คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ ให้จัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี โดยหากจำเป็นต้องแก้ไขปรับปรุงความตกลงฯ ที่มิใช่สาระสำคัญและเป็นประโยชน์ต่อฝ่ายไทย ก็ให้กระทรวงคมนาคมสามารถดำเนินการได้ โดยประสานงานกับกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย กระทรวงการต่างประเทศ และเห็นชอบให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมหรือผู้ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคมมอบหมายเป็นผู้ลงนามฝ่ายไทยในความตกลงฯ ดังกล่าว ก่อนกระทรวงการต่างประเทศดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไปซึ่งการจัดทำความตกลงดังกล่าว จะเป็นประโยชน์ในการพัฒนาความร่วมมืออันดีระหว่างประเทศทั้งสองในด้านการส่งเสริมการค้าและการเดินเรือพาณิชย์ ซึ่งกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาแล้วไม่มีข้อขัดข้องแต่ประการใด
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานว่า ในการประชุมเพื่อจัดทำแผนงานความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทย - สาธารณรัฐเกาหลีในศตวรรษที่ 21 (The Kingdom of Thailand and the Republic of Korea Action Agenda forthe 21st Century) ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลกับสาธารณรัฐเกาหลีตามข้อเสนอแนะของฝ่ายไทยโดยกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งขึ้นโดยคำสั่งของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีได้พิจารณาร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการขนส่งทางทะเลระหว่างราชอาณาจักรไทย - สาธารณรัฐเกาหลี และได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขร่างความตกลงฯ ตามมติที่ประชุม และรับนัดเจรจากับสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป
ทั้งสองฝ่ายได้ประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 27 - 28 มิถุนายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาร่างความตกลงฯ ดังกล่าว โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในคณะผู้แทนไทยด้วย ซึ่งร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สิทธิในการให้บริการขนส่งภายใต้กรอบความตกลงฯ เรือของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิให้บริการขนส่งทางทะเลระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี และระหว่างภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งกับประเทศที่สามด้วย ทั้งนี้ เรือที่เช่าโดยภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งจะได้รับสิทธิดังกล่าวเช่นกัน แต่ไม่รวมถึงกรณีการค้าชายฝั่งของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. การขจัดอุปสรรคในการเดินเรือ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันในอันที่จะขจัดอุปสรรคทั้งปวง อันอาจขัดขวางต่อการพัฒนาการขนส่งทางทะเลระหว่างท่าเรือของทั้งสองฝ่าย
3. การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทเรือ ภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายให้สิทธิแก่บริษัทเรือของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดตั้งสำนักงานสาขาในดินแดนของตน
4. การเข้า - ออกจากท่า ให้ทั้งสองฝ่ายอำนวยความสะดวกแก่เรือของอีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องพิธีการศุลกากร และเรื่องอื่น ๆ เพื่อให้เรือเสียเวลาที่ท่าเรือน้อยที่สุด
5. เอกสารประจำเรือ ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับและให้ความเชื่อถือแก่กันในเอกสารประจำเรือที่อีกฝ่ายหนึ่งออกให้แก่เรือของตน เช่น ใบทะเบียนเรือ หนังสือสำคัญรับรองการวัดขนาดของเรือ เป็นต้น
6. เกี่ยวกับคนประจำเรือ
6.1 ทั้งสองฝ่ายยอมรับ และให้ใช้หนังสือประจำตัวคนประจำเรือ (Seaman's Book) หรือหนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีของราชอาณาจักรไทย และหนังสือเดินทางคนประจำเรือ (Seafarer's Passport) หรือหนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีของสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเอกสารประจำตัวคนประจำเรือได้
6.2 ขณะที่เรือจอดอยู่ในท่า ให้คนประจำเรือของอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นฝั่งและอาศัยอยู่ชั่วคราวได้โดยไม่ต้องมีการตรวจประทับลงตรา โดยมีเงื่อนไขว่า นายเรือจะต้องส่งรายชื่อคนประจำเรือให้แก่เจ้าหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องอยู่ภายใต้การตรวจคนเข้าเมืองและพิธีการศุลกากร
6.3 ให้เจ้าของเรือหรือตัวแทนเรือสามารถติดต่อกับคนประจำเรือของตนในขณะที่เรือจอดอยู่ที่ท่าของอีกฝ่ายหนึ่งได้
7. กรณีเรือประสบภัย ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการทั้งปวงเท่าที่จะกระทำได้ในอันที่จะกู้ภัยและช่วยเหลือเรือของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งคนประจำเรือ คนโดยสารและสินค้าในเรือ
8. การโอนเงินระหว่างประเทศ การโอนเงินรายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการของบริษัทเรือกลับประเทศของตน ให้ทำโดยเสรี
9. คณะกรรมาธิการร่วมด้านการขนส่งทางทะเล ความตกลงนี้มีผลเป็นการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการขนส่งทางทะเล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณาเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านการขนส่งทางทะเล รวมทั้งการให้ความร่วมมือด้านเทคนิคและการฝึกอบรมผู้ชำนาญการเฉพาะด้านการพาณิชยนาวี คณะกรรมาธิการร่วมฯ นี้จะประชุมเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
10. ปัญหาและข้อพิพาทใด ๆ อันเกิดจากการใช้หรือการตีความข้อบทของความตกลงนี้ ให้ดำเนินการระงับปัญหาหรือข้อพิพาทโดยการปรึกษาหารือและการเจรจาทางการทูต
อนึ่ง ผลการเจราจาซึ่งคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อในร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศทั้งสอง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2544 จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการให้มีการลงนามความตกลงฯ และแลกเปลี่ยนหนังสือยืนยันการมีผลบังคับใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-
ทั้งนี้ กระทรวงคมนาคมได้รายงานว่า ในการประชุมเพื่อจัดทำแผนงานความร่วมมือระหว่างราชอาณาจักรไทย - สาธารณรัฐเกาหลีในศตวรรษที่ 21 (The Kingdom of Thailand and the Republic of Korea Action Agenda forthe 21st Century) ที่กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 16 กันยายน 2541 ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดทำความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลกับสาธารณรัฐเกาหลีตามข้อเสนอแนะของฝ่ายไทยโดยกระทรวงคมนาคม และคณะกรรมการอนุสัญญาและความตกลงระหว่างประเทศ ซึ่งตั้งขึ้นโดยคำสั่งของคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีได้พิจารณาร่างความตกลงทวิภาคีว่าด้วยการขนส่งทางทะเลระหว่างราชอาณาจักรไทย - สาธารณรัฐเกาหลี และได้มีมติเห็นชอบให้แก้ไขร่างความตกลงฯ ตามมติที่ประชุม และรับนัดเจรจากับสาธารณรัฐเกาหลีต่อไป
ทั้งสองฝ่ายได้ประชุมร่วมกัน เมื่อวันที่ 27 - 28 มิถุนายน 2544 ที่กรุงเทพฯ เพื่อพิจารณาร่างความตกลงฯ ดังกล่าว โดยมีเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการพาณิชยนาวีเป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมในคณะผู้แทนไทยด้วย ซึ่งร่างความตกลงฯ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. สิทธิในการให้บริการขนส่งภายใต้กรอบความตกลงฯ เรือของทั้งสองฝ่ายมีสิทธิให้บริการขนส่งทางทะเลระหว่างราชอาณาจักรไทยและสาธารณรัฐเกาหลี และระหว่างภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งกับประเทศที่สามด้วย ทั้งนี้ เรือที่เช่าโดยภาคีผู้ทำสัญญาฝ่ายหนึ่งจะได้รับสิทธิดังกล่าวเช่นกัน แต่ไม่รวมถึงกรณีการค้าชายฝั่งของอีกฝ่ายหนึ่ง
2. การขจัดอุปสรรคในการเดินเรือ ทั้งสองฝ่ายตกลงร่วมกันในอันที่จะขจัดอุปสรรคทั้งปวง อันอาจขัดขวางต่อการพัฒนาการขนส่งทางทะเลระหว่างท่าเรือของทั้งสองฝ่าย
3. การจัดตั้งสำนักงานสาขาของบริษัทเรือ ภาคีผู้ทำสัญญาแต่ละฝ่ายให้สิทธิแก่บริษัทเรือของภาคีผู้ทำสัญญาอีกฝ่ายหนึ่งในการจัดตั้งสำนักงานสาขาในดินแดนของตน
4. การเข้า - ออกจากท่า ให้ทั้งสองฝ่ายอำนวยความสะดวกแก่เรือของอีกฝ่ายหนึ่งในเรื่องพิธีการศุลกากร และเรื่องอื่น ๆ เพื่อให้เรือเสียเวลาที่ท่าเรือน้อยที่สุด
5. เอกสารประจำเรือ ทั้งสองฝ่ายจะยอมรับและให้ความเชื่อถือแก่กันในเอกสารประจำเรือที่อีกฝ่ายหนึ่งออกให้แก่เรือของตน เช่น ใบทะเบียนเรือ หนังสือสำคัญรับรองการวัดขนาดของเรือ เป็นต้น
6. เกี่ยวกับคนประจำเรือ
6.1 ทั้งสองฝ่ายยอมรับ และให้ใช้หนังสือประจำตัวคนประจำเรือ (Seaman's Book) หรือหนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีของราชอาณาจักรไทย และหนังสือเดินทางคนประจำเรือ (Seafarer's Passport) หรือหนังสือเดินทาง (Passport) ในกรณีของสาธารณรัฐเกาหลีเป็นเอกสารประจำตัวคนประจำเรือได้
6.2 ขณะที่เรือจอดอยู่ในท่า ให้คนประจำเรือของอีกฝ่ายหนึ่งขึ้นฝั่งและอาศัยอยู่ชั่วคราวได้โดยไม่ต้องมีการตรวจประทับลงตรา โดยมีเงื่อนไขว่า นายเรือจะต้องส่งรายชื่อคนประจำเรือให้แก่เจ้าหน้าที่ของอีกฝ่ายหนึ่ง และต้องอยู่ภายใต้การตรวจคนเข้าเมืองและพิธีการศุลกากร
6.3 ให้เจ้าของเรือหรือตัวแทนเรือสามารถติดต่อกับคนประจำเรือของตนในขณะที่เรือจอดอยู่ที่ท่าของอีกฝ่ายหนึ่งได้
7. กรณีเรือประสบภัย ให้ทั้งสองฝ่ายดำเนินการทั้งปวงเท่าที่จะกระทำได้ในอันที่จะกู้ภัยและช่วยเหลือเรือของอีกฝ่ายหนึ่ง รวมทั้งคนประจำเรือ คนโดยสารและสินค้าในเรือ
8. การโอนเงินระหว่างประเทศ การโอนเงินรายได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการของบริษัทเรือกลับประเทศของตน ให้ทำโดยเสรี
9. คณะกรรมาธิการร่วมด้านการขนส่งทางทะเล ความตกลงนี้มีผลเป็นการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมด้านการขนส่งทางทะเล ซึ่งประกอบด้วยผู้แทนของทั้งสองฝ่าย เพื่อพิจารณาเรื่องทั้งหลายที่เกี่ยวกับการพัฒนาความสัมพันธ์ในด้านการขนส่งทางทะเล รวมทั้งการให้ความร่วมมือด้านเทคนิคและการฝึกอบรมผู้ชำนาญการเฉพาะด้านการพาณิชยนาวี คณะกรรมาธิการร่วมฯ นี้จะประชุมเฉพาะเมื่อมีความจำเป็นเท่านั้น
10. ปัญหาและข้อพิพาทใด ๆ อันเกิดจากการใช้หรือการตีความข้อบทของความตกลงนี้ ให้ดำเนินการระงับปัญหาหรือข้อพิพาทโดยการปรึกษาหารือและการเจรจาทางการทูต
อนึ่ง ผลการเจราจาซึ่งคณะผู้แทนของทั้งสองฝ่ายได้ลงนามย่อในร่างความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางทะเลระหว่างประเทศทั้งสอง เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 2544 จะต้องนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาให้ความเห็นชอบ ก่อนดำเนินการให้มีการลงนามความตกลงฯ และแลกเปลี่ยนหนังสือยืนยันการมีผลบังคับใช้ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 ก.ย.44--
-สส-