ทำเนียบรัฐบาล--7 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรายงานภาวะเศรษฐกิจการลงทุนและภาวะอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 2543
1.1 ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 สรุปได้ว่า เศรษฐกิจยังฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ โดยได้รับแรงผลักดันจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ภาคการเงินการธนาคารซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหามากในช่วงที่ผ่านมาก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนี้ต่างประเทศและอัตราการว่างงานก็ลดลงเช่นเดียวกัน
1.2 ภาวะการลงทุนเริ่มปรับตัวเข้าสู่เกณฑ์การลงทุนระดับสูง โดยเป็นการเพิ่มขึ้นใน 3 หมวดสำคัญคือ หมวดที่อยู่อาศัย หมวดพาณิชยกรรม และหมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยตัวชี้นำที่แสดงให้เห็นถึงการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปริมาณการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (ไม่รวมวัตถุดิบ) และปริมาณการจำหน่ายรถขนส่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
1.3 จำนวนโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี2543 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 364 โครงการ และมียอดเงินลงทุนรวม 103,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และหากไม่นับรวมกิจการสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน จะมีโครงการขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 349 โครงการ เงินลงทุน 103,298 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งจำนวนโครงการขอรับการส่งเสริมและเงินลงทุนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 เนื่องจากเป็นช่วงที่ใกล้สิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ส่งผลให้มีโครงการขอรับการส่งเสริมรีบยื่นคำขอเพิ่มขึ้นอย่างมากก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว
1.4 ประเทศที่มีเงินลงทุนมากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรก ที่สำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ ญี่ปุ่น มีเงินลงทุน 31,691 ล้านบาท จีน มีเงินลงทุน 18,031 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกา มีเงินลงทุน 9,648 ล้านบาท
1.5 การลงทุนรายสาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโครงการลงทุนมากเรียงตามลำดับ ดังนี้
1) หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 73
2) หมวดบริการและสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 24
3) หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 82
4) หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 27
5) หมวดอุตสาหกรรมเบา (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28
6) หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 104
7) หมวดเซรามิกส์และโลหะขั้นมูลฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 200
1.6 โครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดย่อมเริ่มกลับมามีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โครงการลงทุนขนาด 100 - 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว โดยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2543 มีจำนวน 108 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 45 โครงการของช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยรวมยังคงอยู่ในระดับทรงตัว โดยโครงการลงทุนขนาด 500 - 1,000 ล้านบาท มี 5 โครงการ ลดลงจาก 9 โครงการของช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ในขณะที่โครงการขนาดมากกว่า 1,000 ล้านบาท มี 16 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 9 โครงการของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
1.7 โครงการที่ขอรับการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นโครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของจำนวนโครงการทั้งหมด รองลงมามีสัดส่วนเท่ากันระหว่างโครงการไทยทั้งสิ้นที่มีสัดส่วนร้อยละ 30 และโครงการต่างชาติทั้งสิ้นมีสัดส่วนร้อยละ 30 เช่นกัน
1.8 ในด้านเงินลงทุนเฉลี่ยของโครงการไทยทั้งสิ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 อยู่ที่ประมาณโครงการละ 164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยโครงการละ 55 ล้านบาท ของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการลงทุนมากในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ส่วนโครงการต่างชาติทั้งสิ้นมีเงินลงทุนเฉลี่ยโครงการละ 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยโครงการละ 167 ล้านบาทของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และส่วนมากยังเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
1.9 จำนวนโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอยู่ในระดับสูง โดยจำนวนโครงการส่งออก มีทั้งสิ้น 141 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 119 โครงการ ของช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โครงการลงทุนเพื่อการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูปในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลบรรจุภาชนะผนึก เช่น ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็งต่าง ๆ
1.10 โครงการลงทุนใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 4 เดือนแรกมีจำนวนโครงการใหม่ทั้งสิ้น 197 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42 และโครงการขยายทั้งสิ้น 165 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 67 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนใหม่ในสัดส่วนสูงที่เริ่มเด่นชัดขึ้นประมาณช่วงปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
1.11 แหล่งที่มาของเงินลงทุนมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 26 ของจำนวนโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2. ภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2543
2.1 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอัตราการใช้กำลังผลิตสูงกว่าระดับเฉลี่ยของทั้งประเทศและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากการสำรวจประมาณ780 บริษัท มีการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 78.7 ของกำลังการผลิตเต็มที่ สูงกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 61.7 ที่คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับระดับร้อยละ 71.9ในไตรมาสที่ 4 และร้อยละ 71.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ซึ่งเกือบทุกอุตสาหกรรมมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร(เพิ่มจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 59) เครื่องยนต์เบนซินเอนกประสงค์ (เพิ่มจากร้อยละ 69 เป็นร้อยละ 93) ปูนซิเมนต์ (เพิ่มจากร้อยละ 63 เป็นร้อยละ 83) คอมเพรสเซอร์ (เพิ่มจากร้อยละ 67 เป็นร้อยละ 85) และเครื่องสุขภัณฑ์ (เพิ่มจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 59)
2.2 บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 780 บริษัท มีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2543 รวมทั้งสิ้น 6,445 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 38 ของการส่งออกทั้งประเทศ) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12 จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด คือ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสแรกของปี 2543 มีมูลค่าส่งออกรวม 5,088 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
2.3 ยอดขายในประเทศของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทที่สำรวจจำนวน 780 บริษัท มีมูลค่าจำหน่ายในประเทศรวม 127,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 43 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยอุตสาหกรรมที่มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65) และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 61) เป็นต้น
2.4 ภาวะการจ้างงานในไตรมาสแรกยังทรงตัว จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีการจ้างงานในไตรมาสแรกของปี 2543 รวมประมาณ 506,000 คน อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร(เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นมีการจ้างงานอยู่ในระดับเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 มิถุนายน 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนรายงานภาวะเศรษฐกิจการลงทุนและภาวะอุตสาหกรรมในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 ดังมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 2543
1.1 ภาวะเศรษฐกิจการลงทุนในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 สรุปได้ว่า เศรษฐกิจยังฟื้นตัวขึ้นเป็นลำดับ โดยได้รับแรงผลักดันจากการส่งออกที่เพิ่มขึ้น ส่งผลให้การผลิตภาคอุตสาหกรรมโดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้องกับการส่งออกเพิ่มขึ้นในทิศทางเดียวกัน ขณะที่ภาคการเงินการธนาคารซึ่งเป็นภาคเศรษฐกิจที่มีปัญหามากในช่วงที่ผ่านมาก็มีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับ โดยสัดส่วนหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ลดลงอย่างต่อเนื่อง ส่วนหนี้ต่างประเทศและอัตราการว่างงานก็ลดลงเช่นเดียวกัน
1.2 ภาวะการลงทุนเริ่มปรับตัวเข้าสู่เกณฑ์การลงทุนระดับสูง โดยเป็นการเพิ่มขึ้นใน 3 หมวดสำคัญคือ หมวดที่อยู่อาศัย หมวดพาณิชยกรรม และหมวดอุตสาหกรรมอื่น ๆ โดยตัวชี้นำที่แสดงให้เห็นถึงการลงทุนภาคเอกชนที่มีแนวโน้มสูงขึ้นได้แก่ ปริมาณการจำหน่ายปูนซีเมนต์ ปริมาณการนำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ (ไม่รวมวัตถุดิบ) และปริมาณการจำหน่ายรถขนส่ง ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงการขยายตัวในภาคอุตสาหกรรมและการก่อสร้าง
1.3 จำนวนโครงการขอรับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 53 ในช่วง 4 เดือนแรกของปี2543 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้า โดยมีจำนวนโครงการที่ยื่นขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 364 โครงการ และมียอดเงินลงทุนรวม 103,700 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และหากไม่นับรวมกิจการสำนักงานสนับสนุนการค้าและการลงทุน จะมีโครงการขอรับการส่งเสริมทั้งสิ้น 349 โครงการ เงินลงทุน 103,298 ล้านบาท อย่างไรก็ดีเป็นที่น่าสังเกตว่าทั้งจำนวนโครงการขอรับการส่งเสริมและเงินลงทุนได้ปรับตัวเพิ่มขึ้นมากในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 เนื่องจากเป็นช่วงที่ใกล้สิ้นสุดระยะเวลาของมาตรการส่งเสริมการลงทุนเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจในวันที่ 31 ธันวาคม 2542 ส่งผลให้มีโครงการขอรับการส่งเสริมรีบยื่นคำขอเพิ่มขึ้นอย่างมากก่อนสิ้นสุดระยะเวลาดังกล่าว
1.4 ประเทศที่มีเงินลงทุนมากที่สุดในช่วง 4 เดือนแรก ที่สำคัญเรียงตามลำดับ ได้แก่ ญี่ปุ่น มีเงินลงทุน 31,691 ล้านบาท จีน มีเงินลงทุน 18,031 ล้านบาท และสหรัฐอเมริกา มีเงินลงทุน 9,648 ล้านบาท
1.5 การลงทุนรายสาขาอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้นในทุกหมวด โดยอุตสาหกรรมที่มีจำนวนโครงการลงทุนมากเรียงตามลำดับ ดังนี้
1) หมวดอิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้า เพิ่มขึ้นร้อยละ 73
2) หมวดบริการและสาธารณูปโภค เพิ่มขึ้นร้อยละ 24
3) หมวดเกษตรกรรมและผลิตผลจากการเกษตร เพิ่มขึ้นร้อยละ 82
4) หมวดผลิตภัณฑ์โลหะ เครื่องจักรและอุปกรณ์การขนส่ง เพิ่มขึ้นร้อยละ 27
5) หมวดอุตสาหกรรมเบา (เสื้อผ้าสำเร็จรูป) เพิ่มขึ้นร้อยละ 28
6) หมวดเคมี กระดาษ และพลาสติก เพิ่มขึ้นร้อยละ 104
7) หมวดเซรามิกส์และโลหะขั้นมูลฐาน เพิ่มขึ้นร้อยละ 200
1.6 โครงการลงทุนขนาดกลางและขนาดย่อมเริ่มกลับมามีการลงทุนเพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน โครงการลงทุนขนาด 100 - 500 ล้านบาท เพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัว โดยในช่วง 4 เดือนแรกปี 2543 มีจำนวน 108 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 45 โครงการของช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า สำหรับโครงการลงทุนขนาดใหญ่ โดยรวมยังคงอยู่ในระดับทรงตัว โดยโครงการลงทุนขนาด 500 - 1,000 ล้านบาท มี 5 โครงการ ลดลงจาก 9 โครงการของช่วงเดียวกันปีก่อนหน้า ในขณะที่โครงการขนาดมากกว่า 1,000 ล้านบาท มี 16 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 9 โครงการของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
1.7 โครงการที่ขอรับการส่งเสริมส่วนใหญ่เป็นโครงการร่วมทุนไทยและต่างชาติ โดยมีสัดส่วนถึงร้อยละ 40 ของจำนวนโครงการทั้งหมด รองลงมามีสัดส่วนเท่ากันระหว่างโครงการไทยทั้งสิ้นที่มีสัดส่วนร้อยละ 30 และโครงการต่างชาติทั้งสิ้นมีสัดส่วนร้อยละ 30 เช่นกัน
1.8 ในด้านเงินลงทุนเฉลี่ยของโครงการไทยทั้งสิ้นในช่วงไตรมาสแรกปี 2543 อยู่ที่ประมาณโครงการละ 164 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยโครงการละ 55 ล้านบาท ของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว โดยมีการลงทุนมากในอุตสาหกรรมผลิตอาหาร เสื้อผ้าสำเร็จรูป เป็นต้น ส่วนโครงการต่างชาติทั้งสิ้นมีเงินลงทุนเฉลี่ยโครงการละ 300 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเฉลี่ยโครงการละ 167 ล้านบาทของช่วงเดียวกันปีที่แล้ว และส่วนมากยังเป็นการลงทุนในอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ และการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์
1.9 จำนวนโครงการลงทุนในอุตสาหกรรมเพื่อการส่งออกอยู่ในระดับสูง โดยจำนวนโครงการส่งออก มีทั้งสิ้น 141 โครงการ เพิ่มขึ้นจาก 119 โครงการ ของช่วงเดียวกันปีก่อน หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 18 โครงการลงทุนเพื่อการส่งออกที่สำคัญ ได้แก่ อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องคอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า อัญมณีและเครื่องประดับ เสื้อผ้าสำเร็จรูปในเกือบทุกผลิตภัณฑ์ อาหารทะเลบรรจุภาชนะผนึก เช่น ทูน่ากระป๋อง อาหารทะเลแช่แข็งต่าง ๆ
1.10 โครงการลงทุนใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น โดยในช่วง 4 เดือนแรกมีจำนวนโครงการใหม่ทั้งสิ้น 197 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 42 และโครงการขยายทั้งสิ้น 165 โครงการ เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 67 ซึ่งอุตสาหกรรมที่มีการลงทุนใหม่ในสัดส่วนสูงที่เริ่มเด่นชัดขึ้นประมาณช่วงปลายไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ได้แก่ การผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ การผลิตเสื้อผ้าสำเร็จรูป และการผลิตผลิตภัณฑ์พลาสติก
1.11 แหล่งที่มาของเงินลงทุนมากที่สุดคือ ญี่ปุ่น โดยมีสัดส่วนการลงทุนมากที่สุดคือ ประมาณร้อยละ 26 ของจำนวนโครงการลงทุนจากต่างชาติทั้งสิ้น ซึ่งอยู่ในระดับใกล้เคียงกับช่วงเดียวกันปีที่แล้ว
2. ภาวะอุตสาหกรรมในไตรมาสแรกของปี 2543
2.1 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีอัตราการใช้กำลังผลิตสูงกว่าระดับเฉลี่ยของทั้งประเทศและยังคงเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉลี่ยในไตรมาสที่ 1 ของปี 2543 บริษัทที่ได้รับการส่งเสริมจากการสำรวจประมาณ780 บริษัท มีการใช้กำลังการผลิตที่ระดับร้อยละ 78.7 ของกำลังการผลิตเต็มที่ สูงกว่าอัตราการใช้กำลังการผลิตเฉลี่ยของประเทศร้อยละ 61.7 ที่คำนวณโดยธนาคารแห่งประเทศไทย และเป็นอัตราที่สูงขึ้นเมื่อเทียบกับระดับร้อยละ 71.9ในไตรมาสที่ 4 และร้อยละ 71.3 ในไตรมาสที่ 3 ของปีที่แล้ว ซึ่งเกือบทุกอุตสาหกรรมมีอัตราการใช้กำลังการผลิตเพิ่มสูงขึ้น อุตสาหกรรมที่มีอัตราเพิ่มขึ้นสูงสุด เมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว ได้แก่ เครื่องยนต์ดีเซลเพื่อการเกษตร(เพิ่มจากร้อยละ 29 เป็นร้อยละ 59) เครื่องยนต์เบนซินเอนกประสงค์ (เพิ่มจากร้อยละ 69 เป็นร้อยละ 93) ปูนซิเมนต์ (เพิ่มจากร้อยละ 63 เป็นร้อยละ 83) คอมเพรสเซอร์ (เพิ่มจากร้อยละ 67 เป็นร้อยละ 85) และเครื่องสุขภัณฑ์ (เพิ่มจากร้อยละ 48 เป็นร้อยละ 59)
2.2 บริษัทที่ได้รับส่งเสริมการลงทุนส่งออกเพิ่มขึ้นร้อยละ 12 จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนประมาณ 780 บริษัท มีมูลค่าการส่งออกในไตรมาสแรกของปี 2543 รวมทั้งสิ้น 6,445 ล้านเหรียญสหรัฐฯ (คิดเป็นร้อยละ 38 ของการส่งออกทั้งประเทศ) เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีที่แล้วร้อยละ 12 จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุน อุตสาหกรรมที่มีมูลค่าการส่งออกสูงที่สุด คือ อิเล็กทรอนิกส์และเครื่องใช้ไฟฟ้าในไตรมาสแรกของปี 2543 มีมูลค่าส่งออกรวม 5,088 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นร้อยละ 10
2.3 ยอดขายในประเทศของบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 43 โดยในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ บริษัทที่สำรวจจำนวน 780 บริษัท มีมูลค่าจำหน่ายในประเทศรวม 127,118 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนถึงร้อยละ 43 และหากเปรียบเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้ว จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 14 โดยอุตสาหกรรมที่มียอดขายในประเทศเพิ่มขึ้นมากเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน ได้แก่ อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 65) และอุตสาหกรรมปิโตรเคมี (เพิ่มขึ้นร้อยละ 61) เป็นต้น
2.4 ภาวะการจ้างงานในไตรมาสแรกยังทรงตัว จากการสำรวจบริษัทที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนมีการจ้างงานในไตรมาสแรกของปี 2543 รวมประมาณ 506,000 คน อยู่ในระดับใกล้เคียงกับไตรมาสที่ 4 ของปีที่แล้วอุตสาหกรรมที่มีการจ้างงานเพิ่มขึ้นเล็กน้อยเมื่อเทียบกับไตรมาสที่ 4 ของปี 2542 ได้แก่ อุตสาหกรรมการเกษตร(เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) อุตสาหกรรมยานยนต์และเครื่องจักร (เพิ่มขึ้นร้อยละ 4) ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นมีการจ้างงานอยู่ในระดับเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 5 มิถุนายน 2543--
-สส-