คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 (คกก. 5) เสนอ เรื่อง ขออนุมัติจ่ายเงินค่าทดแทนที่ดิน (ค่าขนย้าย) โครงการฝายเชียงดาว ของกระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม โดยเห็นชอบในการจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ผู้ได้รับผลกระทบจากโครงการฝายเชียงดาวจังหวัดเชียงใหม่ จำนวน9 ราย เนื้อที่ 23 - 2 - 84.45 ไร่ โดยมอบให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมไปประสานกับคณะกรรมการพิจารณาและกำหนดราคาค่าชดเชยที่ดิน (ค่าขนย้าย) ในระดับจังหวัดในการดำเนินการเจรจาลดค่าขนย้ายให้ต่ำกว่าราคาไร่ละ 105,000 บาท โดยมีหลักเกณฑ์ว่าการจ่ายค่าขนย้ายสำหรับที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธิที่อยู่ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ควรใช้ราคาประเมินที่ดินของกรมที่ดินในการพิจารณา แต่ให้พิจารณาจ่ายค่าชดเชยเพื่อทดแทนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้ และเมื่อได้ข้อยุติราคาค่าขนย้ายแล้วให้กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานผลให้คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ทราบก่อนดำเนินการต่อไปด้วย
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้
1. การจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐในกรณีเป็นผู้ครอบครองหรือเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือบุกรุกที่ดินของรัฐควรจะต้องมีจำนวนต่ำกว่าการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธินอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ใช่ที่สงวนหวงห้าม และไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ เพื่อไม่เป็นการสนับสนุนให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติหรือที่ดินของรัฐมากขึ้น
2. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าขนย้ายไม่ควรใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินในการพิจารณาจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ (ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ) เพราะมิใช่เป็นการจ่ายค่าที่ดิน แต่เป็นการจ่ายค่าชดเชย(ค่าขนย้าย) เพื่อเป็นค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้
3. ภายหลังจากการโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการแล้ว ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรในการตั้งถิ่นฐานใหม่ รวมทั้งการประกอบอาชีพต่อไปด้วย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2543 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้รับงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการฝายเชียงดาว ในวงเงินค่าก่อสร้าง 178 ล้านบาทเศษ เพื่อยกระดับน้ำในแม่น้ำปิง ลักษณะโครงการฯ เป็นฝายยางชนิดน้ำ ประกอบด้วยการก่อสร้างฐานคอนกรีตเสริมเหล็กหนา ประมาณ 2 เมตร พร้อมติดตั้งตัวฝายยาง ซึ่งมีความยาวของสันฝาย 72 เมตร สูงจากฐานคอนกรีต 3 เมตร สามารถพองตัวฝายขึ้นเพื่อยกระดับน้ำและยุบยางลงเมื่อไม่ต้องการเก็บกักน้ำ และเนื่องจากโครงการฝายเชียงดาวไม่มีอ่างเก็บน้ำ แต่ใช้ลำน้ำเดิมเป็นตัวเก็บกักน้ำ จึงต้องมีการก่อสร้างคันดินป้องกันน้ำล้นตลิ่งทางด้านเหนือฝายทั้งสองฝั่งของแม่น้ำปิง โดยเป็นคันดินกว้าง 4 เมตร สูงระหว่าง 0 - 3 เมตร ขนานไปตามลำน้ำปิง โดยคันดินฝั่งขวาของลำน้ำยาว 260 เมตร และฝั่งซ้ายยาว 958 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าเชียงดาว" จากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพบว่า ที่ดินฝั่งซ้ายมีราษฎรเข้ามาทำประโยชน์ จำนวน 9 ราย ซึ่งโครงการฯ จะต้องจ่ายเป็นค่าขนย้ายเป็นพื้นที่ 23 - 2 - 84.45 ไร่ และราษฎรทั้ง 9 ราย ได้เรียกร้องขอค่าชดเชยในราคาไร่ละ 105,000 บาทต่อไร่ ซึ่งคิดเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,489,668.13 บาท ส่วนทางด้านฝั่งขวาของลำน้ำเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเชียงดาวเช่นกัน แต่อยู่ในความดูแลของศูนย์ฝึกอบรมและส่งเสริมการเกษตร หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32 ซึ่งโครงการฯ ได้ทำหนังสือขอความยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวไปแล้ว ประกอบกับได้เคยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2539 ให้นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 มาบังคับใช้กับโครงการของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานโดยอนุโลม และสามารถจ่ายค่าชดเชยให้ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์มาก่อนการก่อสร้างในที่ดินทุกประเภทรวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-
ทั้งนี้ คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 มีความเห็นและข้อสังเกต ดังนี้
1. การจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรที่ได้รับผลกระทบจากโครงการต่าง ๆ ของรัฐในกรณีเป็นผู้ครอบครองหรือเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติหรือบุกรุกที่ดินของรัฐควรจะต้องมีจำนวนต่ำกว่าการจ่ายค่าชดเชยในกรณีที่ดินที่ไม่มีเอกสารสิทธินอกเขตป่าสงวนแห่งชาติ ไม่ใช่ที่สงวนหวงห้าม และไม่ใช่ที่สาธารณประโยชน์ เพื่อไม่เป็นการสนับสนุนให้ราษฎรบุกรุกพื้นที่เขตป่าสงวนแห่งชาติหรือที่ดินของรัฐมากขึ้น
2. หลักเกณฑ์การจ่ายค่าขนย้ายไม่ควรใช้ราคาประเมินของกรมที่ดินในการพิจารณาจ่ายค่าขนย้ายให้แก่ราษฎรสำหรับที่ดินไม่มีเอกสารสิทธิ (ในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ) เพราะมิใช่เป็นการจ่ายค่าที่ดิน แต่เป็นการจ่ายค่าชดเชย(ค่าขนย้าย) เพื่อเป็นค่าทดแทนสิ่งปลูกสร้างและต้นไม้
3. ภายหลังจากการโยกย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการแล้ว ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องควรพิจารณาให้ความช่วยเหลือราษฎรในการตั้งถิ่นฐานใหม่ รวมทั้งการประกอบอาชีพต่อไปด้วย
กระทรวงวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อมรายงานว่า ในปี พ.ศ. 2543 กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน ได้รับงบประมาณให้ดำเนินการก่อสร้างโครงการฝายเชียงดาว ในวงเงินค่าก่อสร้าง 178 ล้านบาทเศษ เพื่อยกระดับน้ำในแม่น้ำปิง ลักษณะโครงการฯ เป็นฝายยางชนิดน้ำ ประกอบด้วยการก่อสร้างฐานคอนกรีตเสริมเหล็กหนา ประมาณ 2 เมตร พร้อมติดตั้งตัวฝายยาง ซึ่งมีความยาวของสันฝาย 72 เมตร สูงจากฐานคอนกรีต 3 เมตร สามารถพองตัวฝายขึ้นเพื่อยกระดับน้ำและยุบยางลงเมื่อไม่ต้องการเก็บกักน้ำ และเนื่องจากโครงการฝายเชียงดาวไม่มีอ่างเก็บน้ำ แต่ใช้ลำน้ำเดิมเป็นตัวเก็บกักน้ำ จึงต้องมีการก่อสร้างคันดินป้องกันน้ำล้นตลิ่งทางด้านเหนือฝายทั้งสองฝั่งของแม่น้ำปิง โดยเป็นคันดินกว้าง 4 เมตร สูงระหว่าง 0 - 3 เมตร ขนานไปตามลำน้ำปิง โดยคันดินฝั่งขวาของลำน้ำยาว 260 เมตร และฝั่งซ้ายยาว 958 เมตร ซึ่งเป็นพื้นที่ที่อยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ "ป่าเชียงดาว" จากการตรวจสอบของคณะอนุกรรมการตรวจสอบทรัพย์สินพบว่า ที่ดินฝั่งซ้ายมีราษฎรเข้ามาทำประโยชน์ จำนวน 9 ราย ซึ่งโครงการฯ จะต้องจ่ายเป็นค่าขนย้ายเป็นพื้นที่ 23 - 2 - 84.45 ไร่ และราษฎรทั้ง 9 ราย ได้เรียกร้องขอค่าชดเชยในราคาไร่ละ 105,000 บาทต่อไร่ ซึ่งคิดเป็นเงินจำนวนทั้งสิ้น 2,489,668.13 บาท ส่วนทางด้านฝั่งขวาของลำน้ำเป็นพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติเชียงดาวเช่นกัน แต่อยู่ในความดูแลของศูนย์ฝึกอบรมและส่งเสริมการเกษตร หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ 32 ซึ่งโครงการฯ ได้ทำหนังสือขอความยินยอมให้ใช้พื้นที่ดังกล่าวไปแล้ว ประกอบกับได้เคยมีมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2539 ให้นำมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2532 มาบังคับใช้กับโครงการของกรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงานโดยอนุโลม และสามารถจ่ายค่าชดเชยให้ราษฎรที่ครอบครองและทำประโยชน์มาก่อนการก่อสร้างในที่ดินทุกประเภทรวมทั้งป่าสงวนแห่งชาติด้วย
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 17 ก.ค.44--
-สส-