ทำเนียบรัฐบาล--26 ธ.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติเสนอ ให้จัดตั้งกองบัญชาการภัยพิบัติแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติกำหนดรูปแบบไว้ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ รายงานว่าคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินงานในด้านการป้องกันอุบัติภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (สำนักงาน กปอ.) เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลอุบัติภัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ และสามารถรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้รับทราบข้อมูล และพิจารณาสั่งการกรณีมีอุบัติภัยร้ายแรงเกิดขึ้น แต่เนื่องจากสำนักงาน กปอ. ยังไม่มีความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ จึงเห็นว่าควรใช้ศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานครที่มีความพร้อมในด้านบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางระดับชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน รวบรวมข้อมูลด้านอุบัติภัย เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเป็นกองบัญชาการร่วมหรือกองอำนวยการสั่งการร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กรณีมีเหตุอุบัติภัยร้าย โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นแล้วยังคงปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่มีอยู่ ซึ่งศูนย์กลางดังกล่าวมีโครงสร้างและแนวทางการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกิดการควบคุมสั่งการและประสานงานอย่างเป็นระบบ เห็นควรจัดตั้งศูนย์กลางในการประสาน โดยใช้ชื่อว่า "กองบัญชาการภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ บก.พช."
2. บก.พช. แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 การอำนวยการ มี ส่วนอำนวยการ ทำหน้าที่ในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย หรือประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ เป็นประธานอำนวยการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานอำนวยการประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ของ กปอ. ที่เกี่ยวข้อง ส่วนเลขานุการ มีกรรมการและเลขานุการ กปอ. เป็นเลขานุการอำนวยการ และประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 การปฏิบัติการ มี ส่วนปฏิบัติการ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกัน ระงับ บรรเทา และช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือประธานกรรมการดำเนินงานป้องกันอุบัติภัย เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีส่วนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนในด้านกำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น
3. ในภาวะปกติ บก.พช. จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านข้อมูลอุบัติภัยทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนในภาวะฉุกเฉิน จะทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการร่วม โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของประเทศ ได้รับทราบและพิจารณาสั่งการตามแต่สถานการณ์
4. งบประมาณดำเนินการ ในภาวะปกติให้กรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยดำเนินการ ส่วนในภาวะฉุกเฉิน ให้ กปอ. เป็นผู้พิจารณาเสนอของบกลางจากรัฐบาลสนับสนุนตามความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติเสนอ ให้จัดตั้งกองบัญชาการภัยพิบัติแห่งชาติ โดยให้กระทรวงมหาดไทยใช้เครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่มีอยู่ดำเนินการตามที่คณะกรรมการป้องกันภัยฝ่ายพลเรือนแห่งชาติกำหนดรูปแบบไว้ ตามความเห็นของสำนักงบประมาณ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) ประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ รายงานว่าคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (กปอ.) ได้พิจารณาเห็นว่า เพื่อให้การดำเนินงานในด้านการป้องกันอุบัติภัยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เห็นควรให้สำนักงานคณะกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ (สำนักงาน กปอ.) เป็นศูนย์รับแจ้งเหตุและเชื่อมโยงเครือข่ายข้อมูลอุบัติภัยจากหน่วยงานต่าง ๆ ทั่วประเทศ และสามารถรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงได้รับทราบข้อมูล และพิจารณาสั่งการกรณีมีอุบัติภัยร้ายแรงเกิดขึ้น แต่เนื่องจากสำนักงาน กปอ. ยังไม่มีความพร้อมทั้งบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ จึงเห็นว่าควรใช้ศูนย์อุบัติภัยกรุงเทพมหานครที่มีความพร้อมในด้านบุคลากรและเครื่องมืออุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นศูนย์กลางระดับชาติ โดยจะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงาน รวบรวมข้อมูลด้านอุบัติภัย เชื่อมโยงเครือข่ายกับหน่วยงานหรือองค์กรต่างๆ ทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ และเป็นกองบัญชาการร่วมหรือกองอำนวยการสั่งการร่วมระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและเอกชน กรณีมีเหตุอุบัติภัยร้าย โดยหน่วยงานหรือองค์กรที่จัดตั้งขึ้นแล้วยังคงปฏิบัติหน้าที่ภายใต้กฎ ระเบียบ หรือข้อบังคับที่มีอยู่ ซึ่งศูนย์กลางดังกล่าวมีโครงสร้างและแนวทางการดำเนินงาน สรุปได้ดังนี้
1. วัตถุประสงค์หลัก เพื่อให้เกิดการควบคุมสั่งการและประสานงานอย่างเป็นระบบ เห็นควรจัดตั้งศูนย์กลางในการประสาน โดยใช้ชื่อว่า "กองบัญชาการภัยพิบัติแห่งชาติ หรือ บก.พช."
2. บก.พช. แบ่งโครงสร้างออกเป็น 2 ส่วน คือ
2.1 การอำนวยการ มี ส่วนอำนวยการ ทำหน้าที่ในด้านการกำหนดนโยบายและการวางแผน โดยมีนายกรัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรีที่นายกรัฐมนตรีมอบหมาย หรือประธานกรรมการป้องกันอุบัติภัยแห่งชาติ เป็นประธานอำนวยการ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นรองประธานอำนวยการประกอบด้วย คณะอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ของ กปอ. ที่เกี่ยวข้อง ส่วนเลขานุการ มีกรรมการและเลขานุการ กปอ. เป็นเลขานุการอำนวยการ และประกอบด้วยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
2.2 การปฏิบัติการ มี ส่วนปฏิบัติการ ทำหน้าที่ปฏิบัติการป้องกัน ระงับ บรรเทา และช่วยเหลือผู้ประสบภัย มีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย หรือประธานกรรมการดำเนินงานป้องกันอุบัติภัย เป็นประธาน ประกอบด้วยหน่วยปฏิบัติต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้อง โดยมีส่วนสนับสนุนจากหน่วยงานของรัฐและภาคเอกชนให้การสนับสนุนในด้านกำลังเจ้าหน้าที่ วัสดุอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่จำเป็น
3. ในภาวะปกติ บก.พช. จะทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการประสานงานด้านข้อมูลอุบัติภัยทั้งภาครัฐและเอกชน ส่วนในภาวะฉุกเฉิน จะทำหน้าที่เป็นกองบัญชาการร่วม โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการสนับสนุนเครื่องมืออุปกรณ์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้ชำนาญการ ภายในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนการรายงานให้ผู้บังคับบัญชาระดับสูงของประเทศ ได้รับทราบและพิจารณาสั่งการตามแต่สถานการณ์
4. งบประมาณดำเนินการ ในภาวะปกติให้กรุงเทพมหานครพิจารณาจัดสรรงบประมาณสนับสนุนในการพัฒนาเครื่องมืออุปกรณ์และบุคลากรให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น สำหรับหน่วยงานอื่น ๆ ให้ใช้งบประมาณปกติของแต่ละหน่วยดำเนินการ ส่วนในภาวะฉุกเฉิน ให้ กปอ. เป็นผู้พิจารณาเสนอของบกลางจากรัฐบาลสนับสนุนตามความจำเป็นเร่งด่วนและความเหมาะสม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 26 ธ.ค. 2543--
-สส-