ทำเนียบรัฐบาล--14 พ.ย..--นิวส์สแตนด์
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเสนอ การกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) และให้นำเสนอสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในแผนความมั่นคงแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีงบประมาณดำเนินการเพียงพอ และสามารถควบคุมปัญหายาเสพติดไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รายงานว่า จากการสัมมนาหน่วยงานความมั่นคงเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดบริเวณชายแดนและพื้นที่ความมั่นคงในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2543 ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความเห็นพ้องกันว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เป็นอยู่ขณะนี้เป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคง จึงควรที่จะทำให้ชนในชาติตระหนักและรับผิดชอบต่อปัญหาร่วมกัน โดยยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและการดำเนินงานอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณรองรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุดกองทัพบก กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกระดับปัญหายาเสพติด และปัญหาความมั่นคงที่เกี่ยวเนื่องไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
1. การดำเนินการเร่งด่วนเบื้องต้น ให้ยกระดับปัญหายาเสพติดในยุทธศาสตร์ที่ 1 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้ชัดเจน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับระดับแนวการพัฒนาขึ้นมาอยู่ในลำดับแรก
2. ให้สำนักงาน ป.ป.ส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเป็นแผนหลัก ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. ให้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหายาเสพติดในแผนความมั่นคงแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายบัญญัติ บรรทัดฐาน) ประธานกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดเสนอ การกำหนดยุทธศาสตร์การแก้ปัญหายาเสพติดเป็นยุทธศาสตร์ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) และให้นำเสนอสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเพื่อกำหนดยุทธศาสตร์การป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดในแผนความมั่นคงแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ของสำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ เพื่อนำไปสู่การแก้ปัญหายาเสพติดอย่างเป็นรูปธรรมชัดเจน มีงบประมาณดำเนินการเพียงพอ และสามารถควบคุมปัญหายาเสพติดไม่ให้ขยายตัวเพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามยาเสพติด (ป.ป.ส.) รายงานว่า จากการสัมมนาหน่วยงานความมั่นคงเพื่อพัฒนายุทธศาสตร์การป้องกันและปราบปรามยาเสพติดบริเวณชายแดนและพื้นที่ความมั่นคงในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 เมื่อวันที่ 27 - 28 กันยายน 2543 ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้มีความเห็นพ้องกันว่า สถานการณ์ปัญหายาเสพติดที่เป็นอยู่ขณะนี้เป็นปัญหาที่กระทบต่อความมั่นคง จึงควรที่จะทำให้ชนในชาติตระหนักและรับผิดชอบต่อปัญหาร่วมกัน โดยยกระดับปัญหาเป็นวาระแห่งชาติ ด้วยการกำหนดยุทธศาสตร์และแผนป้องกันและปราบปรามยาเสพติดไว้ในแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545 - 2549) เพื่อให้เกิดการบริหารจัดการและการดำเนินงานอย่างจริงจัง รวมทั้งมีการจัดสรรงบประมาณรองรับให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัญหา
สำนักงาน ป.ป.ส. ได้จัดประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กระทรวงกลาโหม กองบัญชาการทหารสูงสุดกองทัพบก กระทรวงมหาดไทย กรมการปกครอง กระทรวงการต่างประเทศ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักข่าวกรองแห่งชาติ เพื่อร่วมกันพิจารณาความเป็นไปได้ในการยกระดับปัญหายาเสพติด และปัญหาความมั่นคงที่เกี่ยวเนื่องไว้ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 และที่ประชุมได้มีความเห็นร่วมกัน ดังนี้
1. การดำเนินการเร่งด่วนเบื้องต้น ให้ยกระดับปัญหายาเสพติดในยุทธศาสตร์ที่ 1 ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9 ให้ชัดเจน โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติปรับระดับแนวการพัฒนาขึ้นมาอยู่ในลำดับแรก
2. ให้สำนักงาน ป.ป.ส. นำเสนอคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบกำหนดให้ปัญหายาเสพติดเป็นวาระแห่งชาติ เพื่อให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติกำหนดเป็นแผนหลัก ในแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9
3. ให้กำหนดเป็นยุทธศาสตร์แก้ปัญหายาเสพติดในแผนความมั่นคงแห่งชาติในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 9ของสภาความมั่นคงแห่งชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดนายชวน หลีกภัย)--วันที่ 14 พ.ย. 2543--
-สส-