ทำเนียบรัฐบาล--16 พ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ผ่อนผันไม่ให้นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ที่ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด มาใช้บังคับในการก่อสร้างระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแนวทางเลือกที่ 1 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับแจ้งจาก กฟผ. ดังนี้
1. ในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 กฟผ. จะต้องก่อสร้างระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อจากคลังน้ำมันของ กฟผ. โดยกำหนดวางแนวท่อส่งน้ำมันในขอบเขตของถนนสายชนบทไปจนถึงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ ในท้องที่อำเภอเหนือคลอง ระยะทางประมาณ 14.3 กิโลเมตร การวางแนวทางท่อดังกล่าวในบางช่วงจำเป็นต้องผ่านป่าชายเลน กว้างประมาณ 4.50 เมตร ยาวประมาณ 1.32 กิโลเมตร รวม เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา การวางท่อส่งน้ำมันดังกล่าวอยู่ในเขตถนนสายชนบทที่มีการใช้คมนาคมอยู่เดิมในเขตป่าชายเลน และถูกเปิดพื้นที่โดยกรมโยธาธิการ จึงมีผลกระทบต่อป่าชายเลนค่อนข้างน้อย และช่วงที่ผ่านพื้นที่ทำกินของราษฎรระยะทางประมาณ 1.9 กิโลเมตร ได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่แล้ว นอกจากนี้ ประมาณราคาค่าก่อสร้างแนววางท่อส่งน้ำมันมีราคาไม่สูงมาก รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากท่อส่งน้ำมันจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวจราจรและไหล่ทางอีกด้วย
2. กฟผ. ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ใช้พื้นที่จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกระบี่ด้วยแล้ว แต่โดยที่พื้นที่แนวท่อส่งน้ำมันระยะทางประมาณ 1.32 กิโลเมตร ติดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเหนือคลอง และป่าแหลมกรวด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อนายอำเภอเหนือคลอง ตามระเบียบกรมป่าไม้ และ กฟผ. ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ตามความประสงค์แล้ว แต่เนื่องจากได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด ดังนี้ กฟผ. จะต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อขอผ่อนผันไม่นำมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาบังคับใช้
3. ต่อมาได้มีการเดินทางไปดูสภาพข้อเท็จจริงโดยมีรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวิรัช ดำรงผล) เป็นหัวหน้าคณะนำเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปตรวจสอบแนวการวางท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปัญหาดังกล่าว รวมทั้งได้ประชุมปรึกษาหารือและได้ข้อสรุปว่า กฟผ. ควรศึกษาเส้นทางการวางท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น อีก 2 เส้นทาง นอกจากเส้นทางเดิม เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่โครงการ รวมทั้งพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างแนววางท่อส่งน้ำมันและประมาณราคาค่าก่อสร้างแต่ละแนวทางเลือกด้วย ซึ่ง กฟผ. ได้ดำเนินการแล้ว และพิจารณาเห็นว่าแนวทางเลือกที่หนึ่งหรือเส้นทางเดิมเป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด แต่เนื่องจากเส้นทางบางช่วงต้องผ่านป่าชายเลน จึงจำเป็นต้องเสนอขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ผ่อนผันไม่ให้นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ที่ให้ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด มาใช้บังคับในการก่อสร้างระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อสำหรับโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ตามแนวทางเลือกที่ 1 ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
ทั้งนี้ สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอตามที่ได้รับแจ้งจาก กฟผ. ดังนี้
1. ในการดำเนินการตามโครงการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ เครื่องที่ 1 และ 2 กฟผ. จะต้องก่อสร้างระบบส่งน้ำมันเชื้อเพลิงทางท่อจากคลังน้ำมันของ กฟผ. โดยกำหนดวางแนวท่อส่งน้ำมันในขอบเขตของถนนสายชนบทไปจนถึงโรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่ ในท้องที่อำเภอเหนือคลอง ระยะทางประมาณ 14.3 กิโลเมตร การวางแนวทางท่อดังกล่าวในบางช่วงจำเป็นต้องผ่านป่าชายเลน กว้างประมาณ 4.50 เมตร ยาวประมาณ 1.32 กิโลเมตร รวม เนื้อที่ประมาณ 3 ไร่ 2 งาน 85 ตารางวา การวางท่อส่งน้ำมันดังกล่าวอยู่ในเขตถนนสายชนบทที่มีการใช้คมนาคมอยู่เดิมในเขตป่าชายเลน และถูกเปิดพื้นที่โดยกรมโยธาธิการ จึงมีผลกระทบต่อป่าชายเลนค่อนข้างน้อย และช่วงที่ผ่านพื้นที่ทำกินของราษฎรระยะทางประมาณ 1.9 กิโลเมตร ได้รับความยินยอมจากเจ้าของพื้นที่แล้ว นอกจากนี้ ประมาณราคาค่าก่อสร้างแนววางท่อส่งน้ำมันมีราคาไม่สูงมาก รวมทั้งการใช้ประโยชน์จากท่อส่งน้ำมันจะไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อพื้นผิวจราจรและไหล่ทางอีกด้วย
2. กฟผ. ได้รับการพิจารณาเห็นชอบให้ใช้พื้นที่จากองค์การบริหารส่วนจังหวัด และองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดกระบี่ด้วยแล้ว แต่โดยที่พื้นที่แนวท่อส่งน้ำมันระยะทางประมาณ 1.32 กิโลเมตร ติดอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองเหนือคลอง และป่าแหลมกรวด การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จึงได้ยื่นหนังสือขออนุญาตใช้พื้นที่ต่อนายอำเภอเหนือคลอง ตามระเบียบกรมป่าไม้ และ กฟผ. ได้รับอนุญาตให้เข้าใช้พื้นที่ตามความประสงค์แล้ว แต่เนื่องจากได้มีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534 ระงับการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ป่าชายเลนโดยเด็ดขาด ดังนี้ กฟผ. จะต้องขออนุมัติคณะรัฐมนตรีเพื่อขอผ่อนผันไม่นำมติคณะรัฐมนตรีดังกล่าวมาบังคับใช้
3. ต่อมาได้มีการเดินทางไปดูสภาพข้อเท็จจริงโดยมีรองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (นายวิรัช ดำรงผล) เป็นหัวหน้าคณะนำเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ไปตรวจสอบแนวการวางท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีปัญหาดังกล่าว รวมทั้งได้ประชุมปรึกษาหารือและได้ข้อสรุปว่า กฟผ. ควรศึกษาเส้นทางการวางท่อส่งน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นทางเลือกเพิ่มขึ้น อีก 2 เส้นทาง นอกจากเส้นทางเดิม เพื่อเปรียบเทียบให้เห็นถึงสภาพข้อเท็จจริงของพื้นที่โครงการ รวมทั้งพิจารณาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมจากการก่อสร้างแนววางท่อส่งน้ำมันและประมาณราคาค่าก่อสร้างแต่ละแนวทางเลือกด้วย ซึ่ง กฟผ. ได้ดำเนินการแล้ว และพิจารณาเห็นว่าแนวทางเลือกที่หนึ่งหรือเส้นทางเดิมเป็นเส้นทางที่เหมาะสมที่สุด แต่เนื่องจากเส้นทางบางช่วงต้องผ่านป่าชายเลน จึงจำเป็นต้องเสนอขอผ่อนผันมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2534
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 พฤษภาคม 2543--
-สส-