ทำเนียบรัฐบาล--14 มิ.ย.--นิวส์สแตนด์
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รายงานภาวะการระดมทุนผ่านตลาดทุนตั้งแต่ปี 2536 ถึงเดือนพฤษภาคม 2543 ดังมีสาระสำคัญครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้
1. แหล่งเงินทุนภาคเอกชน
มูลค่าคงค้างของแหล่งเงินทุนภาคเอกชน ในช่วงปี 2536 - 2543 (เมษายน) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก5,969.21 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2536 เป็น 7,073.55 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543
ในปี 2536 - 2538 แหล่งเงินทุนภาคเอกชนอยู่ในรูปของตราสารทุนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าคงค้างในรูปตราสารทุนมีมูลค่าลดลงในช่วงปี 2539 - 2543 อันเนื่องมาจากภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ชะลอตัวลงและการระดมทุนในรูปตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น
มูลค่าการระดมทุนภาคเอกชนในช่วงปี 2536 - 2540 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมูลค่าเท่ากับ 608,939.25 ล้านบาทในปี 2536 มาอยู่ที่ระดับ 1,260,907.90 ล้านบาทในปี 2540 ซึ่งการระดมทุนส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 88 ขณะที่การระดมทุนผ่านเครื่องมือตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิมีสัดส่วนโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 19 การระดมทุนผ่านตลาดทุนได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 ในปี 2536 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39 และ 25 ในปี 2537 และ 2539 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในรูปของตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การระดมทุนในรูปตราสารกลับลดลงเหลือเพียงร้อยละ 5 ในปี 2540
ในช่วงปี 2541 - 2542 การระดมทุนในรูปตราสารทุนและตราสารหนี้ได้กลับมามีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยเป็นมูลค่าการระดมทุนในรูปของตราสารทุนเท่ากับ 136,345.55 และ 277,227.51 ล้านบาท และในรูปตราสารหนี้เท่ากับ 31,058.73 และ 313,303.88 ล้านบาท ในแต่ละปี ตามลำดับ ขณะที่ยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์กลับมีค่าติดลบเท่ากับ 821,272.2 และ 105,879.3 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การระดมทุนในรูปตราสารทั้งสองเป็นการระดมทุนแบบเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทและธนาคารเป็นหลัก
2. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก
การระดมทุนภาคเอกชนผ่านระบบตลาดทุนได้มีบทบาทและแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2536 มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่มีมูลค่า 96,347.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 599,623.87 ล้านบาท ในปี 2542 โดยส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด และสัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.71 ในปี 2536เป็นร้อยละ 94.71 ในปี 2542
หากจำแนกการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประเภทหลักทรัพย์ จะพบว่าในช่วงปี 2536 - 2541 โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเสนอขายตราสารทุนมากกว่าตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม การเสนอขายในรูปตราสารหนี้ได้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และในปี 2542 มีการเสนอขายตราสารหนี้ในสัดส่วนที่สูงกว่าตราสารทุน
การเสนอขายหลักทรัพย์ในปี 2543 (มกราคม - พฤษภาคม) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 85,606.97 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 77.19 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยจำแนกเป็นการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป และเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัดเท่ากับ 8,209.82 และ 77,397.15 ล้านบาท ตามลำดับ และยังคงไม่มีบริษัทที่ทำการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปครั้งแรก
หากจำแนกการเสนอขายตามประเภทหลักทรัพย์ จะพบว่าการเสนอขายตราสารทุนและตราสารหนี้มีมูลค่า 9,702.25 และ 75,655.79 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 11.33 และ 88.38 ของการเสนอขายทั้งหมด) ตามลำดับ ขณะที่ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิ มีมูลค่า 248.55 และ 0.39 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นคิดเป็นร้อยละ 0.29 ของการเสนอขายทั้งหมด
เมื่อพิจารณามูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ จำแนกตามประเภทธุรกิจในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 พบว่าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 30.06 เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ของหมวดวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง สำหรับประเภทธุรกิจที่เสนอขายรองลงมา ได้แก่ สื่อสารและเงินทุนและหลักทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 18.65 และ 16.38 ตามลำดับ
3. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีแนวโน้มลดลงจากระดับ 3,564,568.78 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น 1,268,198.50 ล้านบาท ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.93 จากปีก่อน เป็นมูลค่า 2,193,067.04 ล้านบาท ในปี 2542 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดลดลงร้อยละ 21.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 1,485,339.11 ล้านบาท
สำหรับบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงเช่นกันจากปี 2539 ที่มีจำนวน 454 บริษัท เป็น 392 บริษัทในปี 2542 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีจำนวน 389 บริษัท ลดลง 3 บริษัท จากสิ้นเดือนมกราคม 2543
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในช่วงปี 2536 - 2542 อยู่ในช่วง 3,504.79 - 8,984.28 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ในระดับ 5,106.90 ล้านบาท
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่สิ้นปี 2536 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,682.85 จุด มาอยู่ที่ระดับ 355.81 จุด ณ สิ้นปี 2541 อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นปี 2542 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 481.92 จุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 323.29 เป็นการลดลงร้อยละ 28.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
มูลค่าหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนคงค้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจาก 45,380.00 ล้านบาท ณ สิ้นปี2537 เป็นมูลค่า 1,084,602.42 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542
หลักทรัพย์ขึ้นทะเบียน ณ สิ้นปี 2542 มีจำนวน 387 หลักทรัพย์ เทียบกับจำนวน 33 หลักทรัพย์ณ สิ้นปี 2537 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนจำนวน 416 หลักทรัพย์ คิดเป็นมูลค่า 1,123,198.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.91
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันจากระดับ 209.46 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น1,759.99 ล้านบาท ในปี 2542 และ 4,476.65 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543
ดัชนี Thai BDC Govt.Bond Gross Price (ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2542) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 103.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
4. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
แม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีขนาดเล็กที่สุดแต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ตลาดตราสารหนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากปี 2541 เนื่องจากรัฐบาลต้องออกพันธบัตรในปริมาณมาก เพื่อจัดหาเงินสำหรับการแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยลดลง ทำให้ธุรกิจหันมาระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ และประชาชนให้ความสนใจลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เพื่อทดแทนการฝากเงินซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ทางการได้ดำเนินมาตรการหลายด้านในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ดังนี้
4.1 ด้านสินค้าในตลาด
1) การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสร้าง Benchmark
จากการที่รัฐบาลมีงบประมาณเกินดุลติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2534 ถึงปี 2540 ทำให้รัฐบาลไม่ได้มีการออกพันธบัตรในช่วงดังกล่าว ตลาดจึงขาด benchmark ในการอ้างอิงเพื่อประเมินมูลค่าตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2541 - 2542 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรมูลค่าทั้งสิ้น 500,000 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมีอายุการไถ่ถอนครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ตลาดสามารถสร้าง benchmark ได้ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการมี benchmark ในตลาด จึงมีแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามตารางเวลาที่กำหนด โดยได้จัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้แห่งชาติ (Debt Management Office) ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการทำหน้าที่บริหารหนี้ของประเทศ
2) การส่งเสริมให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้การออกตราสารหนี้ที่เสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (private placement) ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพิ่มเติมจากที่เดิมกำหนดเฉพาะการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (public offering) เพื่อส่งเสริมให้มีการทำ credit rating และแก้ปัญหาการเลี่ยงทำ credit rating
3) การพัฒนา securitization
การทำ securitization อยู่ภายใต้พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงานเป็นองค์กรซึ่งกำหนดนโยบายและกำกับดูแล โดยในปี 2540 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ประกาศอนุญาตให้ทำ securitization โดยในขั้นแรกจะอนุญาตเฉพาะการออกและเสนอขายหุ้นกู้แก่บุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ และการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวนก่อน และในปัจจุบันสำนักงานได้ประสานงานกับกรมสรรพากรเพื่อแก้ไขปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการทำธุรกรรมดังกล่าว
4.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้
1) การจัดตั้งระบบ Primary Dealer
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มนำระบบ primary dealer มาใช้โดยในวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งสถาบันการเงิน 9 แห่งเพื่อทำหน้าที่เป็น primary dealer ในการทำธุรกรรมการซื้อขายพันธบัตร (open market operations) กับธนาคารแห่งประเทศไทย
2) การสนับสนุนให้มี inter dealer broker
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องและความโปร่งใสของข้อมูลในตลาด เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางในการรวบรวมราคาเสนอซื้อขายและข้อมูลการซื้อขาย จึงได้เสนอให้กระทรวงการคลังออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ (inter dealer broker : IDB) ซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง IDB ทำหน้าที่เป็น wholesale broker ในการอำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ โดยเป็นผู้รวบรวมราคาเสนอซื้อขายแบบ real - time และช่วยจับคู่การซื้อขายระหว่างผู้ค้าโดยที่คู่สัญญาต่างไม่ทราบว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร (anonymous basis) ดังนั้น IDB จึงช่วยเพิ่มสภาพคล่องและความโปร่งใสในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง ทั้งนี้ ร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในปีนี้
3) ระบบการซื้อขายใหม่ของศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (Thai BDC) ได้มีแผนที่จะนำระบบการซื้อขายใหม่มาใช้ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถให้บริการได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบ auto matching สำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องและระบบ electronic person - to - person สำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ที่ไม่มีสภาพคล่องและธุรกรรมซื้อคืน (repurchase transaction) การเปิดให้ Thai BDC และ IDB ให้บริการในการจับคู่ให้เกิดการซื้อขายได้เหมือนกัน ทำให้เกิดการแข่งขันกันที่จะเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการซื้อขายตราสารหนี้มากขึ้น
4) ข้อกำหนดการรายงานข้อมูลของผู้ค้าตราสารหนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันแก่ Thai BDC นับตั้งแต่ 3 เมษายน 2543 เป็นต้นไป เพื่อ Thai BDC จะได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลการซื้อขายแก่สาธารณชน นอกจากนี้ สถาบันการเงินดังกล่าวจะต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าตราสารหนี้ และต้องขึ้นทะเบียนกับ Thai BDC ให้เสร็จภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2543 พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ Thai BDC กำหนด
5) การแก้ปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารหนี้
ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ต้องพึ่งพิงการทำงานของสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เป็น marketmaker เสนอราคาซื้อขายตราสารอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันมีปัญหาภาษีที่มีผลกระทบต่อการทำงานของ market maker อย่างมาก ซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขคือปัญหาภาษีธุรกิจเฉพาะ (Special Business Tax : SBT) ซึ่งจัดเก็บจากรายรับโดยไม่ให้นำรายจ่ายมาหัก (gross basis) จึงเป็นอุปสรรคสำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ในลักษณะที่เป็น trading โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ repo เพราะผู้ที่ทำธุรกรรมการซื้อขายมากต้องเสียภาษีมากขึ้น
6) การพัฒนาระบบชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรให้มีลักษณะเป็น Delivery - versus -payment
ปัจจุบันระบบการชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรเป็นระบบ Real - Time Gross Settlement(RTGS) แบบกึ่งอัตโนมัติ โดยการโอนเงินทำโดยอัตโนมัติผ่านทางระบบ Bahtnet ซึ่งเป็นระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะที่การโอนพันธบัตรยังต้องอาศัยการส่งหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบจำนวนเงินของผู้ซื้อและพันธบัตรของผู้ขายว่ามีเพียงพอ ก่อนที่จะทำการโอนเงินไปยังผู้ขายและโอนพันธบัตรไปยังผู้ซื้อในเวลาเดียวกัน
เพื่อพัฒนาให้การชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรเป็นแบบ Delivery - versus - payment(DVP) ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้ใช้การโอนเงินทางระบบ Bahtnet และการฝากพันธบัตรในระบบ scripless มาตรการดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการพัฒนาระบบ Bahtnet2 ซึ่งจะมีลักษณะเป็น DVP เต็มรูปแบบ โดยการโอนเงินและพันธบัตรจะทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกันภายหลังจากการตรวจสอบความเพียงพอของเงินและพันธบัตรโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน และเป็นที่คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้ระบบ Bahtnet2 ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-
คณะกรรมการรัฐมนตรีว่าด้วยนโยบายเศรษฐกิจรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์รายงานภาวะการระดมทุนผ่านตลาดทุนตั้งแต่ปี 2536 ถึงเดือนพฤษภาคม 2543 ดังมีสาระสำคัญครอบคลุม 4 ประเด็น ดังนี้
1. แหล่งเงินทุนภาคเอกชน
มูลค่าคงค้างของแหล่งเงินทุนภาคเอกชน ในช่วงปี 2536 - 2543 (เมษายน) มีมูลค่าเพิ่มขึ้นจาก5,969.21 พันล้านบาท ณ สิ้นปี 2536 เป็น 7,073.55 ล้านบาท ณ สิ้นเดือนเมษายน 2543
ในปี 2536 - 2538 แหล่งเงินทุนภาคเอกชนอยู่ในรูปของตราสารทุนในสัดส่วนที่ใกล้เคียงกับยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์ อย่างไรก็ตาม มูลค่าคงค้างในรูปตราสารทุนมีมูลค่าลดลงในช่วงปี 2539 - 2543 อันเนื่องมาจากภาวะตลาดหลักทรัพย์ที่ชะลอตัวลงและการระดมทุนในรูปตราสารหนี้ที่เพิ่มขึ้น
มูลค่าการระดมทุนภาคเอกชนในช่วงปี 2536 - 2540 มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากมูลค่าเท่ากับ 608,939.25 ล้านบาทในปี 2536 มาอยู่ที่ระดับ 1,260,907.90 ล้านบาทในปี 2540 ซึ่งการระดมทุนส่วนใหญ่ยังอยู่ในรูปของสินเชื่อธนาคารพาณิชย์โดยเฉลี่ยถึงร้อยละ 88 ขณะที่การระดมทุนผ่านเครื่องมือตราสารทุน ตราสารหนี้ ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิมีสัดส่วนโดยเฉลี่ยเพียงร้อยละ 19 การระดมทุนผ่านตลาดทุนได้มีบทบาทเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16 ในปี 2536 และเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 39 และ 25 ในปี 2537 และ 2539 โดยเป็นการเพิ่มขึ้นในรูปของตราสารหนี้เป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตาม การระดมทุนในรูปตราสารกลับลดลงเหลือเพียงร้อยละ 5 ในปี 2540
ในช่วงปี 2541 - 2542 การระดมทุนในรูปตราสารทุนและตราสารหนี้ได้กลับมามีบทบาทเพิ่มขึ้นโดยเป็นมูลค่าการระดมทุนในรูปของตราสารทุนเท่ากับ 136,345.55 และ 277,227.51 ล้านบาท และในรูปตราสารหนี้เท่ากับ 31,058.73 และ 313,303.88 ล้านบาท ในแต่ละปี ตามลำดับ ขณะที่ยอดสินเชื่อธนาคารพาณิชย์กลับมีค่าติดลบเท่ากับ 821,272.2 และ 105,879.3 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม การระดมทุนในรูปตราสารทั้งสองเป็นการระดมทุนแบบเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัดเพื่อวัตถุประสงค์ในการเพิ่มทุนของบริษัทและธนาคารเป็นหลัก
2. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดแรก
การระดมทุนภาคเอกชนผ่านระบบตลาดทุนได้มีบทบาทและแนวโน้มเพิ่มขึ้นนับตั้งแต่ปี 2536 มูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ที่ออกใหม่มีมูลค่า 96,347.65 ล้านบาท เพิ่มขึ้นเป็น 599,623.87 ล้านบาท ในปี 2542 โดยส่วนใหญ่เป็นการเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด และสัดส่วนดังกล่าวมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 56.71 ในปี 2536เป็นร้อยละ 94.71 ในปี 2542
หากจำแนกการเสนอขายหลักทรัพย์ตามประเภทหลักทรัพย์ จะพบว่าในช่วงปี 2536 - 2541 โดยส่วนใหญ่จะเป็นการเสนอขายตราสารทุนมากกว่าตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม การเสนอขายในรูปตราสารหนี้ได้มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น และในปี 2542 มีการเสนอขายตราสารหนี้ในสัดส่วนที่สูงกว่าตราสารทุน
การเสนอขายหลักทรัพย์ในปี 2543 (มกราคม - พฤษภาคม) มีมูลค่ารวมทั้งสิ้น 85,606.97 ล้านบาท ลดลงร้อยละ 77.19 จากช่วงเดียวกันปีก่อน โดยจำแนกเป็นการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป และเสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัดเท่ากับ 8,209.82 และ 77,397.15 ล้านบาท ตามลำดับ และยังคงไม่มีบริษัทที่ทำการระดมทุนจากประชาชนทั่วไปครั้งแรก
หากจำแนกการเสนอขายตามประเภทหลักทรัพย์ จะพบว่าการเสนอขายตราสารทุนและตราสารหนี้มีมูลค่า 9,702.25 และ 75,655.79 ล้านบาท (คิดเป็นร้อยละ 11.33 และ 88.38 ของการเสนอขายทั้งหมด) ตามลำดับ ขณะที่ตราสารกึ่งหนี้กึ่งทุน และใบสำคัญแสดงสิทธิ มีมูลค่า 248.55 และ 0.39 ล้านบาท รวมทั้งสิ้นคิดเป็นร้อยละ 0.29 ของการเสนอขายทั้งหมด
เมื่อพิจารณามูลค่าการเสนอขายหลักทรัพย์ จำแนกตามประเภทธุรกิจในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 พบว่าส่วนใหญ่ถึงร้อยละ 30.06 เป็นการเสนอขายหลักทรัพย์ของหมวดวัสดุก่อสร้างและตกแต่ง สำหรับประเภทธุรกิจที่เสนอขายรองลงมา ได้แก่ สื่อสารและเงินทุนและหลักทรัพย์ คิดเป็นร้อยละ 18.65 และ 16.38 ตามลำดับ
3. ภาวะการซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดรอง
ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดมีแนวโน้มลดลงจากระดับ 3,564,568.78 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น 1,268,198.50 ล้านบาท ในปี 2541 อย่างไรก็ตาม มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 72.93 จากปีก่อน เป็นมูลค่า 2,193,067.04 ล้านบาท ในปี 2542 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มูลค่าหลักทรัพย์ตามราคาตลาดลดลงร้อยละ 21.27 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อนมาอยู่ที่ระดับ 1,485,339.11 ล้านบาท
สำหรับบริษัทจดทะเบียนมีแนวโน้มลดลงเช่นกันจากปี 2539 ที่มีจำนวน 454 บริษัท เป็น 392 บริษัทในปี 2542 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีจำนวน 389 บริษัท ลดลง 3 บริษัท จากสิ้นเดือนมกราคม 2543
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันในช่วงปี 2536 - 2542 อยู่ในช่วง 3,504.79 - 8,984.28 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543 มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันอยู่ในระดับ 5,106.90 ล้านบาท
ดัชนีราคาหลักทรัพย์ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีแนวโน้มลดลงตั้งแต่สิ้นปี 2536 ซึ่งอยู่ที่ระดับ 1,682.85 จุด มาอยู่ที่ระดับ 355.81 จุด ณ สิ้นปี 2541 อย่างไรก็ตาม ณ สิ้นปี 2542 ดัชนีปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่ระดับ 481.92 จุด ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 ดัชนีอยู่ที่ระดับ 323.29 เป็นการลดลงร้อยละ 28.73 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
มูลค่าหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนคงค้างมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเป็นลำดับจาก 45,380.00 ล้านบาท ณ สิ้นปี2537 เป็นมูลค่า 1,084,602.42 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2542
หลักทรัพย์ขึ้นทะเบียน ณ สิ้นปี 2542 มีจำนวน 387 หลักทรัพย์ เทียบกับจำนวน 33 หลักทรัพย์ณ สิ้นปี 2537 ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 มีหลักทรัพย์ขึ้นทะเบียนจำนวน 416 หลักทรัพย์ คิดเป็นมูลค่า 1,123,198.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากระยะเดียวกันปีก่อนร้อยละ 27.91
มูลค่าซื้อขายเฉลี่ยต่อวันมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเช่นกันจากระดับ 209.46 ล้านบาท ในปี 2538 เป็น1,759.99 ล้านบาท ในปี 2542 และ 4,476.65 ล้านบาท ในช่วงเดือนมกราคม - พฤษภาคม 2543
ดัชนี Thai BDC Govt.Bond Gross Price (ซึ่งได้เริ่มใช้ตั้งแต่วันที่ 4 มกราคม 2542) ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2543 อยู่ที่ระดับ 103.50 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.12 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันปีก่อน
4. การพัฒนาตลาดตราสารหนี้
แม้ว่าตลาดตราสารหนี้จะมีขนาดเล็กที่สุดแต่ก็มีศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก ตลาดตราสารหนี้ได้เติบโตอย่างรวดเร็วหลังจากปี 2541 เนื่องจากรัฐบาลต้องออกพันธบัตรในปริมาณมาก เพื่อจัดหาเงินสำหรับการแก้ปัญหาในระบบสถาบันการเงิน ประกอบกับภาวะอัตราดอกเบี้ยลดลง ทำให้ธุรกิจหันมาระดมทุนโดยการออกหุ้นกู้ และประชาชนให้ความสนใจลงทุนในตราสารหนี้มากขึ้น เพื่อทดแทนการฝากเงินซึ่งให้อัตราดอกเบี้ยต่ำ ทางการได้ดำเนินมาตรการหลายด้านในการพัฒนาตลาดตราสารหนี้ ดังนี้
4.1 ด้านสินค้าในตลาด
1) การออกพันธบัตรรัฐบาลเพื่อสร้าง Benchmark
จากการที่รัฐบาลมีงบประมาณเกินดุลติดต่อกันนับตั้งแต่ปี 2534 ถึงปี 2540 ทำให้รัฐบาลไม่ได้มีการออกพันธบัตรในช่วงดังกล่าว ตลาดจึงขาด benchmark ในการอ้างอิงเพื่อประเมินมูลค่าตราสารหนี้ อย่างไรก็ตาม ในปี 2541 - 2542 รัฐบาลได้ออกพันธบัตรมูลค่าทั้งสิ้น 500,000 ล้านบาท เพื่อใช้ปรับโครงสร้างหนี้ของกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงิน โดยมีอายุการไถ่ถอนครอบคลุมทั้งระยะสั้นและระยะยาว ทำให้ตลาดสามารถสร้าง benchmark ได้ รัฐบาลได้เล็งเห็นความสำคัญของการมี benchmark ในตลาด จึงมีแผนที่จะออกพันธบัตรรัฐบาลอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอตามตารางเวลาที่กำหนด โดยได้จัดตั้งสำนักงานบริหารหนี้แห่งชาติ (Debt Management Office) ขึ้นมาเพื่อเป็นศูนย์กลางในการทำหน้าที่บริหารหนี้ของประเทศ
2) การส่งเสริมให้มีการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ (Credit Rating)
ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้กำหนดให้การออกตราสารหนี้ที่เสนอขายต่อบุคคลในวงจำกัด (private placement) ต้องได้รับการจัดอันดับความน่าเชื่อถือ เพิ่มเติมจากที่เดิมกำหนดเฉพาะการเสนอขายต่อประชาชนทั่วไป (public offering) เพื่อส่งเสริมให้มีการทำ credit rating และแก้ปัญหาการเลี่ยงทำ credit rating
3) การพัฒนา securitization
การทำ securitization อยู่ภายใต้พระราชกำหนดนิติบุคคลเฉพาะกิจเพื่อการแปลงสินทรัพย์เป็นหลักทรัพย์ พ.ศ. 2540 ซึ่งให้อำนาจคณะกรรมการ ก.ล.ต. และสำนักงานเป็นองค์กรซึ่งกำหนดนโยบายและกำกับดูแล โดยในปี 2540 คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ประกาศอนุญาตให้ทำ securitization โดยในขั้นแรกจะอนุญาตเฉพาะการออกและเสนอขายหุ้นกู้แก่บุคคลในวงจำกัดภายในประเทศ และการเสนอขายแก่ผู้ลงทุนในต่างประเทศทั้งจำนวนก่อน และในปัจจุบันสำนักงานได้ประสานงานกับกรมสรรพากรเพื่อแก้ไขปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้องเพื่อพัฒนาการทำธุรกรรมดังกล่าว
4.2 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานตลาดตราสารหนี้
1) การจัดตั้งระบบ Primary Dealer
ธนาคารแห่งประเทศไทยได้เริ่มนำระบบ primary dealer มาใช้โดยในวันที่ 6 มิถุนายน 2543 ธนาคารแห่งประเทศไทยได้แต่งตั้งสถาบันการเงิน 9 แห่งเพื่อทำหน้าที่เป็น primary dealer ในการทำธุรกรรมการซื้อขายพันธบัตร (open market operations) กับธนาคารแห่งประเทศไทย
2) การสนับสนุนให้มี inter dealer broker
คณะกรรมการ ก.ล.ต. ได้ตระหนักถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องและความโปร่งใสของข้อมูลในตลาด เนื่องจากไม่มีศูนย์กลางในการรวบรวมราคาเสนอซื้อขายและข้อมูลการซื้อขาย จึงได้เสนอให้กระทรวงการคลังออกใบอนุญาตการประกอบธุรกิจนายหน้าระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ (inter dealer broker : IDB) ซึ่งถือเป็นธุรกิจหลักทรัพย์อีกประเภทหนึ่ง IDB ทำหน้าที่เป็น wholesale broker ในการอำนวยความสะดวกให้เกิดการซื้อขายระหว่างผู้ค้าตราสารหนี้ โดยเป็นผู้รวบรวมราคาเสนอซื้อขายแบบ real - time และช่วยจับคู่การซื้อขายระหว่างผู้ค้าโดยที่คู่สัญญาต่างไม่ทราบว่าฝ่ายตรงข้ามเป็นใคร (anonymous basis) ดังนั้น IDB จึงช่วยเพิ่มสภาพคล่องและความโปร่งใสในการซื้อขายตราสารหนี้ในตลาดรอง ทั้งนี้ ร่างกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของกระทรวงการคลัง และคาดว่าจะประกาศใช้ได้ภายในปีนี้
3) ระบบการซื้อขายใหม่ของศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย (Thai BDC) ได้มีแผนที่จะนำระบบการซื้อขายใหม่มาใช้ ซึ่งระบบดังกล่าวสามารถให้บริการได้ 2 รูปแบบ คือ ระบบ auto matching สำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ที่มีสภาพคล่องและระบบ electronic person - to - person สำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ที่ไม่มีสภาพคล่องและธุรกรรมซื้อคืน (repurchase transaction) การเปิดให้ Thai BDC และ IDB ให้บริการในการจับคู่ให้เกิดการซื้อขายได้เหมือนกัน ทำให้เกิดการแข่งขันกันที่จะเสนอบริการที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า ซึ่งจะช่วยส่งเสริมให้มีการซื้อขายตราสารหนี้มากขึ้น
4) ข้อกำหนดการรายงานข้อมูลของผู้ค้าตราสารหนี้
คณะกรรมการ ก.ล.ต. กำหนดให้สถาบันการเงินที่ได้รับใบอนุญาตค้าตราสารหนี้ รายงานข้อมูลการซื้อขายตราสารหนี้ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันแก่ Thai BDC นับตั้งแต่ 3 เมษายน 2543 เป็นต้นไป เพื่อ Thai BDC จะได้ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการรวบรวมและเผยแพร่ข้อมูลการซื้อขายแก่สาธารณชน นอกจากนี้ สถาบันการเงินดังกล่าวจะต้องแต่งตั้งผู้รับผิดชอบในการปฏิบัติการเกี่ยวกับการค้าตราสารหนี้ และต้องขึ้นทะเบียนกับ Thai BDC ให้เสร็จภายในวันที่ 18 สิงหาคม 2543 พร้อมทั้งปฏิบัติตามมาตรฐานการปฏิบัติงานที่ Thai BDC กำหนด
5) การแก้ปัญหาภาษีที่เกี่ยวข้องกับการซื้อขายตราสารหนี้
ตลาดตราสารหนี้เป็นตลาดที่ต้องพึ่งพิงการทำงานของสถาบันการเงินที่ทำหน้าที่เป็น marketmaker เสนอราคาซื้อขายตราสารอย่างต่อเนื่อง แต่ในปัจจุบันมีปัญหาภาษีที่มีผลกระทบต่อการทำงานของ market maker อย่างมาก ซึ่งยังไม่ได้รับการแก้ไขคือปัญหาภาษีธุรกิจเฉพาะ (Special Business Tax : SBT) ซึ่งจัดเก็บจากรายรับโดยไม่ให้นำรายจ่ายมาหัก (gross basis) จึงเป็นอุปสรรคสำหรับการซื้อขายตราสารหนี้ในลักษณะที่เป็น trading โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำ repo เพราะผู้ที่ทำธุรกรรมการซื้อขายมากต้องเสียภาษีมากขึ้น
6) การพัฒนาระบบชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรให้มีลักษณะเป็น Delivery - versus -payment
ปัจจุบันระบบการชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรเป็นระบบ Real - Time Gross Settlement(RTGS) แบบกึ่งอัตโนมัติ โดยการโอนเงินทำโดยอัตโนมัติผ่านทางระบบ Bahtnet ซึ่งเป็นระบบการโอนเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ของธนาคารแห่งประเทศไทย ในขณะที่การโอนพันธบัตรยังต้องอาศัยการส่งหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์ในพันธบัตรไปยังธนาคารแห่งประเทศไทย และธนาคารแห่งประเทศไทยจะตรวจสอบจำนวนเงินของผู้ซื้อและพันธบัตรของผู้ขายว่ามีเพียงพอ ก่อนที่จะทำการโอนเงินไปยังผู้ขายและโอนพันธบัตรไปยังผู้ซื้อในเวลาเดียวกัน
เพื่อพัฒนาให้การชำระราคาและส่งมอบพันธบัตรเป็นแบบ Delivery - versus - payment(DVP) ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้ใช้การโอนเงินทางระบบ Bahtnet และการฝากพันธบัตรในระบบ scripless มาตรการดังกล่าวเป็นการเตรียมการสำหรับการพัฒนาระบบ Bahtnet2 ซึ่งจะมีลักษณะเป็น DVP เต็มรูปแบบ โดยการโอนเงินและพันธบัตรจะทำผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์พร้อมกันภายหลังจากการตรวจสอบความเพียงพอของเงินและพันธบัตรโดยใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน และเป็นที่คาดว่าจะสามารถเริ่มใช้ระบบ Bahtnet2 ได้ภายในครึ่งปีแรกของปี 2544
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี(ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 12 มิ.ย. 2543--
-สส-