลการรายงานเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีจุดอ่อนและขาดการสอบทานก่อนนำเสนอรายงานนั้น ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการแก้ไข ปรับปรุง แนวปฏิบัติในการตรวจสอบภาษีและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนจัดให้มีระบบการรายงานเรื่องการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะ โดยการปรับเปลี่ยนและกำหนดขั้นตอนวิธีการตรวจสอบภาษีอากรและการบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่จัดเก็บเงินได้ตามที่กำหนด และสามารถคืนเงินภาษีอากรได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-
1. รายงานผลการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มตามมติคณะรัฐมนตรี ครั้งที่ 5 (ระยะที่ 5) ซึ่งเป็นผลการตรวจสอบสำนวนเฉพาะในกรณีที่ 2 ผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักที่กรมสรรพากรค้างนำส่งให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบ โดยสรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1.1 ภาษีมูลค่าเพิ่ม - กรณีผู้ประกอบการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหัก มูลค่าความเสียหายประเภทนี้กรมสรรพากรรายงานมีจำนวน 3,017.59 ล้านบาท แต่ได้ส่งให้ตรวจสอบทั้ง 5 ครั้ง เป็นเงิน 2,563.39 ล้านบาท ยังไม่ได้ส่งเอกสารให้ตรวจสอบอีก 454.20 ล้านบาท จากการตรวจสอบจากเอกสารที่ได้รับครั้งนี้ (ระยะที่ 5) พบว่ามีการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักจำนวน 7.64 ล้านบาท รวมตรวจพบทั้ง 5 ครั้ง พบว่ามีความเสียหายจริง 1,237.45 ล้านบาท ต่ำกว่าที่ได้รับเอกสาร 1,325.94 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 51.73 ของมูลค่าความเสียหายที่ส่งให้ตรวจสอบ สาเหตุสำคัญที่สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจพบความเสียหายได้ในจำนวนเงินต่ำกว่า เนื่องจากกรมสรรพากรรายงานข้อมูลที่ทำขึ้นเฉพาะกิจและเป็นตัวเลขความเสียหายเบื้องต้น โดยใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง การตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินจึงพบความเสียหายจากสำนวนการตรวจภาษีจากกรมสรรพากรเพียงบางส่วนเท่านั้น
1.2 ภาษีเงินได้นิติบุคคล มูลค่าความเสียหายภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรแจ้งนั้น เป็นข้อมูลที่เกิดจากการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่มที่คาดว่าสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่าย ซึ่งมิใช้มูลค่าความเสียหายที่มาจากผลการตรวจสอบแล้วประเมินภาษีจริงของกรมสรรพากร และจากการตรวจสอบของสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน พบว่ามูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักต่ำกว่ามูลค่าความเสียหายที่กรมสรรพากรส่งให้ตรวจสอบประมาณร้อยละ 48.27 ดังนั้น มูลค่าความเสียหายจากการที่รัฐสูญเสียรายได้ ภาษีเงินได้นิติบุคคล จึงควรลดลงตามอัตราส่วนที่มูลค่าความเสียหายจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักลดลงตามไปด้วย
1.3 ข้อสังเกตจากการตรวจสอบและข้อเสนอแนะ สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้ตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มรวม 5 ครั้ง ได้ให้ข้อสังเกตและข้อเสนอแนะที่สำคัญมาเป็นลำดับ ซึ่งมีข้อสังเกตว่า การตรวจสอบแต่ละครั้งมักจะพบข้อสังเกตที่เหมือน ๆ กัน หรือซ้ำกัน ซึ่งอาจสรุปได้ว่า สาเหตุของจุดอ่อนที่พบในข้อสังเกตมักจะมีสาเหตุทำนองเดียวกัน สำหรับการตรวจสอบในครั้งนี้ (ระยะที่ 5) สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ไม่พบข้อสังเกตที่แตกต่างไปจากที่เคยตรวจพบมาแล้วทั้ง 4 ครั้ง (ระยะที่ 1 ถึง ระยะที่ 4) คงเป็นข้อสังเกตเดิม ๆ ที่เคยรายงานไว้ในครั้งก่อน ๆ แล้ว เว้นแต่เรื่องที่กรมสรรพากรยังไม่สามารถจัดส่งเอกสารหลักฐานสำนวนที่คงค้างอยู่ให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้โดยครบถ้วน ซึ่งกรมสรรพากรให้เหตุผลว่าปี 2539 กรมสรรพากรมีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้าง เจ้าหน้าที่แยกย้ายไปปฏิบัติงานตามโครงสร้างใหม่เกือบทั้งหมดเป็นผลให้การส่งมอบและการเก็บรักษาสำนวนการตรวจสอบบางส่วนยังไม่อาจติดตามได้ ทำให้สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินตรวจสอบได้เพียงบางส่วน
ดังนั้น นอกเหนือจากที่กรมสรรพากรจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของระบบการตรวจสอบระบบการสอบทานที่ดี และการควบคุมการปฏิบัติงานให้เป็นไปในแนวทางที่ถูกต้องแล้ว กรมสรรพากรยังควรให้ความสำคัญในเรื่องระบบการจัดเก็บเอกสารที่ดีให้สามารถนำสำนวนเอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องมาใช้ได้โดยสะดวก เพื่อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของกรมสรรพากรและเป็นหลักฐานต่อการตรวจสอบด้วย
2. สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดินได้พิจารณาแล้วเห็นควรยุติการตรวจสอบการจัดเก็บและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม กรณีตามมติคณะรัฐมนตรี ดังนี้
2.1 การที่ข้อมูลตัวเลขความเสียหายที่ตรวจสอบ กรณีมีผู้กระทำผิดประเภทภาษีมูลค่าเพิ่มมีมูลค่าต่ำกว่าที่กรมสรรพากรรายงานคณะรัฐมนตรีนั้น เนื่องจากกรมสรรพากรใช้ตัวเลขยอดรวมด้านภาษีซื้อตามแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) มารายงาน ซึ่งมิใช่ตัวเลขความเสียหายที่แท้จริง ส่งผลให้การจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่กรมสรรพากรรายงานว่าจะสูญเสียจากการใช้ใบกำกับภาษีปลอมมาหักเป็นรายจ่ายลดต่ำลงไปด้วยเช่นกัน และหากว่ากรมสรรพากรจะได้จัดส่งสำนวนที่เหลือมาให้ตรวจสอบอีก ผลการตรวจสอบที่แสดงว่ามูลค่าความเสียหายได้ลดลงก็ไม่อาจเปลี่ยนแปลงไปได้ในสาระสำคัญ
2.2 ผลการตรวจสอบในแต่ละครั้งจะปรากฏข้อตรวจพบที่ไม่แตกต่างกันในสาระสำคัญมากนัก
2.3 ข้อตรวจพบในเรื่องการควบคุมการปฏิบัติงานและระบบข้อมูลการรายงานเกี่ยวกับการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มมีจุดอ่อนและขาดการสอบทานก่อนนำเสนอรายงานนั้น ปัจจุบันกรมสรรพากรได้มีการแก้ไข ปรับปรุง แนวปฏิบัติในการตรวจสอบภาษีและการคืนภาษีมูลค่าเพิ่ม ตลอดจนจัดให้มีระบบการรายงานเรื่องการทุจริตภาษีมูลค่าเพิ่มโดยเฉพาะ โดยการปรับเปลี่ยนและกำหนดขั้นตอนวิธีการตรวจสอบภาษีอากรและการบริหารการคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานให้สามารถดำเนินการตามเป้าหมายที่จัดเก็บเงินได้ตามที่กำหนด และสามารถคืนเงินภาษีอากรได้อย่างรวดเร็วและถูกต้อง
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร)--วันที่ 1 พ.ค.2544
-สส-