แท็ก
พิทักษ์ อินทรวิทยนันท์
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
กระทรวงอุตสาหกรรม
กระทรวงพาณิชย์
นายกรัฐมนตรี
มันสำปะหลัง
คณะรัฐมนตรีพิจารณาแผนยุทธศาสตร์สินค้าเกษตรหลัก (มันสำปะหลัง) ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรม แล้วมีมติเห็นชอบแผนดังกล่าวตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 โดยมีรองนายกรัฐมนตรี (นายพิทักษ์ อินทรวิทยนันท์) เป็นประธานกรรมการฯ โดยให้ทั้ง3 หน่วยงานรับความเห็นของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปพิจารณาดำเนินการ ดังนี้
1. ขณะนี้แม้ว่ามันสำปะหลังของไทยยังคงความได้เปรียบในตลาดโลก ก็ควรจะมีการคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตต่าง ๆ ด้วย เช่น การนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหาร โดยต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ด้วยอันจะเกิดผลดีกว่าการเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับในส่วนของแป้งมันสำปะหลัง ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางทั้งในและต่างประเทศเรื่องการใช้ทดแทนแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดเขตเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากจนเกินไปในกรณีที่มันสำปะหลังมีราคาผลผลิตดี เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนได้ทั้งนี้ในการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จะต้องระมัดระวังมิให้เป็นการสร้างแรงจูงใจต่อเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินได้ในอนาคต
สาระสำคัญของแผนดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้
1. เป้าหมายปี 2545 - 2549
1.1 รักษาระดับพื้นที่ปลูก 6.7 ล้านไร่ โดยประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับมันสำปะหลัง และจดทะเบียนเกษตรกร
1.2 เพิ่มผลผลิตจาก 17.60 ล้านตัน เป็น 20.80 ล้านตัน
1.3 เพิ่มผลผลิตต่อไร่จากไร่ละ 2.6 ตัน เป็น 3.1 ตัน
2. ด้านการผลิต สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่มีเปอร์เซนต์แป้งและผลผลิตต่อไร่สูง รวมทั้งเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ โดยจัดทำโครงการเพื่อวิจัยและพัฒนาพันธุ์ โดยจัดสรรงบประมาณให้กรมวิชาการเกษตรและทบวงมหาวิทยาลัย
3. ด้านการแปรรูป
3.1 ส่งเสริมให้มีการผลิตแป้งแปรรูปเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแป้งแปรรูปและการนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายย่อย ตลอดจนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีการใช้ประโยชน์จากแป้ง
3.2 ส่งเสริมให้มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง สนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรนแก่ผู้ประกอบการเพื่อซื้อลิขสิทธิ์งานวิจัยภาชนะบรรจุภัณฑ์ สนับสนุนงบประมาณเพื่อซื้อเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อทำวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และจัดตั้งองค์กรบ่มเพาะเพื่อทำหน้าที่จัดหาเทคโนโลยีและร่วมลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในระยะแรก
3.3 ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปแป้ง (Modified Starch) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้มากขึ้น
4. ด้านการตลาด
4.1 ส่งเสริมให้มีการใช้มันเส้นเลี้ยงสัตว์มากขึ้น โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อให้สามารถใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม
4.2 ส่งเสริมให้มีการใช้แป้งดิบและแป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหาร กระดาษ ฯลฯมากขึ้น โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้แป้งมันสำปะหลัง เพื่อให้มีการอบรม/สัมมนาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณภาพของแป้ง
4.3 ส่งเสริมให้มีศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพมันเส้น/มันอัดเม็ดคุณภาพดี โดยจัดทำโครงการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมันเส้นและมันอัดเม็ด
4.4 ขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้เพิ่มขึ้น โดยจัดสัมมนาเกี่ยวกับประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ในประเทศกลุ่มเป้าหมาย เชิญกลุ่มเป้าหมายจากต่างประเทศมาดูกระบวนการผลิตในประเทศ และร่วมงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาหารสัตว์ และอื่น ๆ ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเปิดการเจรจาทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อลดการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-
1. ขณะนี้แม้ว่ามันสำปะหลังของไทยยังคงความได้เปรียบในตลาดโลก ก็ควรจะมีการคำนึงถึงการเพิ่มมูลค่าของผลผลิตต่าง ๆ ด้วย เช่น การนำไปผลิตบรรจุภัณฑ์ซึ่งสามารถย่อยสลายได้ในธรรมชาติ และการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ทั้งที่เป็นอาหารและไม่เป็นอาหาร โดยต้องให้ความสำคัญกับการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีในด้านนี้ด้วยอันจะเกิดผลดีกว่าการเป็นประเทศผู้ผลิตวัตถุดิบเพียงอย่างเดียว สำหรับในส่วนของแป้งมันสำปะหลัง ควรมีการประชาสัมพันธ์ให้กว้างขวางทั้งในและต่างประเทศเรื่องการใช้ทดแทนแป้งข้าวโพดและแป้งมันฝรั่งในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง
2. กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ควรกำหนดเขตเพาะปลูกมันสำปะหลังให้ชัดเจน เพื่อป้องกันมิให้มีการขยายพื้นที่เพาะปลูกมากจนเกินไปในกรณีที่มันสำปะหลังมีราคาผลผลิตดี เพราะอาจส่งผลให้เกิดการบุกรุกป่าสงวนได้ทั้งนี้ในการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง จะต้องระมัดระวังมิให้เป็นการสร้างแรงจูงใจต่อเกษตรกรในการปลูกมันสำปะหลังจนทำให้เกิดอุปทานส่วนเกินได้ในอนาคต
สาระสำคัญของแผนดังกล่าว มีรายละเอียด ดังนี้
1. เป้าหมายปี 2545 - 2549
1.1 รักษาระดับพื้นที่ปลูก 6.7 ล้านไร่ โดยประกาศเขตเกษตรเศรษฐกิจสำหรับมันสำปะหลัง และจดทะเบียนเกษตรกร
1.2 เพิ่มผลผลิตจาก 17.60 ล้านตัน เป็น 20.80 ล้านตัน
1.3 เพิ่มผลผลิตต่อไร่จากไร่ละ 2.6 ตัน เป็น 3.1 ตัน
2. ด้านการผลิต สนับสนุนการวิจัยและพัฒนาพันธุ์ที่มีเปอร์เซนต์แป้งและผลผลิตต่อไร่สูง รวมทั้งเหมาะสมตามสภาพพื้นที่ โดยจัดทำโครงการเพื่อวิจัยและพัฒนาพันธุ์ โดยจัดสรรงบประมาณให้กรมวิชาการเกษตรและทบวงมหาวิทยาลัย
3. ด้านการแปรรูป
3.1 ส่งเสริมให้มีการผลิตแป้งแปรรูปเพื่อเพิ่มปริมาณการใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่อง โดยจัดทำโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตแป้งแปรรูปและการนำไปใช้ประโยชน์ให้แก่ผู้ผลิตแป้งมันสำปะหลังรายย่อย ตลอดจนผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมอื่น ๆ ที่มีการใช้ประโยชน์จากแป้ง
3.2 ส่งเสริมให้มีการแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการผลิตเอทานอลจากมันสำปะหลัง สนับสนุนสินเชื่อผ่อนปรนแก่ผู้ประกอบการเพื่อซื้อลิขสิทธิ์งานวิจัยภาชนะบรรจุภัณฑ์ สนับสนุนงบประมาณเพื่อซื้อเทคโนโลยีในการผลิตพลาสติกย่อยสลายได้ทางชีวภาพเพื่อทำวิจัยไปสู่เชิงพาณิชย์ และจัดตั้งองค์กรบ่มเพาะเพื่อทำหน้าที่จัดหาเทคโนโลยีและร่วมลงทุนในผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ ในระยะแรก
3.3 ส่งเสริมให้มีการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีการแปรรูปแป้ง (Modified Starch) เพื่อใช้ในอุตสาหกรรมต่อเนื่องต่าง ๆ โดยจัดทำโครงการวิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้มากขึ้น
4. ด้านการตลาด
4.1 ส่งเสริมให้มีการใช้มันเส้นเลี้ยงสัตว์มากขึ้น โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้มันสำปะหลังเป็นอาหารสัตว์ และถ่ายทอดเทคโนโลยีแก่ผู้เลี้ยงสัตว์เพื่อให้สามารถใช้มันสำปะหลังในสูตรอาหารที่ถูกต้องและเหมาะสม
4.2 ส่งเสริมให้มีการใช้แป้งดิบและแป้งแปรรูปในอุตสาหกรรมต่าง ๆ เช่น อาหาร กระดาษ ฯลฯมากขึ้น โดยจัดทำโครงการส่งเสริมการใช้แป้งมันสำปะหลัง เพื่อให้มีการอบรม/สัมมนาเผยแพร่ความรู้เกี่ยวกับคุณสมบัติและคุณภาพของแป้ง
4.3 ส่งเสริมให้มีศูนย์ตรวจสอบและรับรองคุณภาพมันเส้น/มันอัดเม็ดคุณภาพดี โดยจัดทำโครงการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมันเส้นและมันอัดเม็ด
4.4 ขยายตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังให้เพิ่มขึ้น โดยจัดสัมมนาเกี่ยวกับประโยชน์ของผลิตภัณฑ์ในประเทศกลุ่มเป้าหมาย เชิญกลุ่มเป้าหมายจากต่างประเทศมาดูกระบวนการผลิตในประเทศ และร่วมงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องกับอาหาร อาหารสัตว์ และอื่น ๆ ในประเทศต่าง ๆ รวมทั้งเปิดการเจรจาทวิภาคีและพหุภาคี เพื่อลดการกีดกันทางการค้าทั้งในรูปที่เป็นภาษีและมิใช่ภาษี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 ก.ย.44--
-สส-