ทำเนียบรัฐบาล--27 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ ให้การรับรองการแก้ไขข้อตกลงสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย - แปซิฟิก ปี 1977 และมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในเอกสารรับรองการแก้ไขข้อตกลงดังกล่าว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2520 ได้อนุมัติในหลักการเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนโครงการภูมิภาคของสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย รวม 3 ข้อ คือ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินพอเป็นสัญญลักษณ์แสดงความจริงใจในความเป็นมิตรประเทศ และสนับสนุนงานการร่วมมือระดับภูมิภาค ร่วมเป็นสมาชิกของโครงการและการส่งผู้แทนไปร่วมประชุมโครงการนี้
กรมประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยงานกระจายเสียงแห่งชาติของประเทศไทยได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย - แปซิฟิก หรือ AIBD (Asia - Pacific Institute for Broadcasting Development) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกอบรมและให้บริการด้านการกระจายเสียงแก่หน่วยงานรัฐบาลของประเทศที่เป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเพื่อภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ESCAP) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับการกระจายเสียงในภูมิภาคนี้ โดยตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2520 (1977) มีสำนักงานอยู่ที่กรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันมีสมาชิก 23 ประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้จ่ายเงินบำรุงค่าสมาชิกแก่ AIBD ปีละ 7,500 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 277,500 บาท และได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสภาบริหารของ AIBD ซึ่งมีวาระตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 - ธันวาคม 2544 รวมทั้งเป็นกรรมการใน Executive Committee วาระ 2 ปี (พ.ศ. 2543 - 2544)
ทั้งนี้ การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของ AIDB ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2541 ณ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพของ AIBD จากองค์กรระหว่างรัฐบาลเป็นองค์กรอิสระ เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันการกระจายเสียงของภูมิภาคนี้มิได้เป็นของรัฐบาลแต่ผู้เดียว และในหลายประเทศกิจการกระจายเสียงดำเนินการโดยภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐจึงมีความเห็นพ้องกันว่า การรับเอกชนเข้าเป็นสมาชิกจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้านการเงินที่ AIBD กำลังประสบอยู่ แต่โดยที่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของ AIBD จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อต้องแก้ไขข้อตกลงจัดตั้ง AIBD พ.ศ. 2520 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิก 2 ใน 3 และนำเรื่องเสนอต่อเลขาธิการสหประชาชาติเพื่ออนุมัติต่อไป
การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของ AIBD ครั้งที่ 2 และการประชุมสภาบริหารสมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2542 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายการแก้ไขข้อตกลง AIBD ในสาระสำคัญ คือ การเปิดรับสมาชิกให้กว้างขึ้น สถาบันหรือองค์กรกระจายเสียงทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิก AIBD ได้ และทุกปีต้องมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสำหรับสมาชิกทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี โดยกรมประชาสัมพันธ์เสนอ ให้การรับรองการแก้ไขข้อตกลงสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย - แปซิฟิก ปี 1977 และมอบอำนาจให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้ลงนามในเอกสารรับรองการแก้ไขข้อตกลงดังกล่าว
ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2520 ได้อนุมัติในหลักการเกี่ยวกับเรื่องการสนับสนุนโครงการภูมิภาคของสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย รวม 3 ข้อ คือ ให้ความช่วยเหลือทางการเงินพอเป็นสัญญลักษณ์แสดงความจริงใจในความเป็นมิตรประเทศ และสนับสนุนงานการร่วมมือระดับภูมิภาค ร่วมเป็นสมาชิกของโครงการและการส่งผู้แทนไปร่วมประชุมโครงการนี้
กรมประชาสัมพันธ์ในฐานะหน่วยงานกระจายเสียงแห่งชาติของประเทศไทยได้เป็นตัวแทนของประเทศไทยเข้าร่วมเป็นสมาชิกก่อตั้งสถาบันพัฒนาการกระจายเสียงแห่งเอเชีย - แปซิฟิก หรือ AIBD (Asia - Pacific Institute for Broadcasting Development) ซึ่งเป็นสถาบันฝึกอบรมและให้บริการด้านการกระจายเสียงแก่หน่วยงานรัฐบาลของประเทศที่เป็นสมาชิกในคณะกรรมาธิการเศรษฐกิจและสังคมแห่งสหประชาชาติเพื่อภูมิภาคเอเชีย - แปซิฟิก (ESCAP) ภายใต้การสนับสนุนขององค์การสหประชาชาติ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและยกระดับการกระจายเสียงในภูมิภาคนี้ โดยตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2520 (1977) มีสำนักงานอยู่ที่กรุงกัมลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย ปัจจุบันมีสมาชิก 23 ประเทศ โดยกรมประชาสัมพันธ์ได้จ่ายเงินบำรุงค่าสมาชิกแก่ AIBD ปีละ 7,500 เหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 277,500 บาท และได้รับเลือกให้เป็นกรรมการสภาบริหารของ AIBD ซึ่งมีวาระตั้งแต่เดือนมกราคม 2541 - ธันวาคม 2544 รวมทั้งเป็นกรรมการใน Executive Committee วาระ 2 ปี (พ.ศ. 2543 - 2544)
ทั้งนี้ การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของ AIDB ครั้งที่ 1 ระหว่างวันที่ 23 - 26 กุมภาพันธ์ 2541 ณ ประเทศมาเลเซีย ที่ประชุมได้หารือเกี่ยวกับการเปลี่ยนสถานภาพของ AIBD จากองค์กรระหว่างรัฐบาลเป็นองค์กรอิสระ เนื่องจากเห็นว่าปัจจุบันการกระจายเสียงของภูมิภาคนี้มิได้เป็นของรัฐบาลแต่ผู้เดียว และในหลายประเทศกิจการกระจายเสียงดำเนินการโดยภาคเอกชนมากกว่าภาครัฐจึงมีความเห็นพ้องกันว่า การรับเอกชนเข้าเป็นสมาชิกจะมีส่วนช่วยแก้ปัญหาด้านการเงินที่ AIBD กำลังประสบอยู่ แต่โดยที่การเปลี่ยนแปลงสถานภาพของ AIBD จะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อต้องแก้ไขข้อตกลงจัดตั้ง AIBD พ.ศ. 2520 ซึ่งต้องได้รับความเห็นชอบจากสมาชิก 2 ใน 3 และนำเรื่องเสนอต่อเลขาธิการสหประชาชาติเพื่ออนุมัติต่อไป
การประชุมระหว่างรัฐบาลประเทศสมาชิกของ AIBD ครั้งที่ 2 และการประชุมสภาบริหารสมัยพิเศษ ระหว่างวันที่ 10 - 13 กุมภาพันธ์ 2542 ณ ประเทศอินโดนีเซีย ที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบรายการแก้ไขข้อตกลง AIBD ในสาระสำคัญ คือ การเปิดรับสมาชิกให้กว้างขึ้น สถาบันหรือองค์กรกระจายเสียงทั่วไปสามารถสมัครเป็นสมาชิก AIBD ได้ และทุกปีต้องมีการประชุมใหญ่สามัญประจำปีสำหรับสมาชิกทั้งหมด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 27 มิ.ย. 2543--
-สส-