ทำเนียบรัฐบาล--16 ต.ค.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแผนปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนมาตรการและกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้
แผนการปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ รัฐบาลมีวัตถุประสงค์ของการปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของไทย 4 ประการ ได้แก่
1.1 การมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณอายุ
1.2 ระบบมีความครอบคลุมแรงงานอย่างทั้วถึง
1.3 ระบบมีความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
1.4 ระบบเป็นเครื่องมือพัฒนาและสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
2. แนวทางการปฎิรูป รัฐบาลจะจัดตั้งระบบบำนาญแบบ Multi-Pillar โดยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Pillar 1 และ Pillar 3 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และขยายขอบข่ายการครอบคลุมให้กว้างยิ่งขึ้น รวมทั้งเริ่มดำเนินการโครงการ Pillar 2 ใหม่ รัฐบาลจะพิจารณาทั้ง 3 Pillar โดยให้การปฎิรูป Pillar ทั้ง 3 ประสานกันอย่างเหมาะสม
3. รายละเอียดและมาตราการในการปฎิรูป
3.1 ขยายกองทุนประกันสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทุนประกันสังคม (Pillar 1)
1) ประกันเงินบำนาญขั้นต่ำที่เหมาะสม
2) จูงใจให้ผู้ประกันตนมีระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพในช่วงอายุ 55-60 ปี
3) ลดภาระการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของภาครัฐในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมและการโอนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของรัฐบาลให้สนับสนุนการบรรเทาความยากจนอื่น ๆ
4) ขยายขอบเขตของกองทุนประกันสังคมไปถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างประจำของรัฐบาลซึ่งในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบบำนาญ
5) ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับของกองทุนประกันสังคม
6) เสริมสร้างขีดความสามารถของกองทุนประกันสังคมในการบริหารดูแลการปฎิบัติตามกฎหมายก่อนการขยายขอบเขตของกองทุนไปยังยังคนงานกลุ่มใหม่
3.2 การปฎิรูประบบกองทุนเลี้ยงชีพ หรือการออมเพื่อเกษียณอายุแบบสมัครใจ (Pillar 3)
1) เรื่องที่จะดำเนินการได้เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กำหนดนิยามกองทุนเลี้ยงชีพให้ชัดเจนว่าใครสามารถจัดตั้งกองทุนได้ เช่นนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้ง นายจ้างขาเดียว ลูกจ้างขาเดียว บริษัทจัดการเป็นผู้ตั้ง หรือรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณอายุแบบอื่น ๆ เช่น บลจ.จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ หรือธนาคารพาณิชย์เสนอรูปแบบการออมแบบกำหนดระยะเวลาจ่ายที่แน่นอนภายหลังเกษียณอายุได้ เป็นต้น
- ออกกฎหมายใหม่กำหนดหลักเกรณ์เกี่ยวกับการออมเพื่อเกษียณอายุในรูปแบบต่าง ๆ โดยรวม RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ด้วยกัน แทนกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน (เป็น Optional)
- กำหนดให้มีการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกที่สิ้นสภาพแบบทยอยจ่าย (Annuity) แทนการจ่ายแบบเป็นก้อนในคราวเดียว (Lump Sum)
- พิจารณาโครงสร้างทีเหมาะสมของคณะกรรมการกองทุนและความจำเป็นในการมีผู้ดูแลผลประโยชน์เพฟื่อคุ้มครองสมาชิกกองทุน
2) เรื่องที่ดำเนินได้โดยการออกประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศสำนักตนหรือประกาศนายทะเบียน
- การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อเกษียญอายุ (Retirement Mutuai Fund : RMF) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ออมที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ต้องการออมมากกว่านายจ้าง สามารถออมเพื่อการเกษียณอายุฝ่านกองทุนนี้ได้และสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนตามความเหมาะสมของตนได้
- แก้ไขหลักเกรณ์เกี่ยวกับสิทธิในการได้รับเงินสมทบหและผลประโยชน์ของเงินสมทบ(Vesring) ควรขึ้นอยู่กับอายุทำงาน และสิทธิในการได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวน ไม่ควรมีอายุงานเกิน 5 ปี ให้ได้รับ 20% ของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบทั้งหมดต่ออายุงาน 1 ปี
- ผลักดันให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ลูกจ้างแต่ละรายสามารถคำนวณส่วนได้เสียของตนเองได้ ทั้งนี้ การคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้างที่เข้าและออกจากกองทุนจะต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม
- ปรับปรุงกรอบการลงทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 60 : 40 และกำหนดการลงทุนที่หลากหลายเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนตามความเหมาะสมของตนมากขึ้น (Employee's choice) รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
3) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฟภาษี
- แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีให้เงินก้อนที่ได้รับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นำไปซื้อ annuity product ของบริษัทประกันชีวิตได้รับลดหย่อนภาษี ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทประกันชีวิตมีส่วนผลักดันให้เกิดการขาย annuity product สำหรับการออมเพื่อเกษียณอายุ
- ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ (RMF)ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนเลี้ยงชีพแต่อนาคตควรแก้ไขเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อสิ้นสมาชิกภาพให้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (แก้ไขจาก EEE เป็น EET
- แก้ไขข้อจำกัดทางภาษีเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน (mobility of labor) ในกรณีที่ลูกจ้างมีการย้ายแรงงานหรือกรณีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มีการจ้างเป็นวาระให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่มีการนำเงินออกจากระบบการออม
3.3 ออกแบบและจัดตั้งโครงการออมเพื่อเกษียณแบบบังคับของประเทศ โดยให้ผู้จัดการกองทุนเอกชนเป็นผู้บริหารบัญชีเงินสะสมแยกรายตัวของสมาชิกเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานของรัฐที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข. (Pillar 2)
1) ออกแบบและหาเสียงสนับสนุนการจัดตั้งโครงการการออมเพื่อเกษียณแบบบังคับในระดับประเทศโดยให้ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บริหาร และให้มีการแยกบัญชีรายบุคคล
2) ปรับปรุงและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
3) พิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญของพนักงานของรัฐที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข. เช่น พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์กรมหาชนอิสระ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจเห็นชอบตามที่กระทรวงการคลังเสนอแผนปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยมีหน่วยงานที่รับผิดชอบดำเนินการตามแผนมาตรการและกำหนดระยะเวลาที่กำหนดไว้
แผนการปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. วัตถุประสงค์ รัฐบาลมีวัตถุประสงค์ของการปฎิรูประบบกองทุนบำเหน็จบำนาญและกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของไทย 4 ประการ ได้แก่
1.1 การมีรายได้ที่เพียงพอหลังเกษียณอายุ
1.2 ระบบมีความครอบคลุมแรงงานอย่างทั้วถึง
1.3 ระบบมีความเป็นไปได้ทางการเงินในระยะยาว
1.4 ระบบเป็นเครื่องมือพัฒนาและสร้างเสถียรภาพของเศรษฐกิจ
2. แนวทางการปฎิรูป รัฐบาลจะจัดตั้งระบบบำนาญแบบ Multi-Pillar โดยเสริมความแข็งแกร่งให้กับ Pillar 1 และ Pillar 3 ที่มีอยู่ในปัจจุบัน และขยายขอบข่ายการครอบคลุมให้กว้างยิ่งขึ้น รวมทั้งเริ่มดำเนินการโครงการ Pillar 2 ใหม่ รัฐบาลจะพิจารณาทั้ง 3 Pillar โดยให้การปฎิรูป Pillar ทั้ง 3 ประสานกันอย่างเหมาะสม
3. รายละเอียดและมาตราการในการปฎิรูป
3.1 ขยายกองทุนประกันสังคมและเสริมสร้างความแข็งแกร่งของกองทุนประกันสังคม (Pillar 1)
1) ประกันเงินบำนาญขั้นต่ำที่เหมาะสม
2) จูงใจให้ผู้ประกันตนมีระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบกรณีชราภาพในช่วงอายุ 55-60 ปี
3) ลดภาระการใช้จ่ายงบประมาณแผ่นดินของภาครัฐในการจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมและการโอนจ่ายเงินเข้ากองทุนประกันสังคมในส่วนของรัฐบาลให้สนับสนุนการบรรเทาความยากจนอื่น ๆ
4) ขยายขอบเขตของกองทุนประกันสังคมไปถึงพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างประจำของรัฐบาลซึ่งในปัจจุบันไม่ได้อยู่ในระบบบำนาญ
5) ปรับปรุงกฎหมายและข้อบังคับของกองทุนประกันสังคม
6) เสริมสร้างขีดความสามารถของกองทุนประกันสังคมในการบริหารดูแลการปฎิบัติตามกฎหมายก่อนการขยายขอบเขตของกองทุนไปยังยังคนงานกลุ่มใหม่
3.2 การปฎิรูประบบกองทุนเลี้ยงชีพ หรือการออมเพื่อเกษียณอายุแบบสมัครใจ (Pillar 3)
1) เรื่องที่จะดำเนินการได้เมื่อมีการแก้ไขพระราชบัญญัติกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- กำหนดนิยามกองทุนเลี้ยงชีพให้ชัดเจนว่าใครสามารถจัดตั้งกองทุนได้ เช่นนายจ้างและลูกจ้างร่วมกันจัดตั้ง นายจ้างขาเดียว ลูกจ้างขาเดียว บริษัทจัดการเป็นผู้ตั้ง หรือรูปแบบการออมเพื่อการเกษียณอายุแบบอื่น ๆ เช่น บลจ.จัดตั้งกองทุนรวมเพื่อการเกษียณอายุ หรือธนาคารพาณิชย์เสนอรูปแบบการออมแบบกำหนดระยะเวลาจ่ายที่แน่นอนภายหลังเกษียณอายุได้ เป็นต้น
- ออกกฎหมายใหม่กำหนดหลักเกรณ์เกี่ยวกับการออมเพื่อเกษียณอายุในรูปแบบต่าง ๆ โดยรวม RMF และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไว้ด้วยกัน แทนกฎหมายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพในปัจจุบัน (เป็น Optional)
- กำหนดให้มีการจ่ายเงินจากกองทุนให้แก่สมาชิกที่สิ้นสภาพแบบทยอยจ่าย (Annuity) แทนการจ่ายแบบเป็นก้อนในคราวเดียว (Lump Sum)
- พิจารณาโครงสร้างทีเหมาะสมของคณะกรรมการกองทุนและความจำเป็นในการมีผู้ดูแลผลประโยชน์เพฟื่อคุ้มครองสมาชิกกองทุน
2) เรื่องที่ดำเนินได้โดยการออกประกาศคณะกรรมการ ก.ล.ต. หรือประกาศสำนักตนหรือประกาศนายทะเบียน
- การจัดตั้งกองทุนรวมเพื่อเกษียญอายุ (Retirement Mutuai Fund : RMF) เพื่อเป็นทางเลือกให้แก่ผู้ออมที่เป็นผู้ประกอบอาชีพอิสระ ลูกจ้างที่ต้องการออมมากกว่านายจ้าง สามารถออมเพื่อการเกษียณอายุฝ่านกองทุนนี้ได้และสามารถเลือกรูปแบบการลงทุนตามความเหมาะสมของตนได้
- แก้ไขหลักเกรณ์เกี่ยวกับสิทธิในการได้รับเงินสมทบหและผลประโยชน์ของเงินสมทบ(Vesring) ควรขึ้นอยู่กับอายุทำงาน และสิทธิในการได้รับเงินดังกล่าวเต็มจำนวน ไม่ควรมีอายุงานเกิน 5 ปี ให้ได้รับ 20% ของเงินสมทบและผลประโยชน์ของเงินสมทบทั้งหมดต่ออายุงาน 1 ปี
- ผลักดันให้กองทุนสำรองเลี้ยงชีพแบ่งออกเป็นหน่วยย่อย เพื่อให้ลูกจ้างแต่ละรายสามารถคำนวณส่วนได้เสียของตนเองได้ ทั้งนี้ การคำนวณผลประโยชน์ของลูกจ้างที่เข้าและออกจากกองทุนจะต้องเป็นไปอย่างยุติธรรม
- ปรับปรุงกรอบการลงทุนให้เหมาะสมยิ่งขึ้น 60 : 40 และกำหนดการลงทุนที่หลากหลายเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสามารถเปลี่ยนรูปแบบการลงทุนตามความเหมาะสมของตนมากขึ้น (Employee's choice) รวมทั้งสามารถเปลี่ยนแปลงรูปแบบการลงทุนได้เมื่อเวลาเปลี่ยนไป
3) เรื่องที่เกี่ยวข้องกับนโยบายฟภาษี
- แก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับภาษีให้เงินก้อนที่ได้รับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่นำไปซื้อ annuity product ของบริษัทประกันชีวิตได้รับลดหย่อนภาษี ทั้งนี้ เพื่อให้บริษัทประกันชีวิตมีส่วนผลักดันให้เกิดการขาย annuity product สำหรับการออมเพื่อเกษียณอายุ
- ให้ผู้ถือหน่วยลงทุนของกองทุนรวมเพื่อเลี้ยงชีพ (RMF)ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีเช่นเดียวกับกองทุนเลี้ยงชีพแต่อนาคตควรแก้ไขเกี่ยวกับผลประโยชน์ที่สมาชิกได้รับจากกองทุนเมื่อสิ้นสมาชิกภาพให้ไม่ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี (แก้ไขจาก EEE เป็น EET
- แก้ไขข้อจำกัดทางภาษีเพื่อรองรับการเคลื่อนย้ายแรงงาน (mobility of labor) ในกรณีที่ลูกจ้างมีการย้ายแรงงานหรือกรณีผู้บริหารระดับสูงขององค์กรที่มีการจ้างเป็นวาระให้ได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษีหากไม่มีการนำเงินออกจากระบบการออม
3.3 ออกแบบและจัดตั้งโครงการออมเพื่อเกษียณแบบบังคับของประเทศ โดยให้ผู้จัดการกองทุนเอกชนเป็นผู้บริหารบัญชีเงินสะสมแยกรายตัวของสมาชิกเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) และพิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญสำหรับพนักงานของรัฐที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข. (Pillar 2)
1) ออกแบบและหาเสียงสนับสนุนการจัดตั้งโครงการการออมเพื่อเกษียณแบบบังคับในระดับประเทศโดยให้ผู้จัดการกองทุนเป็นผู้บริหาร และให้มีการแยกบัญชีรายบุคคล
2) ปรับปรุงและเสริมสร้างความแข็งแกร่งในการดำเนินงานของกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.)
3) พิจารณารูปแบบการจัดตั้งกองทุนบำเหน็จบำนาญของพนักงานของรัฐที่ไม่ได้ครอบคลุมภายใต้กองทุน กบข. เช่น พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ และอาจารย์ในมหาวิทยาลัยที่ออกนอกระบบราชการ พนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และพนักงานและเจ้าหน้าที่ขององค์กรมหาชนอิสระ เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 16 ต.ค. 2543--
-สส-