ทำเนียบรัฐบาล--26 ก.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับลดสัดส่วนการจัดหาเงินกู้ สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจากเดิม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมในสัดส่วนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด (4,620 ล้านบาท)
2. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายโครงการในสัดส่วนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด (4,620 ล้านบาท) ทั้งนี้ หากสำนักงบประมาณสามารถจัดสรรเงินงบประมาณได้มากกว่าที่กำหนดก็สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งมีรัฐวิสาหกิจในสังกัดทุกแห่งทราบ และถือเป็นหลักปฏิบัติตามความเห็นของกระทรวงการคลังว่า การเสนอโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในอนาคตควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องรับภาระเป็นลำดับแรก และทุกโครงการควรผ่านการจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ของประเทศตามที่คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของประเทศ ซึ่งปัจจุบันภาระหนี้ที่รัฐบาลรับผิดชอบมีจำนวนสูงมาก และเพื่อมิให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระแทนรัฐวิสาหกิจเพิ่มสูงเกินไปด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. กระทรวงการคลังได้หารือกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับแนวทางการจัดสรรเงินทุนสนับสนุนโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปว่า สำนักงบประมาณมีความสามารถในการจัดสรรเงินงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายโครงการดังกล่าวได้มากกว่าที่มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 ประกอบกับในปีงบประมาณ 2544 สำนักงบประมาณได้เสนอจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น3,300 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาภาระหนี้ของประเทศ และเพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่โครงการดังกล่าวได้คล่องตัวขึ้น จึงเห็นสมควรปรับลดสัดส่วนการจัดหาเงินกู้สำหรับโครงการดังกล่าว
2. กระทรวงการคลังมีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ภาระหนี้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยรับภาระมีอยู่จำนวน 31,366 ล้านบาท และภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระให้อีกจำนวน 4,956 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมภาระหนี้โครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง โครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และค่าใช้จ่ายในการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ทั้ง 234 กิโลเมตร ซึ่งคำนวณโดยใช้สัดส่วนเงินกู้ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว รัฐบาลจะต้องรับภาระหนี้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น 16,160.69 ล้านบาท ดังนั้น การเสนอดครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ/หรือรัฐวิสาหกิจอื่นในอนาคต ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องรับภาระเป็นลำดับแรก นอกจากนั้น ทุกโครงการควรผ่านการจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ของประเทศตามที่คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของประเทศ ซึ่งปัจจุบันภาระหนี้ที่รัฐบาลรับผิดชอบมีจำนวนสูงมาก และเพื่อมิให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระแทนรัฐวิสาหกิจเพิ่มสูงเกินไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการปรับลดสัดส่วนการจัดหาเงินกู้ สำหรับโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทยจากเดิม ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. ให้กระทรวงการคลังกู้เงินจากแหล่งเงินกู้ที่เหมาะสมในสัดส่วนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด (4,620 ล้านบาท)
2. ให้สำนักงบประมาณจัดสรรเงินงบประมาณสำหรับค่าใช้จ่ายโครงการในสัดส่วนร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายโครงการทั้งหมด (4,620 ล้านบาท) ทั้งนี้ หากสำนักงบประมาณสามารถจัดสรรเงินงบประมาณได้มากกว่าที่กำหนดก็สามารถดำเนินการได้
ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการต่าง ๆ ซึ่งมีรัฐวิสาหกิจในสังกัดทุกแห่งทราบ และถือเป็นหลักปฏิบัติตามความเห็นของกระทรวงการคลังว่า การเสนอโครงการลงทุนของรัฐวิสาหกิจในอนาคตควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องรับภาระเป็นลำดับแรก และทุกโครงการควรผ่านการจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ของประเทศตามที่คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของประเทศ ซึ่งปัจจุบันภาระหนี้ที่รัฐบาลรับผิดชอบมีจำนวนสูงมาก และเพื่อมิให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระแทนรัฐวิสาหกิจเพิ่มสูงเกินไปด้วย
ทั้งนี้ กระทรวงการคลังรายงานว่า
1. กระทรวงการคลังได้หารือกับสำนักงบประมาณเกี่ยวกับแนวทางการจัดสรรเงินทุนสนับสนุนโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ของการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ข้อสรุปว่า สำนักงบประมาณมีความสามารถในการจัดสรรเงินงบประมาณสนับสนุนค่าใช้จ่ายโครงการดังกล่าวได้มากกว่าที่มติคณะรัฐมนตรีอนุมัติไว้เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2543 ประกอบกับในปีงบประมาณ 2544 สำนักงบประมาณได้เสนอจัดสรรงบประมาณสำหรับโครงการดังกล่าวเป็นเงินทั้งสิ้น3,300 ล้านบาท ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาภาระหนี้ของประเทศ และเพื่อให้สำนักงบประมาณสามารถจัดสรรเงินงบประมาณให้แก่โครงการดังกล่าวได้คล่องตัวขึ้น จึงเห็นสมควรปรับลดสัดส่วนการจัดหาเงินกู้สำหรับโครงการดังกล่าว
2. กระทรวงการคลังมีความเห็นเพิ่มเติมด้วยว่า ณ สิ้นเดือนมีนาคม 2543 ภาระหนี้ที่การรถไฟแห่งประเทศไทยรับภาระมีอยู่จำนวน 31,366 ล้านบาท และภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระให้อีกจำนวน 4,956 ล้านบาท ซึ่งเมื่อรวมภาระหนี้โครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ 3 เส้นทาง โครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่สายหัวหมาก - ฉะเชิงเทรา และค่าใช้จ่ายในการจัดหาและติดตั้งระบบอาณัติสัญญาณและโทรคมนาคมของโครงการก่อสร้างทางรถไฟรางคู่ทั้ง 234 กิโลเมตร ซึ่งคำนวณโดยใช้สัดส่วนเงินกู้ร้อยละ 50 ของค่าใช้จ่ายทั้งหมดแล้ว รัฐบาลจะต้องรับภาระหนี้แทนการรถไฟแห่งประเทศไทยทั้งสิ้น 16,160.69 ล้านบาท ดังนั้น การเสนอดครงการลงทุนของการรถไฟแห่งประเทศไทย และ/หรือรัฐวิสาหกิจอื่นในอนาคต ควรให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องภาระหนี้ที่รัฐบาลจะต้องรับภาระเป็นลำดับแรก นอกจากนั้น ทุกโครงการควรผ่านการจัดลำดับความสำคัญของโครงการลงทุนในภาพรวมของการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ รวมถึงความสอดคล้องกับหลักเกณฑ์การก่อหนี้ของประเทศตามที่คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศกำหนดไว้ ทั้งนี้ เพื่อให้เหมาะสมกับฐานะทางการเงินของประเทศ ซึ่งปัจจุบันภาระหนี้ที่รัฐบาลรับผิดชอบมีจำนวนสูงมาก และเพื่อมิให้ภาระหนี้ที่รัฐบาลรับภาระแทนรัฐวิสาหกิจเพิ่มสูงเกินไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 25 ก.ค. 2543--
-สส-