ทำเนียบรัฐบาล--1 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบงบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ที่ประมาณว่าจะมีกำไรสุทธิ 4.60 ล้านบาท โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่าเป็นการประมาณในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายกำไรสุทธิจำนวน 4.60 ล้านบาทดังกล่าว อ.ส.ค. จะต้องควบคุมการดำเนินงานของตัวแทนจำหน่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และส่งเสริมการขายให้ได้ผลอย่างจริงจัง รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายบริหารในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายบุคคลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมายข้างต้น
2. ให้ความเห็นชอบงบลงทุนปี 2544 รวมทั้งสิ้น 11.34 ล้านบาท ตามที่เสนอ เนื่องจากเป็นการลงทุนตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมนมของ อ.ส.ค. โดยเป็นการก่อสร้างอาคารคลังเก็บสินค้า 1 หลัง สำหรับเก็บผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณการสูญเสียผลิตภัณฑ์นมจากร้อยละ 6 ในปัจจุบัน เหลือร้อยละ 3 และการตั้งสำรองราคาและสำรองกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ให้ อ.ส.ค. พิจารณากำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความสามารถด้านการตลาดให้มากขึ้นและเร่งเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด โดยเฉพาะการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นมให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น เพื่อมิให้การเก็บสต๊อกสินค้าต้องเป็นภาระในระยะยาว รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์การอย่างเข้มงวดต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 อนุมัติงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวนทั้งสิ้น 48 แห่ง จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่จะต้องส่งงบลงทุนให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ตามระเบียบฯ จำนวน 50 แห่ง (ไม่รวมงบลงทุนขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ไม่ได้จัดส่งงบประมาณตามกำหนดเวลา) ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดส่งงบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาในรายละเอียดร่วมกับผู้แทนสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้แทนองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 แล้ว
2. ข้อเท็จจริงและความเห็นสรุปได้ ดังนี้
2.1 ภาพรวมการดำเนินงาน การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในปัจจุบันของ อ.ส.ค. ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 ด้าน คือ
- ด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยการฝึกอบรมเกษตรกร การให้บริการสัตวแพทย์ การจัดตั้งศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนม การจำหน่ายอาหารโคนม และการรับซื้อและจำหน่ายโคนมแก่เกษตรกร
- ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม โดยการรับซื้อน้ำนมดิบ ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ และนมยู เอช ที โดยในปี 2543 ตลาดนมพร้อมดื่มมีอัตราการขยายตัวจากปี 2542 ประมาณร้อยละ 2.5 และมีปริมาณการผลิตนมพร้อมดื่มทุกประเภทรวมกันประมาณ 580,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่ง อ.ส.ค. มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 10.4 โดย อ.ส.ค. เน้นการทำตลาดนม ยู เอช ที มากกว่านมพาสเจอร์ไรส์และนมเปรี้ยว
2.2 ผลการดำเนินงานในปี 2541 - 2543
- ด้านกายภาพ ในปี 2543 อ.ส.ค. จำหน่ายนมพร้อมดื่มรวม 60,428 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2542ที่มียอดจำหน่ายเพียง 58,118 ตัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายต่ำกว่าในปี 2541 มียอดจำหน่ายสูงถึง 71,935 ตันสาเหตุที่ทำให้ยอดจำหน่ายของ อ.ส.ค. ลดลง ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ ทำให้ความต้องการบริโภคนมพร้อมดื่มลดลง ในขณะที่ภาวะการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เมื่อเดือนมีนาคม 2541
- ด้านการเงิน ในช่วงปี 2541 - 2543 อ.ส.ค. มีผลขาดทุนโดยเฉลี่ยปีละ 167.59 ล้านบาทเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละปีจะพบว่า มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นโดยตลอดจาก 122.62 ล้านบาท เป็น 174.56ล้านบาท และ 205.60 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เพียงร้อยละ 4.4 (จาก 1,786ล้านบาท ในปี 2541 เป็น 1,865 ล้านบาท ในปี 2543) ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.4 (จาก 1,909 ล้านบาทในปี 2541 เป็น 2,070 ล้านบาท ในปี 2543)
2.3 ประมาณการปี 2544
- งบประมาณทำการ ประมาณการรายได้รวม 3,035.99 ล้านบาท ประมาณการรายจ่ายรวม3,031.39 ล้านบาท ประมาณกำไรสุทธิ 4.60 ล้านบาท
- ฐานะเงินสด ประมาณว่าจะมีเงินสดรับเท่ากับเงินสดจ่าย (รวมประมาณรับเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 9.00 ล้านบาท) ในขณะที่ต้องการเงินสดเพื่อคงสภาพคล่องจำนวน 284 ล้านบาท แต่ก็สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีรายได้จากการจำหน่ายหมุนเวียนเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ
- เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income)
RI = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา
= 4.60 + 50.17
= 54.77 ล้านบาท
- งบประมาณลงทุน อ.ส.ค. ขออนุมัติงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 11.34 ล้านบาทและประมาณจ่ายลงทุนเต็มจำนวน รายการลงทุนที่สำคัญคือ การก่อสร้างอาคารคลังเก็บสินค้าขนาดพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร จำนวน 6.42 ล้านบาท สำรองราคา 0.64 ล้านบาท และสำรองกรณีจำเป็นเร่งด่วน 4.28 ล้านบาท
3. ประมาณการงบประมาณประจำปี 2544 ของ อ.ส.ค. ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการและเบิกจ่ายงบลงทุนในวงเงิน 11.34 ล้านบาท จะมีผลให้รัฐวิสาหกิจในภาพรวมมีวงเงินดำเนินการลงทุนซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 อนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นจาก 262,855 ล้านบาท เป็น 262,866 ล้านบาท และมีวงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 209,585 ล้านบาท เป็น 209,596 ล้านบาท โดยในส่วนเป้าหมายของการจัดหาเงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) นั้น จะเพิ่มขึ้นจาก 181,259 ล้านบาท เป็น 181,314 ล้านบาท จึงไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะขาดดุลโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีพิจารณางบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ตามที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. รับทราบงบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย (อ.ส.ค.) ที่ประมาณว่าจะมีกำไรสุทธิ 4.60 ล้านบาท โดยมีความเห็นเพิ่มเติมว่าเป็นการประมาณในเกณฑ์สูง เมื่อเทียบกับผลการดำเนินงานที่ผ่านมา ดังนั้น เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายกำไรสุทธิจำนวน 4.60 ล้านบาทดังกล่าว อ.ส.ค. จะต้องควบคุมการดำเนินงานของตัวแทนจำหน่ายให้เป็นไปตามเป้าหมาย และส่งเสริมการขายให้ได้ผลอย่างจริงจัง รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายบริหารในด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายบุคคลอย่างเคร่งครัด เพื่อให้สามารถทำกำไรได้ตามเป้าหมายข้างต้น
2. ให้ความเห็นชอบงบลงทุนปี 2544 รวมทั้งสิ้น 11.34 ล้านบาท ตามที่เสนอ เนื่องจากเป็นการลงทุนตามความจำเป็นในการดำเนินธุรกิจอุตสาหกรรมนมของ อ.ส.ค. โดยเป็นการก่อสร้างอาคารคลังเก็บสินค้า 1 หลัง สำหรับเก็บผลิตภัณฑ์นม ซึ่งจะทำให้สามารถลดปริมาณการสูญเสียผลิตภัณฑ์นมจากร้อยละ 6 ในปัจจุบัน เหลือร้อยละ 3 และการตั้งสำรองราคาและสำรองกรณีจำเป็นเร่งด่วน เพื่อความคล่องตัวในการดำเนินงาน
3. ให้ อ.ส.ค. พิจารณากำหนดปริมาณการผลิตให้สอดคล้องกับความสามารถด้านการตลาดให้มากขึ้นและเร่งเพิ่มศักยภาพด้านการตลาด โดยเฉพาะการกำหนดราคาผลิตภัณฑ์นมให้สามารถแข่งขันได้มากขึ้น เพื่อมิให้การเก็บสต๊อกสินค้าต้องเป็นภาระในระยะยาว รวมทั้งควบคุมค่าใช้จ่ายขององค์การอย่างเข้มงวดต่อไป
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรายงานว่า
1. ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 อนุมัติงบลงทุนประจำปี 2544 ของรัฐวิสาหกิจ จำนวนทั้งสิ้น 48 แห่ง จากรัฐวิสาหกิจทั้งหมดที่จะต้องส่งงบลงทุนให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณา ตามระเบียบฯ จำนวน 50 แห่ง (ไม่รวมงบลงทุนขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทยที่ไม่ได้จัดส่งงบประมาณตามกำหนดเวลา) ต่อมากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้จัดส่งงบลงทุนประจำปี 2544 ขององค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติพิจารณาเสนอความเห็น เพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้พิจารณาในรายละเอียดร่วมกับผู้แทนสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง สำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน และผู้แทนองค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย เมื่อวันที่ 4 ตุลาคม 2543 แล้ว
2. ข้อเท็จจริงและความเห็นสรุปได้ ดังนี้
2.1 ภาพรวมการดำเนินงาน การดำเนินงานตามวัตถุประสงค์ในปัจจุบันของ อ.ส.ค. ประกอบด้วยกิจกรรมหลัก 2 ด้าน คือ
- ด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม โดยการฝึกอบรมเกษตรกร การให้บริการสัตวแพทย์ การจัดตั้งศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ การส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงโคนม การจำหน่ายอาหารโคนม และการรับซื้อและจำหน่ายโคนมแก่เกษตรกร
- ด้านธุรกิจอุตสาหกรรม โดยการรับซื้อน้ำนมดิบ ผลิตภัณฑ์นม ได้แก่ นมพาสเจอร์ไรส์ และนมยู เอช ที โดยในปี 2543 ตลาดนมพร้อมดื่มมีอัตราการขยายตัวจากปี 2542 ประมาณร้อยละ 2.5 และมีปริมาณการผลิตนมพร้อมดื่มทุกประเภทรวมกันประมาณ 580,000 ตัน คิดเป็นมูลค่าประมาณ 14,000 ล้านบาท ซึ่ง อ.ส.ค. มีส่วนแบ่งตลาดอยู่ประมาณร้อยละ 10.4 โดย อ.ส.ค. เน้นการทำตลาดนม ยู เอช ที มากกว่านมพาสเจอร์ไรส์และนมเปรี้ยว
2.2 ผลการดำเนินงานในปี 2541 - 2543
- ด้านกายภาพ ในปี 2543 อ.ส.ค. จำหน่ายนมพร้อมดื่มรวม 60,428 ตัน เพิ่มขึ้นจากปี 2542ที่มียอดจำหน่ายเพียง 58,118 ตัน อย่างไรก็ตาม ปริมาณจำหน่ายต่ำกว่าในปี 2541 มียอดจำหน่ายสูงถึง 71,935 ตันสาเหตุที่ทำให้ยอดจำหน่ายของ อ.ส.ค. ลดลง ส่วนหนึ่งมาจากภาวะเศรษฐกิจตกต่ำของประเทศ ทำให้ความต้องการบริโภคนมพร้อมดื่มลดลง ในขณะที่ภาวะการแข่งขันทางการตลาดสูงขึ้น ประกอบกับมีการปรับราคาจำหน่ายผลิตภัณฑ์เมื่อเดือนมีนาคม 2541
- ด้านการเงิน ในช่วงปี 2541 - 2543 อ.ส.ค. มีผลขาดทุนโดยเฉลี่ยปีละ 167.59 ล้านบาทเมื่อพิจารณาผลการดำเนินงานในแต่ละปีจะพบว่า มีผลขาดทุนเพิ่มขึ้นโดยตลอดจาก 122.62 ล้านบาท เป็น 174.56ล้านบาท และ 205.60 ล้านบาท ตามลำดับ ทั้งนี้ เนื่องจากมีอัตราการเพิ่มขึ้นของรายได้เพียงร้อยละ 4.4 (จาก 1,786ล้านบาท ในปี 2541 เป็น 1,865 ล้านบาท ในปี 2543) ในขณะที่รายจ่ายเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 8.4 (จาก 1,909 ล้านบาทในปี 2541 เป็น 2,070 ล้านบาท ในปี 2543)
2.3 ประมาณการปี 2544
- งบประมาณทำการ ประมาณการรายได้รวม 3,035.99 ล้านบาท ประมาณการรายจ่ายรวม3,031.39 ล้านบาท ประมาณกำไรสุทธิ 4.60 ล้านบาท
- ฐานะเงินสด ประมาณว่าจะมีเงินสดรับเท่ากับเงินสดจ่าย (รวมประมาณรับเงินกู้เบิกเกินบัญชีจำนวน 9.00 ล้านบาท) ในขณะที่ต้องการเงินสดเพื่อคงสภาพคล่องจำนวน 284 ล้านบาท แต่ก็สามารถดำเนินการได้เนื่องจากมีรายได้จากการจำหน่ายหมุนเวียนเข้ามาอย่างสม่ำเสมอ
- เงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (Retained Income)
RI = กำไรสุทธิ + ค่าเสื่อมราคา
= 4.60 + 50.17
= 54.77 ล้านบาท
- งบประมาณลงทุน อ.ส.ค. ขออนุมัติงบลงทุนเพื่อการดำเนินงานปกติ จำนวน 11.34 ล้านบาทและประมาณจ่ายลงทุนเต็มจำนวน รายการลงทุนที่สำคัญคือ การก่อสร้างอาคารคลังเก็บสินค้าขนาดพื้นที่ 1,600 ตารางเมตร จำนวน 6.42 ล้านบาท สำรองราคา 0.64 ล้านบาท และสำรองกรณีจำเป็นเร่งด่วน 4.28 ล้านบาท
3. ประมาณการงบประมาณประจำปี 2544 ของ อ.ส.ค. ซึ่งจะต้องมีการดำเนินการและเบิกจ่ายงบลงทุนในวงเงิน 11.34 ล้านบาท จะมีผลให้รัฐวิสาหกิจในภาพรวมมีวงเงินดำเนินการลงทุนซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 อนุมัติงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้นจาก 262,855 ล้านบาท เป็น 262,866 ล้านบาท และมีวงเงินเบิกจ่ายเพิ่มขึ้นจาก 209,585 ล้านบาท เป็น 209,596 ล้านบาท โดยในส่วนเป้าหมายของการจัดหาเงินสดที่มีเพื่อใช้ในการลงทุน (RI) นั้น จะเพิ่มขึ้นจาก 181,259 ล้านบาท เป็น 181,314 ล้านบาท จึงไม่ส่งผลกระทบต่อฐานะขาดดุลโดยรวมของรัฐวิสาหกิจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 31 ต.ค. 2543--
-สส-