คณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. ตามที่สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาเสนอ
เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)รับไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า หลักการในเรื่องนี้สมควรให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อให้เกิดความสะดวกในการต่อเนื่องของงานจนกว่าจะมีการตรากฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติขึ้นเป็นการถาวรต่อไป และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปปรับปรุงร่างทั้งสองฉบับอีกครั้งหนึ่งตามผลการประชุมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้สรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่ผ่านมา ดังนี้
1. การเตรียมกลไกระดับจังหวัดและอำเภอ
1.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ในส่วนที่ไม่ใช่ผู้แทนคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 75 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 100.0
1.2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ จำนวน 876 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 100.0
1.3 การแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายชุมชนระดับอำเภอ จำนวน 728 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 83.11
1.4 อำเภอมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงาน จำนวน 810 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ92.47
2. การประชาสัมพันธ์ ได้มีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง หลังจากได้จัดการเสวนา "กองทุนหมู่บ้านแก้จน สร้างชุมชนเข้มแข็ง" และการเสวนา "พลัง 4 ประสาน เพื่อผลักดันกองทุน" ให้ขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2544
แผนการดำเนินงานช่วงต่อไป จะเน้นการจัดทำระเบียบกองทุนและการขอขึ้นทะเบียนกองทุน
3. การประสานความร่วมมือ การประสานความร่วมมือของพลัง 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการฝ่ายเครือข่ายชุมชน และฝ่ายประชาชน เป็นไปอย่างดียิ่ง
4. การติดตามการดำเนินงาน
4.1 การจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ดำเนินการไปแล้ว จำนวน44,413 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.37 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ
4.2 การเข้าร่วมสังเกตการณ์ของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอในการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 43,570 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 98.10 ของจำนวนหมู่บ้านที่คัดเลือกคณะกรรมการกองทุนแล้ว
4.3 การคัดเลือกดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบกองทุนฯ จำนวน 43,175 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 97.21
4.4 มีการเปิดรับสมาชิกกองทุนแล้ว จำนวน 30,480 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 42.80
4.5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านแล้ว จำนวน 27,988หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 39.30
4.6 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ทำการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแล้ว จำนวน 18,563 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 26.07
4.7 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ได้ดำเนินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนกับธนาคารแล้ว จำนวน 15,191หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 21.33
4.8 คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอได้ทำการประเมินความพร้อมของหมู่บ้านแล้ว จำนวน6,527 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 9.49 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ โดยผลการประเมินเป็น ดังนี้
- ผ่าน จำนวน 3,650 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 55.9
- ต้องปรับปรุง จำนวน 2,420 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 37.1
- ต้องปรับปรุงดูแลอย่างใกล้ชิด จำนวน 457 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.0
4.9 คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ได้พิจารณาให้ความเห็นผลการประเมินความพร้อมของหมู่บ้านที่ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอแล้ว ผลเป็นดังนี้
- ผ่าน จำนวน 701 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ
- ไม่ผ่าน จำนวน 646 หมู่บ้าน
5. แหล่งที่มาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะใช้เงินกู้จากธนาคารออมสิน ซึ่งมีความพร้อมแล้วโดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะเป็นผู้กู้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ รัฐบาลจะตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสินเป็นปี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-
เรื่องนี้คณะรัฐมนตรีได้มีมติรับหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (องค์การมหาชน) พ.ศ. …. และร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2544 และมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ)รับไปพิจารณาในรายละเอียดอีกครั้งหนึ่ง
รองนายกรัฐมนตรี (นายสุวิทย์ คุณกิตติ) ได้ประชุมร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องแล้วเห็นว่า หลักการในเรื่องนี้สมควรให้คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ที่ปฏิบัติหน้าที่ในปัจจุบัน ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรี ว่าด้วยคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ พ.ศ. 2544 ยังคงปฏิบัติหน้าที่ต่อไปเพื่อให้เกิดความสะดวกในการต่อเนื่องของงานจนกว่าจะมีการตรากฎหมายว่าด้วยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติขึ้นเป็นการถาวรต่อไป และได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีการับไปปรับปรุงร่างทั้งสองฉบับอีกครั้งหนึ่งตามผลการประชุมดังกล่าว สำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาจึงได้เสนอคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบดังกล่าว
อนึ่ง คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ ได้สรุปผลการดำเนินงานตามนโยบายกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติที่ผ่านมา ดังนี้
1. การเตรียมกลไกระดับจังหวัดและอำเภอ
1.1 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ในส่วนที่ไม่ใช่ผู้แทนคณะกรรมการและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 75 จังหวัด คิดเป็นร้อยละ 100.0
1.2 การแต่งตั้งคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอ จำนวน 876 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 100.0
1.3 การแต่งตั้งคณะทำงานเครือข่ายชุมชนระดับอำเภอ จำนวน 728 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ 83.11
1.4 อำเภอมีการแต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการดำเนินงาน จำนวน 810 อำเภอ คิดเป็นร้อยละ92.47
2. การประชาสัมพันธ์ ได้มีการดำเนินงานประชาสัมพันธ์อย่างต่อเนื่อง หลังจากได้จัดการเสวนา "กองทุนหมู่บ้านแก้จน สร้างชุมชนเข้มแข็ง" และการเสวนา "พลัง 4 ประสาน เพื่อผลักดันกองทุน" ให้ขับเคลื่อนกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2544
แผนการดำเนินงานช่วงต่อไป จะเน้นการจัดทำระเบียบกองทุนและการขอขึ้นทะเบียนกองทุน
3. การประสานความร่วมมือ การประสานความร่วมมือของพลัง 4 ฝ่าย คือ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายราชการฝ่ายเครือข่ายชุมชน และฝ่ายประชาชน เป็นไปอย่างดียิ่ง
4. การติดตามการดำเนินงาน
4.1 การจัดเวทีประชาคมเพื่อคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ดำเนินการไปแล้ว จำนวน44,413 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 62.37 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ
4.2 การเข้าร่วมสังเกตการณ์ของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอในการคัดเลือกคณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน เข้าร่วมทั้งสิ้นจำนวน 43,570 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 98.10 ของจำนวนหมู่บ้านที่คัดเลือกคณะกรรมการกองทุนแล้ว
4.3 การคัดเลือกดังกล่าวเป็นไปตามระเบียบกองทุนฯ จำนวน 43,175 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 97.21
4.4 มีการเปิดรับสมาชิกกองทุนแล้ว จำนวน 30,480 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 42.80
4.5 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านมีการจัดทำระเบียบข้อบังคับกองทุนหมู่บ้านแล้ว จำนวน 27,988หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 39.30
4.6 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านได้ทำการเปิดบัญชีเงินฝากกับธนาคารแล้ว จำนวน 18,563 หมู่บ้านคิดเป็นร้อยละ 26.07
4.7 คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้าน ได้ดำเนินการยื่นคำขอขึ้นทะเบียนกับธนาคารแล้ว จำนวน 15,191หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 21.33
4.8 คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอได้ทำการประเมินความพร้อมของหมู่บ้านแล้ว จำนวน6,527 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 9.49 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ โดยผลการประเมินเป็น ดังนี้
- ผ่าน จำนวน 3,650 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 55.9
- ต้องปรับปรุง จำนวน 2,420 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 37.1
- ต้องปรับปรุงดูแลอย่างใกล้ชิด จำนวน 457 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 7.0
4.9 คณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับจังหวัด ได้พิจารณาให้ความเห็นผลการประเมินความพร้อมของหมู่บ้านที่ผ่านการประเมินของคณะอนุกรรมการสนับสนุนระดับอำเภอแล้ว ผลเป็นดังนี้
- ผ่าน จำนวน 701 หมู่บ้าน คิดเป็นร้อยละ 0.98 ของหมู่บ้านทั้งประเทศ
- ไม่ผ่าน จำนวน 646 หมู่บ้าน
5. แหล่งที่มาของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จะใช้เงินกู้จากธนาคารออมสิน ซึ่งมีความพร้อมแล้วโดยกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติจะเป็นผู้กู้ โดยมีกระทรวงการคลังเป็นผู้ค้ำประกัน ทั้งนี้ รัฐบาลจะตั้งงบประมาณรายจ่ายประจำปีชดใช้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสินเป็นปี ๆ ไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 10 ก.ค.44--
-สส-