ทำเนียบรัฐบาล--8 ก.พ.--รอยเตอร์
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันการทุจริตกรณีการรั่วไหลในระบบการจัดเก็บภาษีอากร และการให้สัมปทานธุรกิจโทรคมนาคม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยกระทรวงคมนาคมได้ยึดกรอบแนวนโยบายการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งแผนแม่บทฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมแบบผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐไปสู่การดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมแบบแข่งขันเสรี โดยได้กำหนดความสัมพันธ์ของบทบาทองค์กรต่าง ๆ ในธุรกิจโทรคมนาคมออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ กล่าวคือ
1. หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ กระทรวงและส่วนราชการที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม
2. องค์กรกำกับดูแล เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระที่จะรับนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในการกำกับดูแลและการอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
3. ผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนที่จะสามารถประกอบธุรกิจโทรคมนาคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้การกำหนดดูแลขององค์กรกำกับดูแล
ซึ่งจะเห็นได้ว่า แนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ได้ครอบคลุมประเด็นข้อเสนอแนะของรายงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ที่ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543--
คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามข้อเสนอให้มีการปรับปรุงการปฏิบัติราชการ เพื่อป้องกันการทุจริตกรณีการรั่วไหลในระบบการจัดเก็บภาษีอากร และการให้สัมปทานธุรกิจโทรคมนาคม ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอ โดยกระทรวงคมนาคมได้ยึดกรอบแนวนโยบายการดำเนินงานตามแผนแม่บทการพัฒนากิจการโทรคมนาคมที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแล้วเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายน 2540 ซึ่งแผนแม่บทฯ ดังกล่าวมีวัตถุประสงค์สำคัญที่จะปรับเปลี่ยนการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมแบบผูกขาดโดยหน่วยงานของรัฐไปสู่การดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมแบบแข่งขันเสรี โดยได้กำหนดความสัมพันธ์ของบทบาทองค์กรต่าง ๆ ในธุรกิจโทรคมนาคมออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ ๆ กล่าวคือ
1. หน่วยงานผู้กำหนดนโยบาย ได้แก่ กระทรวงและส่วนราชการที่ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและการร่างกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินธุรกิจโทรคมนาคม
2. องค์กรกำกับดูแล เป็นหน่วยงานของรัฐที่เป็นอิสระที่จะรับนโยบายของรัฐบาลมาใช้ในการกำกับดูแลและการอนุญาตเพื่อให้เกิดการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม
3. ผู้ประกอบธุรกิจโทรคมนาคม ได้แก่ ผู้ประกอบการภาครัฐและภาคเอกชนที่จะสามารถประกอบธุรกิจโทรคมนาคมได้อย่างเท่าเทียมกัน ภายใต้การกำหนดดูแลขององค์กรกำกับดูแล
ซึ่งจะเห็นได้ว่า แนวทางการดำเนินงานตามแผนแม่บทฯ ได้ครอบคลุมประเด็นข้อเสนอแนะของรายงานวิจัยในส่วนที่เกี่ยวข้องแล้ว และสอดคล้องกับบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 40 ที่ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่และกำกับดูแลการประกอบกิจการโทรคมนาคม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2543--