ทำเนียบรัฐบาล--5 ก.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 เรื่องโครงการเงินกู้เพื่อปรับ
โครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 2 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2543) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียด
แผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้วรวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง พิจารณารายละเอียด/โครงการ จำนวน9 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน
7 โครงการ วงเงิน 4,128.21 ล้านบาท และให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 2 โครงการ และเนื่องจากโครงการเงินกู้
เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร เป็นที่สนใจของสาธารณชนเพราะเป็นเงินกู้ สังคมมองว่าจะไม่เกิดความโปร่งใส และไม่คุ้มค่าการลงทุน ทำให้
การพิจารณาโครงการต้องลงในรายละเอียดมากกว่าปกติ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรมีการนำเสนอรายละเอียดโครงการในคณะ
อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการชั้นหนึ่งก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารฯ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลของโครงการให้สาธารณชน
รับทราบทุกขั้นตอน เน้นความโปร่งใสของระบบบริหาร
2. ผลการเบิกจ่ายเงิน ส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
(PSC) แล้ว ได้จัดส่งรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว ดังนี้
PSC อนุมัติ สงป. อนุมัติ
1. โครงการจัดรูปที่ดิน 232.15 212.04
2. โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร 1,211.30 477.03
3. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน 426.06 52.43
4. โครงการวิจัยแและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร 1,150.00 311.03
5. โครงการพัฒนามาตรฐานและระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร 699.49 11.69
6. โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ 303.21 21.38
7. โครงการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการเงินกู้ 70.00 20.51
รวม PSC อนุมัติ 4,128.21 ล้านบาท
สงป.อนุมัติ 1,106.11 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้ดำเนินการได้เฉพาะโครงการที่ 3 - 7 ซึ่งใช้เงิน ADB สำหรับโครงการที่ 1 - 2 ซึ่งใช้เงิน
Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ เนื่องจา JBIC ต้องการพิจารณาให้ความ
เห็นชอบในรายละเอียดโครงการก่อน
3. การดำเนินงานตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือแสดงกรอบ นโยบายเพื่อการพัฒนาซึ่ง
รัฐบาลไทยตกลงไว้ในการขอรับความช่วยเหลือจากแหล่งเงินกู้ ได้ดำเนินการแล้วร้อยละ 30 ของเงื่อนไขทั้งหมด ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนิน
การตามแผนงานที่กำหนด ซึ่งจะต้องรอผลการปฏิบัติงานของคณะที่ปรึกษาภายใต้ความช่วยเหลือของ ADB และรอผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาจาก
ธนาคารโลกในการช่วยวางแผนจัดทำระบบการกำกับดูแลธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน และเกิดจากความล่าช้า
ของหน่วยงานปฏิบัติ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติจะต้องเร่งดำเนินการตามมาตรการ Policy Matrix ให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด หากไม่สามารถ
ดำเนินการตามเงื่อนไขในข้อใด ให้เสนอสำนักงานบริหารโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อดำเนินการหารือผู้เกี่ยวข้องในการปรับแผนดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ และไม่เป็นอุปสรรค
ในการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้ฯ ในภาพรวม
4. การประชาสัมพันธ์โครงการ สำนักงานบริหารโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนจัดการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและ
ส่วนภูมิภาค เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน และไม่เกิดความขัดแย้งทางความคิดในสังคม อย่างไรก็ตาม สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ยังขาด
ความน่าสนใจ ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง และทัศนคติในทางลบต่อองค์การ มีผลต่อการไม่ยอมรับโครงการ ถึงแม้ว่ทุกโครงการจะมี
หลักการ เหตุผล และผ่านการกลั่นกรองมาแล้วจากหน่วยปฏิบัติ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเพิ่มงบประมาณสำหรับการประชาสัมพันธ์
ให้มากขึ้น และดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง และเผยแพร่ผลงานตลอดจนข่าวสารข้อมูล ซึ่งแสดงถึงความ
ถูกต้องโปร่งใสให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อปรับทัศนคติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินงานตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายน 2542 เรื่องโครงการเงินกู้เพื่อปรับ
โครงสร้างภาคเกษตร ครั้งที่ 2 (เดือนเมษายน - มิถุนายน 2543) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ สรุปสาระสำคัญได้ ดังนี้
1. คณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตรได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาอนุมัติรายละเอียด
แผนงาน/โครงการ และกรอบวงเงินแล้วรวมทั้งสิ้น 11 ครั้ง พิจารณารายละเอียด/โครงการ จำนวน9 โครงการ อนุมัติให้ดำเนินการจำนวน
7 โครงการ วงเงิน 4,128.21 ล้านบาท และให้ปรับปรุงและจัดทำรายละเอียดเพิ่มเติมจำนวน 2 โครงการ และเนื่องจากโครงการเงินกู้
เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร เป็นที่สนใจของสาธารณชนเพราะเป็นเงินกู้ สังคมมองว่าจะไม่เกิดความโปร่งใส และไม่คุ้มค่าการลงทุน ทำให้
การพิจารณาโครงการต้องลงในรายละเอียดมากกว่าปกติ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรมีการนำเสนอรายละเอียดโครงการในคณะ
อนุกรรมการกลั่นกรองโครงการชั้นหนึ่งก่อนเสนอคณะกรรมการบริหารฯ และเพิ่มการประชาสัมพันธ์ข่าวสารข้อมูลของโครงการให้สาธารณชน
รับทราบทุกขั้นตอน เน้นความโปร่งใสของระบบบริหาร
2. ผลการเบิกจ่ายเงิน ส่วนราชการที่ได้รับอนุมัติโครงการจากคณะกรรมการบริหารจัดการโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร
(PSC) แล้ว ได้จัดส่งรายละเอียดค่าใช้จ่ายของแต่ละโครงการให้สำนักงบประมาณพิจารณาอนุมัติค่าใช้จ่ายแล้ว ดังนี้
PSC อนุมัติ สงป. อนุมัติ
1. โครงการจัดรูปที่ดิน 232.15 212.04
2. โครงการพัฒนาคุณภาพสินค้าและการจัดการผลผลิตของสถาบันเกษตรกร 1,211.30 477.03
3. โครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตในเขตปฏิรูปที่ดิน 426.06 52.43
4. โครงการวิจัยแและพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพการเกษตร 1,150.00 311.03
5. โครงการพัฒนามาตรฐานและระบบตรวจสอบรับรองคุณภาพสินค้าเกษตร 699.49 11.69
6. โครงการจัดทำแนวเขตและเพิ่มประสิทธิภาพการคุ้มครองพื้นที่ป่าไม้ 303.21 21.38
7. โครงการบริหารจัดการและติดตามประเมินผลโครงการเงินกู้ 70.00 20.51
รวม PSC อนุมัติ 4,128.21 ล้านบาท
สงป.อนุมัติ 1,106.11 ล้านบาท
การเบิกจ่ายเงินกู้ดำเนินการได้เฉพาะโครงการที่ 3 - 7 ซึ่งใช้เงิน ADB สำหรับโครงการที่ 1 - 2 ซึ่งใช้เงิน
Japan Bank for International Cooperation (JBIC) ยังไม่สามารถเบิกจ่ายเงินได้ เนื่องจา JBIC ต้องการพิจารณาให้ความ
เห็นชอบในรายละเอียดโครงการก่อน
3. การดำเนินงานตามกรอบมาตรการด้านนโยบาย (Policy Matrix) ซึ่งระบุไว้ในหนังสือแสดงกรอบ นโยบายเพื่อการพัฒนาซึ่ง
รัฐบาลไทยตกลงไว้ในการขอรับความช่วยเหลือจากแหล่งเงินกู้ ได้ดำเนินการแล้วร้อยละ 30 ของเงื่อนไขทั้งหมด ส่วนที่เหลืออยู่ระหว่างดำเนิน
การตามแผนงานที่กำหนด ซึ่งจะต้องรอผลการปฏิบัติงานของคณะที่ปรึกษาภายใต้ความช่วยเหลือของ ADB และรอผลการปฏิบัติงานของที่ปรึกษาจาก
ธนาคารโลกในการช่วยวางแผนจัดทำระบบการกำกับดูแลธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และธนาคารออมสิน และเกิดจากความล่าช้า
ของหน่วยงานปฏิบัติ ทั้งนี้ หน่วยปฏิบัติจะต้องเร่งดำเนินการตามมาตรการ Policy Matrix ให้แล้วเสร็จตามแผนงานที่กำหนด หากไม่สามารถ
ดำเนินการตามเงื่อนไขในข้อใด ให้เสนอสำนักงานบริหารโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
เพื่อดำเนินการหารือผู้เกี่ยวข้องในการปรับแผนดำเนินงาน อย่างไรก็ตาม คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปลายปีนี้ และไม่เป็นอุปสรรค
ในการดำเนินงานตามโครงการเงินกู้ฯ ในภาพรวม
4. การประชาสัมพันธ์โครงการ สำนักงานบริหารโครงการเงินกู้เพื่อปรับโครงสร้างภาคเกษตร สำนักงานปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์
ได้ดำเนินการประชาสัมพันธ์โดยสื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ตลอดจนจัดการประชุมชี้แจงเจ้าหน้าที่และผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนกลางและ
ส่วนภูมิภาค เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง ตรงกัน และไม่เกิดความขัดแย้งทางความคิดในสังคม อย่างไรก็ตาม สื่อที่ใช้ในการประชาสัมพันธ์ยังขาด
ความน่าสนใจ ไม่สามารถเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้อย่างทั่วถึง และทัศนคติในทางลบต่อองค์การ มีผลต่อการไม่ยอมรับโครงการ ถึงแม้ว่ทุกโครงการจะมี
หลักการ เหตุผล และผ่านการกลั่นกรองมาแล้วจากหน่วยปฏิบัติ ดังนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เห็นควรเพิ่มงบประมาณสำหรับการประชาสัมพันธ์
ให้มากขึ้น และดำเนินการประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายอย่างจริงจัง และเผยแพร่ผลงานตลอดจนข่าวสารข้อมูล ซึ่งแสดงถึงความ
ถูกต้องโปร่งใสให้สาธารณชนได้รับทราบเพื่อปรับทัศนคติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 ก.ย. 2543--
-สส-