ทำเนียบรัฐบาล--29 ส.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (ภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะ) พร้อมด้วยบัญชีท้ายประกาศฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดเก็บภาษีรถยนต์ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงสร้างภาษี โดยมีสาระสำคัญเพื่อกำหนดอัตราภาษีสำหรับรถยนต์กระบะ ออกเป็น 2 อัตรา คือ
1. อัตราภาษีร้อยละ 3 ตามมูลค่า สำหรับรถยนต์ 2 ประเภท คือ
1.1 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาด 1 ตัน ที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อตามที่กรมสรรพสามิตกำหนดดังนี้
1) มีน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม
2) มีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของระยะความยาวที่วัด (ในแนวระนาบเดียวกัน) จากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถึงด้านหลังสุดของกระบะ
3) ระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบ
1.2 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาดเบา ที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกของขนาดเบา และมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด ดังนี้
1) มีพื้นที่กระบะมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การบรรทุกของทั้งในด้านน้ำหนักและเนื้อที่
2) ขับเคลื่อน 2 ล้อ
3) น้ำหนักบรรทุกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักรถยนต์
2. อัตราภาษีร้อยละ 18 ตามมูลค่า สำหรับรถยนต์กระบะประเภทอื่นนอกจากข้อ 1. ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นอัตราเดียวกับรถยนต์ประเภท PPV (Pick - up Passenger Vehicle)
เนื่องจากกระทรวงการคลังเสนอตามรายงานของกรมสรรพสามิตว่า ปัจจุบันรถยนต์กระบะเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เกิดปัญหาว่ารถยนต์ที่มีลักษณะมีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียว ด้านหลังเป็นกระบะเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา แต่ความยาวกระบะสั้นและรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่ารถยนต์กระบะทั่วไป อีกทั้งระบบกันสะเทือนหลังเป็นแบบคอลย์สปริง ซึ่งแม้ลักษณะของรถยนต์จะตรงกับคำนิยาม "รถยนต์กระบะ" ตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่ไม่ควรจะเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เช่นเดียวกับรถยนต์กระบะ (Pick - up) เพราะจะผิดเจตนารมณ์ของโครงสร้างภาษีรถยนต์ เนื่องจากเจตนารมณ์ของการจัดเก็บภาษีรถยนต์กระบะควรเป็นรถยนต์ที่ใช้ในการบรรทุกขนส่งสิ่งของอย่างแท้จริง โดยต้องมีน้ำหนักบรรทุกมากพอสมควร กระบะช่วงหลังควรมีความยาวเพียงพอที่จะใช้บรรทุกได้ ดังนั้น เพื่อให้ระบบภาษีสรรพสามิตมีความชัดเจนขึ้น และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีสรรพสามิต จึงสมควรกำหนดอัตราภาษีสำหรับรถยนต์กระบะเป็น 2 อัตราดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีอนุมัติร่างประกาศกระทรวงการคลัง เรื่อง ลดอัตราภาษีสรรพสามิต (ฉบับที่ ..) (ภาษีสรรพสามิตรถยนต์กระบะ) พร้อมด้วยบัญชีท้ายประกาศฯ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ดำเนินการต่อไปได้
ทั้งนี้ ร่างประกาศกระทรวงการคลังดังกล่าว มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงการจัดเก็บภาษีรถยนต์ให้สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของโครงสร้างภาษี โดยมีสาระสำคัญเพื่อกำหนดอัตราภาษีสำหรับรถยนต์กระบะ ออกเป็น 2 อัตรา คือ
1. อัตราภาษีร้อยละ 3 ตามมูลค่า สำหรับรถยนต์ 2 ประเภท คือ
1.1 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาด 1 ตัน ที่มีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อตามที่กรมสรรพสามิตกำหนดดังนี้
1) มีน้ำหนักบรรทุกไม่น้อยกว่า 1,000 กิโลกรัม
2) มีความยาวกระบะบรรทุกไม่น้อยกว่า 1 ใน 2 ของระยะความยาวที่วัด (ในแนวระนาบเดียวกัน) จากขอบประตูด้านหน้าส่วนที่กว้างที่สุดจนถึงด้านหลังสุดของกระบะ
3) ระบบกันสะเทือนหลังแบบแหนบ
1.2 รถยนต์กระบะบรรทุกขนาดเบา ที่ออกแบบมาเพื่อบรรทุกของขนาดเบา และมีคุณลักษณะครบถ้วนทุกข้อตามที่กรมสรรพสามิตกำหนด ดังนี้
1) มีพื้นที่กระบะมั่นคงแข็งแรงเหมาะแก่การบรรทุกของทั้งในด้านน้ำหนักและเนื้อที่
2) ขับเคลื่อน 2 ล้อ
3) น้ำหนักบรรทุกต้องไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของน้ำหนักรถยนต์
2. อัตราภาษีร้อยละ 18 ตามมูลค่า สำหรับรถยนต์กระบะประเภทอื่นนอกจากข้อ 1. ทั้งนี้ เพื่อให้เป็นอัตราเดียวกับรถยนต์ประเภท PPV (Pick - up Passenger Vehicle)
เนื่องจากกระทรวงการคลังเสนอตามรายงานของกรมสรรพสามิตว่า ปัจจุบันรถยนต์กระบะเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เกิดปัญหาว่ารถยนต์ที่มีลักษณะมีที่นั่งด้านหน้าตอนเดียว ด้านหลังเป็นกระบะเปิดโล่งจนถึงท้ายรถโดยไม่มีหลังคา แต่ความยาวกระบะสั้นและรับน้ำหนักบรรทุกได้น้อยกว่ารถยนต์กระบะทั่วไป อีกทั้งระบบกันสะเทือนหลังเป็นแบบคอลย์สปริง ซึ่งแม้ลักษณะของรถยนต์จะตรงกับคำนิยาม "รถยนต์กระบะ" ตามพระราชบัญญัติพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิต พ.ศ. 2527 แต่ไม่ควรจะเสียภาษีสรรพสามิตในอัตราตามมูลค่าร้อยละ 3 เช่นเดียวกับรถยนต์กระบะ (Pick - up) เพราะจะผิดเจตนารมณ์ของโครงสร้างภาษีรถยนต์ เนื่องจากเจตนารมณ์ของการจัดเก็บภาษีรถยนต์กระบะควรเป็นรถยนต์ที่ใช้ในการบรรทุกขนส่งสิ่งของอย่างแท้จริง โดยต้องมีน้ำหนักบรรทุกมากพอสมควร กระบะช่วงหลังควรมีความยาวเพียงพอที่จะใช้บรรทุกได้ ดังนั้น เพื่อให้ระบบภาษีสรรพสามิตมีความชัดเจนขึ้น และเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการเสียภาษีสรรพสามิต จึงสมควรกำหนดอัตราภาษีสำหรับรถยนต์กระบะเป็น 2 อัตราดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 29 ส.ค. 2543--
-สส-